คัดลอก URL แล้ว
3 วิธีเช็กความอ้วน ตามหลักการแพทย์ รู้ผลชัวร์ๆ ว่า อ้วนหรือไม่?

3 วิธีเช็กความอ้วน ตามหลักการแพทย์ รู้ผลชัวร์ๆ ว่า อ้วนหรือไม่?

หลายๆ คนที่คิดว่าตัวเอง “อ้วน” ทั้งๆ ที่ความจริงอาจจะไม่ได้เป็นเช่นนั้น วันนี้เราจะพาไปพิสูจน์ให้รู้กันว่าคุณอ้วนอยู่หรือไม่ตามหลักการแพทย์

3 วิธีเช็กความอ้วนตามหลักการแพทย์

1.เปรียบเทียบความสูงกับน้ำหนักตัวโดยเฉลี่ย (เป็นวิธีที่ง่ายที่สุด)

ผู้ชาย : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม คือ ความสูง (ซม.) ลบ 100 เช่น ผู้ชายที่สูง 170 ซม. น้ำหนักตัวที่เหมาะสม คือ 70 กก. (170-100 = 70)

ผู้หญิง : น้ำหนักตัวที่เหมาะสม คือ ความสูง (ซม.) ลบ 110 เช่น ผู้หญิงที่สูง 160 ซม. น้ำหนักตัวที่เหมาะสม คือ 50 กก. (160-110 = 50)

2.หาดัชนีมวลกาย (ค่า BMI)

วิธีคำนวณ : น้ำหนัก (กก.) หาร ความสูง (เมตร) 2 ครั้ง เช่น หากมีน้ำหนัก 75 กก. และสูง 170 ซม. (1.7 เมตร) จะได้ค่าดัชนีมวลกาย = (75 หาร 1.7) แล้วหาร 1.7 อีกครั้งหนึ่ง = 25.9

เกณฑ์ค่าดัชนีมวลกายที่เหมาะสม

3.การวัดเส้นรอบเอว และสะโพก

การวัดเส้นรอบเอวเป็นมาตรฐาน จะวัดที่ระดับจุดกึ่งกลางระหว่างใต้ชายโครงและเหนือกระดูกสะโพก

ผู้ชาย : ถ้าเส้นรอบเอวมากกว่า 36 นิ้ว (90ซม.) ถือว่าอ้วนลงพุง

ผู้หญิง : ถ้าเส้นรอบเอวมากกว่า 32 นิ้ว (80 ซม.) ถือว่าอ้วนลงพุง

ค่าสัดส่วนเอว และสะโพก = เส้นรอบเอว (เมตร) หาร เส้นรอบสะโพกที่ยาวที่สุด

กรณีผู้ใหญ่ (ชาย) ถ้าเกิน 1.0 ถือว่าอ้วนลงพุง และผู้หญิง ถ้าเกิน 0.8 ถือว่าอ้วนลงพุง

ที่มา : สสส.


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง