คัดลอก URL แล้ว

เทคนิคเอาตัวรอดจากการถูกฟ้าผ่าใส่ตัวรถ เสี้ยววินาทีที่ไม่ควรประมาท

“ฟ้าผ่า” สิ่งที่มาพร้อมกับหน้าฝนที่สร้างความหวากลัวแก่คนได้ทุกเพศทุกวัย ที่นอกจากจะมีแสงเจิดจ้าที่สร้างคววามตกใจเสียงที่ดังลั่น ตัวฟ้าผ่าก็เป็นกระแสไฟฟ้าที่มีพลังมหาศาลจนสามารถสร้างความเสียหายแก่พื้นที่โดยรอบ และมีความอันตรายที่สูงมากหากโดนฟ้าผ่าจนกลายเป็นโศกนาฏกรรมที่ปรากฎเป็นข่าวบ่อยครั้ง

สิ่งที่ผู้ใช้รถรู้สึกกังวลอย่างมากเมื่อใช้รถในช่วงหน้าฝนนอกจากถนนที่ลื่นจนยากแก่การควบคุมแล้ว การเกิดฟ้าผ่าอย่างจังในตัวรถก็เป็นอีกสิ่งที่ก่อให้เกิดอันตรายได้ทั้งทางตรงและทางอ้อม แม้ว่าโอกาสที่จะเจอนั้นน้อยมาก แต่หากเกิดขึ้นกับตัวเรา การรู้เทคนิคจึงเป็นสิ่งสำคัญ และจะช่วยรักษาชีวิตได้ในเสี้ยววินาที

ภาพประกอบจาก freepik.com

โอกาสไหนที่ฟ้าจะผ่าลงสู่ตัวถังรถ

หากรถของคุณอยู่ในพื้นที่ที่โล่งแจ้ง หรืออยู่บนเนินสูง จะมีโอกาสที่สูงที่จะถูกฟ้าผ่า เนื่องจากตัวถังรถจะเป็นเป้าสะสมประจุไฟฟ้าในจำนวนหนึ่ง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสในการเกิดฟ้าผ่าในรถได้ง่าย ๆ หรือถึงแม้จะมีวัตถุที่อยู่สูงกว่าทำหน้าที่เป็นสายล่อฟ้า แต่ถ้าอยู่ใกล้กับตัวรถเมื่อเกิดฟ้าผ่าก็จะมีการกระจายกระแสไฟฟ้าลงสู่พื้น ซึ่งก็เพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดอันตรายได้ ทว่า หากอยู่ในพื้นที่โล่งแต่ยังคงมีรถสัญจร โอกาสที่จะเกิดก็จะน้อยลงแต่ก็ยังมีความเสี่ยงอยู่ดี

สำหรับพื้นที่ในเมืองนั้น แม้ว่าฟ้าผ่าจะเกิดขึ้นได้ยากมากเนื่องจากมีตึกสูงมากมายที่ทำหน้าที่เป็นสายล่อฟ้า และมีรถวิ่งสัญจรเป็นจำนวนมากจนทำให้ประจุไฟฟ้าเคลื่อนที่ตลอด แต่ก็ใช้ว่าจะไม่มีโอกาสเกิด โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากรถของคุณจอดในที่โล่งกลางแจ้ง และไม่มีวัตถุที่เป็นตัวสายล่อฟ้า หรือมีแต่อยู่ใกล้รัศมีของกระแสไฟฟ้า เช่น ไฟส่องทาง ซึ่งจะเพิ่มโอกาสให้ฟ้าผ่าลงสู่รถ หรือลงวัตถุใกล้เคียงจนกระแสไฟฟ้าสามารถกระจายสู่พื้น และเป็นอันตรายหากคุณกำลังจะขึ้นรถ

นอกจากนี้ ช่วงเวลาที่จะมีโอกาสเกิดฟ้าผ่าได้นั้นจะมีทั้งช่วงที่กระแสลมพัดอย่างรุงแรงพร้อมก้อนเมฆอยู่ต่ำที่เคลื่อนตัวเข้ามา ช่วงที่ฝนกำกลังตก และช่วงฝนซา แต่ยังคงมีเมฆต่ำลอยอยู่ ซึ่งหากยังได้ยินเสียงฟ้าร้องก็จะมีโอกาสเกิดฟ้าผ่าได้เช่นกัน

เทคนิคเอาตัวรอดฟ้าผ่าใส่รถ

แม้จะถูกฟ้าผ่าใส่รถอย่างจัง และคุณอยู่ในภายในรถ จึงวางใจได้เลยว่าจะไม่เกิดอันตราย เนื่องจากตัวถังรถที่เป็นเหล็กทั้งคันจะทำหน้าที่เป็น “กรงฟาราเดย์ (Faraday ‘s Cage)” ซึ่งปรากฎการณ์ดังกล่าวนั้นเมื่อฟ้าผ่าใส่รถอย่างจัง กระแสไฟฟ้าในปริมาณมากจะวิ่งเฉพาะพื้นผิวที่เป็นโลหะภายนอก แต่จะไม่วิ่งเข้าหาผู้ที่อยู่ในรถ โดยกระไฟฟ้าก็จะวิ่งลงสู่ยางรถยนต์ และลงพื้นถนน ทำให้ผู้ที่อยู่ข้างในรถไม่เป็นอันตรายจากการถูกฟ้าผ่า

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่ากรงฟาราเดย์จะปลอดภัยจากกระแสไฟฟ้าได้ 100% หากขาดเงื่อนไขแม้เพียงข้อเดียวก็ตาม ซึ่งเงื่อนไขดังกล่าวประกอบไปด้วย

  1. ตัวถังรถต้องเป็นตัวถังหลัก หรืออะลูมิเนียมทั้งคัน ยกเว้นกระจกหน้าต่าง ที่จะทำให้กรงฟาราเดย์ทำงานได้เต็มประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน รถยนต์เปิดประทุนหลังคาผ้าใบ ชิ้นส่วนพลาสติก รถที่ไม่มีประตู หรือรถที่เปิดหน้าต่าง กับซันรูฟทิ้งไว้ จะทำให้กระแสไฟฟ้ามีโอกาสวิ่งเข้ามาข้างในได้
  2. หลีกเลี่ยงการจับวัตถุที่ใกล้กับโลหะ เช่น หลังคารถ หรือประตูรถในระหว่างขับขี่บนทางโล่งในช่วงหน้าฝน
  3. ในช่วงที่ฝนตก หรือเข้าพื้นที่ที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง งดใช้โทรศัพท์มือถือ หรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์
  4. หลีกเลี่ยงการเปิดหน้าต่างรถในระหว่างขับขี่ หรืออยู่ภายในรถที่จอดสนิทก็ตาม หรือหากปิดหน้าต่าง ควรมั่นใจว่าปิดสนิทแล้วจริง ๆ

แม้ปรากฎการณ์กรงฟาราเดย์จะช่วยป้องกันกระแสไฟฟ้าได้ แต่ก็สามารถเกิดอุบัติเหตุอื่นได้ เช่น สติที่หายไปชั่วขณะจากการตกใจ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ภายในรถเสียหาย หรือแม้แต่เครื่องยนต์เสียหาย ซึ่งหากเจอสถานการณ์นี้ควรรวบรวมสติ แล้วประคองรถจอดข้างทางให้เรียบร้อย เปิดไฟฉุกเฉิน (หากใช้การได้) และอยู่ภายในรถห้ามแตะชิ้นส่วนใกล้โลหะ หรือชิ้นส่วนภายในรถ และห้ามออกจากรถสักระยะจนกว่ากระแสไฟฟ้าในรถจะไหลลงดินทั้งหมด

อีกทั้งไม่ควรจอดรถใกล้ต้นไม้ หรือวัตถุที่สูงกว่าจนทำหน้าที่เป็นสายล้อฟ้าด้วย ทางที่ดีที่สุด ควรจอดรถไว้ใต้อาคาร ในลานจอดรถในร่ม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกฟ้าผ่า

สำหรับเจ้าของรถที่จอดรถไว้กลางแจ้ง และดันเจอฟ้าผ่าในตัวรถ หรือพื้นที่ใกล้ ๆ พึงระลึกไว้เสมอว่าอย่างวิ่งเข้าไปหารถ เพราะอาจจะเกิดอันตรายจากรัศมีของกระแสไฟฟ้าที่วิ่งได้ ซึ่งอาจจะต้องรอฝนหยุดตก หรือแม้แต่ฟ้าแลบฟ้าร้องผ่านพ้นไปเสียก่อนจึงค่อยตรวจสอบสภาพรถอย่างระมัดระวัง


ภาพประกอบจาก freepik.com

“กรงฟาราเดย์” หนึ่งในเทคนิคช่วยป้องกันผู้ขับขี่ และผู้โดยสารจากการโดนฟ้าผ่าลงตัวถังรถ ที่สำคัญ การรักษาสติในการขับขี่ช่วงพายุฝนฟ้าคะนองก็จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุซ้ำสองได้ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น หากผู้ขับขี่เผชิญกับการถูกฟ้าผ่ารถอย่างจัง หลังจากผ่านพ้นเหตุการณ์นี้จนฝนหยุดตก ฟ้าเปิด ก็ควรตรวจสอบสภาพรถ และความเสียหายเพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการซ่อมแซม หรือเก็บหลักฐานสำหรับเคลมประกันภัยควบคู่ด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม:


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง