คัดลอก URL แล้ว
‘อาชญากรรมเด็ก’ กับคำถามสังคมถึงเวลาแก้กฎหมายหรือยัง?

‘อาชญากรรมเด็ก’ กับคำถามสังคมถึงเวลาแก้กฎหมายหรือยัง?

‘อาชญากรรมเด็ก’ เป็นประเด็นที่สังคมกำลังจับตามองเป็นอย่างมาก ภายหลังเกิดเหตุคดีสะเทือนขวัญ ซึ่งผู้ก่อเหตุเป็นกลุ่มเด็กและเยาวชน ที่ลงมือทำร้ายและฆ่า ‘ป้าบัวผัน’ หรือ ‘ป้ากบ’ หญิงสาวสติไม่ดีจนเสียชีวิตในพื้นที่จังหวัดสระแก้ว

ซึ่งคดีดังกล่าวกลายเป็นกระแสดราม่าในสังคม เมื่อ ‘ลุงเปี๊ยก’ สามีของป้ากบ ถูกจับดำเนินคดีและไปทำแผนประกอบคำรับสารภาพ ทั้งที่ตัวเองไม่ได้เป็นผู้ก่อเหตุ ซึ่งหลักฐานสำคัญคือกล้องวงจรปิดที่สื่อมวลชนนำมาเปิดเผย จนสุดท้ายกลายเป็นหลักฐานสำคัญที่ทำให้ ‘ลุงเปี๊ยก’ หลุดพ้นจากการเป็นแพะรับบาปในคดีนี้

นอกจากนี้ประเด็นหนึ่งในผู้ก่อเหตุที่มีพ่อเป็นตำรวจอยู่ในพื้นที่ จึงทำให้ครอบครัวของผู้เสียชีวิต มองว่าอาจไม่ได้รับความเป็นธรรมเกี่ยวกับคดีนี้ ซึ่งคาดว่าในเร็ว ๆ นี้ ข้อเท็จจริงทั้งหมดจะปรากฏให้สังคมได้รับรู้

ย้อนกลับมาพูดถึงเรื่องประเด็น ‘อาชญากรรมเด็ก’ หากจำกันได้ในช่วงหลายเดือนที่ผ่านมามีคดีเกี่ยวกับอาชญากรรมเด็กเกิดขึ้น และที่เป็นข่าวใหญ่ระดับประเทศคือ เหตุกราดยิงที่พารากอน และกลุ่มนักเรียนอาชีวะที่ก่อเหตุยิงสถาบันคู่อริ จนทำให้ผู้บริสุทธิ์ถูกลูกหลงเสียชีวิต คือครูเจี๊ยบและน้องหยอด

เกี่ยวกับประเด็นที่กล่าวมาในข้างต้นนั้น ทางหน่วยงานที่รับผิดชอบได้มีการหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาปรับแก้ข้อกฎหมายเกี่ยวกับช่วงอายุของอาชญากรรมเด็ก เพราะปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้ อาชญากรเด็ก เริ่มเกิดให้เหตุมาขึ้นเรื่อย ๆ และยิ่งทวีความรุนแรงมากยิ่งขึ้น

70 % ของเด็กกระทำผิด เกิดจากครอบครัวแตกแยก?

ข้อมูลจากกรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน โดยรายงานสถิติคดีประจำปี 2565 ระบุว่า คดีเด็กและเยาวชนซึ่งถูกดําเนินคดีโดยสถานพินิจฯ ทั่วประเทศ จํานวนทั้งหมด 12,192 คดี เมื่อพิจารณาจําแนกตามเพศ พบว่า เป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดเป็นเพศชายสูงกว่าเพศหญิง คือมีจํานวน 11,032 คดี คิดเป็นร้อยละ 90.49 ของคดีทั้งหมด และเป็นเพศหญิง จํานวน 1,160 คดีซึ่งคิดเป็นเพียง ร้อยละ 9.51

โดยพบว่า คดีส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดมีการศึกษาระดับมัธยม มากที่สุด คือ มีจํานวน 6,306 คดีคิดเป็นร้อยละ 51.72 ของคดีทั้งหมด รองลงมาเป็นคดีที่ผู้กระทําความผิด มีการศึกษาระดับประถมศึกษา คือ มีจํานวน 2,142 คดีคิดเป็นร้อยละ 17.57

เมื่อพิจารณาจําแนกตามลักษณะการอยู่อาศัย พบว่า คดีส่วนใหญ่เป็นคดีที่ผู้กระทําความผิดที่มิได้อยู่กับบิดา มารดา หรือบิดา มารดา แยกกันอยู่มากกว่าผู้กระทําความผิดที่อยู่ร่วมกับครอบครัว คือ คดีที่ผู้กระทําความผิดที่มิได้อยู่กับบิดามารดาหรือบิดามารดาแยกกัน มีจํานวน 9,239 คดีคิดเป็นร้อยละ 70.75 ของคดีทั้งหมด ส่วนคดีที่ผู้กระทําความผิดที่อยู่ร่วมกันกับครอบครัว มีจํานวน 3,820 คิดเป็นร้อยละ 29.25

กฎหมายอาญาคดีเด็กและเยาวชน

ตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 กําหนดว่า

และพระราชบัญญัติแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่ 29) พ.ศ.2565 ซึ่งแก้ไขอายุความรับผิด ทางอาญาของเด็กจากสิบปีเป็นสิบสองปีดังนั้น กรณีที่เด็กอายุยังไม่เกินสิบสองปีจึงนับได้ว่าไม่ต้องรับการพิจารณาพิพากษาในศาลและไม่ต้องนําตัวเข้ามาสู่กระบวนการยุติธรรมทางอาญาสําหรับเด็กและเยาวชน

แต่จะต้องส่งตัวไปรับการคุ้มครองสวัสดิภาพตามพระราชบัญญัติคุ้มครองเด็ก พ.ศ.2546 ทั้งนี้การนับอายุของเด็กหรือเยาวชนต้องนับในวันที่การกระทําความผิดได้เกิดขึ้น

โดยในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 73-74 กำหนดให้เด็กที่อายุต่ำกว่า 15 ปี ที่กระทำความผิด ไม่ต้องรับโทษ

การปรับแก้ข้อกฎหมาย ‘อาชญากรรมเด็ก’

เกี่ยวกับเรื่องนี้ พล.ต.อ.ต่อศักดิ์ สุขวิมล ผบ.ตร. ได้เคยพูดถึงการปรับแก้ข้อกฎหมายในกรณีจาเหตุกราดยิงพารากอน ว่า หลายฝ่ายมองว่ากฎหมายที่ใช้กับเด็กที่ก่อเหตุความรุนแรง มีอัตราโทษเบา และเกรงว่าผู้เสียหายจะไม่ได้รับความเป็นธรรม ทาง ตำรวจได้หารือกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการหยิบยกแบบอย่างของต่างประเทศมาศึกษาเพื่อปรับลดอายุของผู้กระทำผิดให้ต่ำลง จากอายุ 15 ปี เหลือ 12 ปี

โดยเรื่องนี้จะมีการหารืออย่างจริงจังเพราะปัจจุบันการก่อเหตุอาชญากรรมในเด็กมีความรุนแรงมากขึ้น มีการเลียนแบบโซเชียลมากขึ้น และผู้ก่อเหตุก็มีอายุที่น้อยลงเรื่อย ๆ

ซึ่งในคดี ‘ป้าบัวผัน’ ที่ผู้ก่อเหตุเป็นเยาวชน ก็ได้ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินการรวบรวมสถิติทางคดีอาชญากรรมที่เกี่ยวข้องกับเยาวชนย้อนหลังไป 5 ปี เพื่อนำมาวิเคราะห์ถึงพฤติกรรม และจะส่งต่อให้กระทรวงยุติธรรมพิจารณาดำเนินการในการแก้กฎหมายกับเยาวชนที่กระทำผิดร้ายแรงได้บ้าง

ทางด้าน นายประยุทธ เพชรคุณ รองอธิบดีอัยการ สำนักงานคดีพิเศษ และโฆษกสำนักงานอัยการสูงสุด ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับการปรับแก้ข้อกฎหมายอาชญากรรมเด็กว่า อาจจะต้องทำให้เป็นเรื่องเร่งด่วน มีการหารือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ ตำรวจ อัยการ ศาล ตัวแทนสหประชาติ องค์กรด้านสิทธิมนุษยชน เสนอมุมมองในการที่จะปรับแก้กฎหมาย และนำเรื่องเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎร ให้ความเห็นชอบต่อไป

ปัญหาเด็กชอบใช้ความรุนแรง

ครอบครัว เป็นสถาบันสังคมเริ่มแรกของเด็ก ซึ่งเป็นสถาบันที่จะหล่อหลอมสร้างเด็กให้เติบโต เพื่อใช้ชีวิตและอยู่ร่วมกับคนในสังคมได้ แต่เรามิอาจปฏเสธได้เลยว่า ปัญครอบครัว ก็ย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของ ‘เด็กมีปัญหา’ ทั้งการเลี้ยงดูที่ไม่ถูกต้อง การใช้ความรุนภายในครอบครัว การใช้คำพูดที่รุนแรงหยาบคาย นำไปสู่พฤติกรรมเลียนแบบ ให้เด็กจำจดและนำไปใช้

รวมไปถึงสื่อต่าง ๆ ทั้งในละคร ภาพยนตร์ หรือ แม้แต่เกมที่มีความรุนแรง ซึ่งหากครอบครัวมีการแนะนำที่ถูกต้อง ว่าสิ่งไหนควร หรือ ไม่ควรทำ ตามแบบอย่าง ก็จะทำให้เด็กได้สร้างชุดความคิดขึ้นมาในทางที่ถูกต้อง

ซึ่งในทางกลับกันหากสถาบันครอบครัว โดยเฉพาะพ่อแม่ ผู้ปกครอง ใช้ความรุนแรงในครอบครัว ไม่มีการอบรมสั่งสอนให้เด็กดำเนินชีวิตไปในทางที่ถูกที่ควร ก็จะเกิดการนำพฤติกรรมความรุนแรงไปใช้ในสังคม ก่อเกิดเป็นปัญหาสังคม และปัญหาอาชญากรรมตามมาในที่สุด


ข่าวที่เกี่ยวข้อง