คัดลอก URL แล้ว

6 เรื่องน่ารู้ของเข็มขัดนิรภัย ที่ช่วยให้คุณใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ปกป้องมากขึ้น

เข็มขัดนิรภัย อุปกรณ์ความปลอดภัยมาตรฐานที่พบได้ในรถแทบทุกคัน โดยหน้าที่ของมันคือการช่วยรั้งตัวผู้ขับขี่ และผู้โดยสารไม่ให้พุ่งไปชนกับกระจก หรือหลุดจากที่นั่งเมื่อเกิดการชนอย่างรุนแรง แม้จะเป็นอุปกรณ์ที่ดูเรียบง่าย แต่ผู้ใช้รถก็ควรให้ความใส่ใจที่ไม่แพ้กับอุปกรณ์ภายในรถอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยคุณเข้าใจในตัวเข็มขัดนิรภัย และใช้งานได้ดียิ่งขึ้น ย่อมหมายถึงช่วยปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้มากขึ้นอีกด้วย

อ่านข่าวเพิ่มเติม:

ประเภทของเข็มขัดนิรภัย (ในรถยนต์ส่วนบุคคล)

หลาย ๆ คนจะรู้จักประเภทของเข็มขัดนิรภัยจากจุดยึด เช่น แบบ 2 จุด (คาดเอว) 3 จุด (เอว+ไหล่) ไปจนถึง 4 จุด และ 6 จุด ซึ่งยานพาหนะแต่ละประเภทจะใช้เข็มขัดนิรภัยที่แตกต่างกัน โดย แบบ 2 กับ 3 จุด จะพบได้ในรถบ้านทุปกระเภท ส่วนเข็มขัดนิรภัย 4 จุดขึ้นไปจะพบได้ในรถสปอร์ต รถแต่งที่เน้นสมรรถนะสูง เพื่อช่วยเพิ่มประเสิทธิภาพการรั้งตัวให้ดียิ่งขึ้นเมื่อขับขี่ด้วยความเร็วสูง

แต่สำหรับรถบ้านที่ไม่ได้ใช้ความเร็วสูง จะมีเข็มขัดนิรภัยแบบ 2 ประเภทขึ้นกับตำแหน่งติดตั้ง และฟีเจอร์ที่ผู้ผลิตกำหนด ได้แก่

ELR (Emergency Locking Retractor) หรือเข็มขัดนิรภัยแบบรั้งตัวและดึงกลับอัตโนมัติ ที่จะมีการใส่กลไกภายในเข็มขัด เพื่อช่วยเพิ่มความยืดหยุ่นในการใส่ตามปกติ และสามารถล็อกตัวผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารทันทีหากเกิดการดึงแรงสูงเนื่องจากการชน โดยมีข้อดีคือลดความอึดอัดในการคาด และช่วยให้ควบคุมรถได้ดี แต่จะมีข้อด้อยตรงที่การยึดคาร์ซีทได้ไม่แน่นหนา ซึ่งต้องเพิ่มคลิปล็อกเสริมด้วย

ALR (Automatic Locking Retractor) เป็นเข็มขัดที่ยืดความยาวของสายตามต้องการ และจะล็อกให้อยู่ทรงทันที ไม่ว่าจะเกิดการดึงรุนแรง ดึงสายผิดจังหวะ ก็จะทำการยึดตัวให้อยู่กับที่ แม้จะสร้างความอึดอัดในการใช้งานกว่า ELR แต่มีข้อดีตรงที่สามารถยึดเบาะเด็กได้แน่นหนากว่าโดยไม่ต้องใช้คลิปล็อก

เมื่อเข็มขัดนิรภัยไม่ได้เชื่อมแค่สายคาด

ด้วยเข็มขัดนิรภัยเปรียบเสมือนปราการสุดท้ายที่ช่วยลดการบาดเจ็บเมื่อถูกชน อีกทั้งข้อกำหนดและข้อบังคับทางกฎหมายที่มีความเข้มงวดในการคาดเข็มขัดนิรภัยที่เพิ่มมากขึ้น ทางผู้ผลิตจึงได้พัฒนา และติดตั้งฟังก์ชั่นแจ้งเตือนผู้ขับขี่ และผู้โดยสารให้คาดเข็มขัดก่อน ซึ่งจะมีทั้งไฟ และเสียงเตือนตั้งแต่ที่นั่งคู่หน้า จนถึงทุกที่นั่ง อีกทั้งรถบางรุ่นก็ได้เพิ่มฟังก์ชั่นระงับการออกตัวของรถก่อนจนกว่าผู้ขับขี่จะคาดเข็มขัดจึงจะสามารถสั่งให้รถออกตัวได้

หมุดที่ฝังในสายเข็มขัด

ผู้ขับขี่ หรือผู้โดยสารหลาย ๆ คนต่างสงสัยว่า หมุดพลาสติกกลม ๆ ที่ยึดกับสายเข็มขัดนิรภัยนั้นทำหน้าที่อะไร คำตอบคือ ช่วยประคองให้หัวเข็มขัดอยู่ในระดับสายตา ไม่ให้ร่วงไปอยู่ด้านล่างจนสร้างความลำบากในการคาดเข็มขัด หรือไปเกะกะด้านล่างจนอาจไปสร้างความเสียหายต่อขิ้นส่วนด้านล่างรถ เช่น พื้นรถ เสา เบาะ กับรางเบาะ หรือแม้เแต่ทำให้หัวเข็มขัดเสียหายจนเสียราคา

ภาพประกอบจาก freepik.com

คาดเข็มขัดอย่างไรให้หายใจสะดวก ปลอดภัยทุกจุด

ผู้ใหญ่ และเด็กอายุมากกว่า 12 ปีขึ้นไป: ควรปรับพนักพิงหลังไม่ให้เอนลงมากนัก สายล่างควรคาดให้ทาบกับกระดูกเชิงกราน ส่วนสายบนให้พาดผ่านบริเวณกระดูกไหปลาร้าลงไป ในขณะที่เด็กอายุราว ๆ 7 – 12 ปี ควรใช้เบาะเสริมเพื่อช่วยให้สามารถคาดเข็มขัดได้ในแนวที่เหมาะสม

สตรีมีครรภ์: ควรปรับพนักพิงหลังไม่ให้เอนลงมากเกินไป รวมถึงระยะห่างจากคอนโซลหน้าและเบาะไม่ควรใกล้เกินไป ส่วนตำแหน่งสายคาดนั้นด้านล่างควรอยู่ตำแหน่งใต้ครรภ์ ส่วนสายบนควรขยับให้อยู่แนวไหล่ และผ่านกลางหน้าอกเพื่อข้ามแนวครรภ์ โดยทุกตำแหน่งของสายคาดควรหลีกเลี่ยงทับแนวครรภ์

อุปกรณ์ตกแต่งเข็มขัดนิรภัยที่ไม่ควรมองข้าม

แม้แต่เข็มขัดนิรภัยเองก็มีชุดแต่งที่ช่วยเพิ่มความสวยงาม สะท้อนตัวตน และเพิ่มความสะดวกสบายในการคาดเข็มขัด เช่น ปลอกหุ้มเข็มขัดนิรภัยที่ช่วยลดความอึดอัดในการโดนสายเข็มขัดรัด และมีสีสันกับลวดลายให้เลือก แต่ควรระมัดระวังอย่างให้ปลอกหุ้มรัดแน่นเกินไปจนทำให้สายคาดเข็มขัดดึงกลับไม่สุดจนอาจทำให้สปริงดึงกลับล้า ส่งผลให้เก็บสายคาดได้ไม่หมด เกิดความเสียหายในระยะยาว แต่หากจำเป็นต้องใช้เพื่อลดความอึดอัด ไม่ควรหุ้มปลอกแน่นเกินไป และหลังจากจอดรถดับเครื่องสนิท ก็ควรอย่างให้ปลอกหุ้มชนบนสุดของช่องเก็บสายหลังเสา และหมั่นทำความสะอาดตัวเบาะตามความเหมาะสม

แต่จะมีอุปกรณ์อีกหนึ่งชิ้นที่ไม่ควรมีติดรถไว้คือ หัวเสียบเข็มขัดเปล่าสำหรับตัดเสียงเตือนคาดเข็มขัด ซึ่งระบบเตือนคาดเข็มขัดมีความจำเป็นอย่างมากที่ช่วยเตือนให้ผู้ขับขี่หรือผู้โดยสารทำการคาดเข็มขัดก่อนขับรถ แต่หัวเสียบเข็มขัดเปล่าจะทำหน้าที่ในการหลอกเซ็นเซอร์นทำให้ระบบเตือนหยุดทำงาน ซึ่งจะไม่ต่างจากการไม่คาดเข็มขัดระหว่างขับรถ ซึ่งจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บหนักและเสียชีวิตได้หากเกิดอุบัติเหตุ และมีความผิดตามกฎหมายด้วย

การทำความสะอาดชุดเข็มขัดนิรภัย

การทำความสะอาดเข็มขัดนิรภัยเพื่อลดการสะสมของสิ่งสกปรก เพิ่มความฝืดให้กับสาย และราคาไม่ตกทำได้ไม่ยากอย่างที่คิด ด้วยการเตรียมผ้าผ้าสะอาดสองผืน โดยผืนแรกให้ชุบน้ำอุ่น หรือน้ำยาทำความสะอาดที่มีฤทธิ์เป็นกลาง แล้วดึงสายออกจนสุดจึงค่อยเช็ดทำความสะอาด และนำผ้าสะอาดผืนที่สองเช็ดให้แห้งก่อนเก็บสาย

อีกทั้งระหว่างทำความสะอาดก็สามารถเช็คกลไกการดึงกลับของสายเข็มขัดว่าสปริงดึงกลับมีอาการล้า หรือเก็บสายไม่หมดหรือไม่ โดยเฉพาะบรรดารถยนต์รุ่นเก่า ซึ่งอาจจะวางแผนต้องเปลี่ยนชุดเข็มขัดนิรภัยในอนาคต เพื่อให้ช่วยปกป้องผู้ขับขี่และผู้โดยสารได้อย่างเต็มที่

กฎหมายของเข็มขัดนิรภัย

ปัจจุบัน (2023) กฎหมายสำหรับเข็มขัดนิรภัยได้รับการปรับปรุง พ.ร.บ.จราจรทางบก (ฉบับที่ 13) พ.ศ. 2565 และได้รับการบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 กันยายน 2565 ที่ผ่านมา โดยมาตรว 123 ระบุไว้ว่า “ผู้ขับขี่รถยนต์ต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะขับขี่รถยนต์ และต้องจัดให้คนโดยสารรถยนต์รัดร่างกายไว้กับที่นั่งด้วยเข็มขัดนิรภัยขณะโดยสารรถยนต์ และคนโดยสารรถยนต์ดังกล่าวต้องรัดร่างกายด้วยเข็มขัดนิรภัยไว้กับที่นั่งในขณะโดยสารรถยนต์ด้วย” หากฝ่าฝืนจะต้องโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท

นั่นหมายความว่าผู้ขับขี่ และผู้โดยสารทุกที่นั่ง ต้อง “คาดเข็มขัดนิรภัย” หากฝ่าฝืนก็จะมีโทษปรับไม่เกิน 2,000 บาท


และนี่คือข้อควรรู้ และเทคนิคการใช้งาน ตลอดจนการดูแลรักษาเข็มขัดนิรภัยให้พร้อมใช้งานอยู่เสมอ ช่วยปกป้องคุณและผู้โดยสารจากอุบัติเหตุได้ดีขึ้น ลดความกังวลต่อการเสียค่าปรับ อีกทั้งยังช่วยถนอมเข็มขัดนิรภัยให้ใช้งานได้ยาวนาน


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง