คัดลอก URL แล้ว
Landbridge อีก 1 เมกะโปรเจกต์ใหญ่รอบ 20 ปี!?

Landbridge อีก 1 เมกะโปรเจกต์ใหญ่รอบ 20 ปี!?

โครงการด้านกระตุ้นเศรษฐกิจของ ‘รัฐบาลเศรษฐา’ ชั่วโมงนี้ คงหนีไม่พ้น Landbridge ที่นายกรัฐมนตรีเอ่ยปากเองว่า เป็นเมกะโปรเจกต์ใหญ่ของประเทศในรอบ 20 ปี

ซึ่งโครงการนี้เป็นโครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมฝั่งทะเล อ่าวไทย – อันดามัน (Landbridge ชุมพร – ระนอง) ทำให้เกิดคำถามในสังคมว่า จะเกิดผลเสียตามมาหรือไม่เกี่ยวกับโครงการนี้ แน่นอนว่าเรื่องนี้ย่อมมีทั้งคนที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย

โดยนายกรัฐมนตรีจากการลงพื้นที่ ครม.สัญจร ที่ จ.ระนอง ล่าสุดในการตรวจพื้นที่ของโครงการ ได้ยืนยันว่าพร้อมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างเต็มที่ ทั้งในส่วนที่สนับสนุน และกลุ่มที่ไม่เห็นด้วย ซึ่งเป็นเพียงแค่จุดเริ่มต้นของโครงการเท่านั้นยังต้องศึกษาในรายละเอียดทุก ๆ ด้าน

โครงการ Landbridge คืออะไร?

โครงการสะพานเศรษฐกิจเชื่อมทะเลอ่าวไทย-อันดามัน หรือ Landbridge เป็นหนึ่งในโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นที่และบริการด้านคมนาคม โดยกระทรวงคมนาคมบูรณาการรูปแบบการขนส่งเชื่อมโยง 2 ท่าเรือ ให้เชื่อมต่อถึงกันอย่างไร้รอยต่อ ส่งเสริมการขนส่งทางน้ำให้มีความทันสมัย และเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางเศรษฐกิจกับนานาประเทศ

ซึ่งเป็นการพัฒนาเชื่อมต่อระหว่างมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดียด้วยท่าเรือฝั่งอ่าวไทยและท่าเรือฝั่งอันดามันพร้อมกับการพัฒนาถนนมอเตอร์เวย์รถไฟทางคู่และท่อส่งน้ำมันรวมถึงพัฒนาอุตสาหกรรมต่อเนื่องบริเวณหลังท่าเรือ

โครงการland bridge จะเป็นศูนย์กลางการขนส่งและเศรษฐกิจใหม่ทางทะเลในระดับภูมิภาคช่วยลดปัญหาความแออัดในการสัญจรทางทะเลผ่านช่องแคบมะละกาซึ่งปัจจุบันช่องแคบมะละกามีการจราจรทางเรือที่หนาแน่นโดยมีเรือทุกประเภทผ่านประมาณ 100,000 ลำต่อปีและมีตู้สินค้าผ่านประมาณ 74 ล้าน TEUs ต่อปี

ซึ่งคาดว่าจะเพิ่มมากขึ้นเป็น 120,000 ลำต่อปีโดยโครงการนี้จะเป็นทางเลือกในการขนส่งสินค้าช่วยลดระยะเวลาในการขนส่งได้ 3-5 วันพร้อมกับพัฒนาพื้นที่หลังถ้าเรือให้เกิดอุตสาหกรรมใหม่ที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

แนวเส้นทางโครงการ Landbridge

โดยเส้นทางโครงการดังกล่าวจะมีระยะทางประมาณ 89.35 กิโลเมตรประกอบด้วย ทางหลวงพิเศษระหว่างเมืองหรือมอเตอร์เวย์ทางรถไฟระบบการขนส่งทางเรือและถนนบริการเป็นทางระดับพื้นทางยกระดับและอุโมงค์ในช่วงผ่านพื้นที่ภูเขา

เป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ Landbridge

สำหรับเป้าหมายการพัฒนาเศรษฐกิจในพื้นที่ land bridge โดยตั้งเป้าเป็นศูนย์กลางขนส่งสินค้าและโลจิสติกส์ของภาคใต้และกิจการที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่ม รวมถึงอุตสาหกรรมแปรรูปการเกษตรมูลค่าสูงอุตสาหกรรมอาหารแช่แข็ง

นอกจากนี้จะเป็นการเพิ่มโอกาสในด้านอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศการท่องเที่ยวเชิงผสมผสานวิถีชุมชนและการท่องเที่ยวระดับคุณภาพ เป็นศูนย์กลางทางการเงิน

รวมไปถึงอุตสาหกรรมชีวภาพ / BGC / อุตสาหกรรม Green / กลุ่มเทคโนโลยีดิจิตอลขั้นสูง และเป็น smart city การเชื่อมโยงระบบคมนาคมขนส่งท่าเรือมอเตอร์เวย์รถไฟและสนามบิน

สิทธิประโยชน์ในการลงทุนพื้นที่ Landbridge

สำหรับสิทธิประโยชน์และมาตรการส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ land bridge จะประกอบไปด้วย 6 ด้านสำคัญคือ

ด้านภาษี

ด้านที่ดิน

ด้านแรงงาน

ด้านภาษีในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

ด้านที่ดินในเขตเศรษฐกิจพิเศษ

มาตรการส่งเสริม

แนวทางการลงทุน Landbridge

โดยแนวทางในการลงทุนแบ่งเป็นการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่หลังทำด้วยการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานประกอบไปด้วยท่าเรือทั้งสองฝั่งและเส้นทาง Land Link ที่มีทางรถไฟ 4 ทางมอเตอร์เวย์ 6 ช่องจราจรมีมูลค่าการลงทุนประมาณ 1.1 ล้านล้านบาท

และการพัฒนาพื้นที่หลังทำมีการพัฒนาเชิงพาณิชย์และการพัฒนาเชิงอุตสาหกรรมโดยเป็นการลงทุนแบบ single package หรือสัญญาเดียวที่รวมทั้งการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนาพื้นที่หลังทำมีระยะเวลาสัมปทาน 50 ปี

ผลประโยชน์ที่นักลงทุนจะได้รับคือรายได้จากค่าธรรมเนียมการขนส่งผ่าน land bridge และการพัฒนาพื้นที่หลังทำที่เป็นพื้นที่ทั้งด้าน Commercial / Residental และ Inductrial

ประโยชน์จากการพัฒนาโครงการ

เกิดการพัฒนาระบบการคมนาคมถนนรถไฟในพื้นที่ทำให้เกิดความสะดวกสบายในการเดินทางปลอดภัยประหยัดพลังงานประหยัดเวลาส่งเสริมการขนส่งสินค้าและการกระจายสินค้าไปยังพื้นที่ต่างๆ

เพิ่มรายได้สร้างความเจริญพัฒนาคุณภาพชีวิตโอกาสของการจ้างงานเพิ่มอาชีพใหม่ๆในชุมชนส่งผลให้คุณภาพชีวิตของประชาชนโดยรวมดีขึ้นไม่ต้องย้ายถิ่นฐานช่วยลดปัญหาสังคม

รวมไปถึงการเพิ่มโอกาสของชาวบ้านในการพัฒนาอุตสาหกรรมและธุรกิจต่อเนื่องเช่นการแปรรูปอุตสาหกรรมทางการเกษตรอาหารและการประมงอุตสาหกรรมแปรรูปยาเวชภัณฑ์ธุรกิจการให้บริการขนส่งสินค้าอุตสาหกรรมไฮเทคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวที่พักอาศัยร้านอาหารเป็นต้น

นอกจากนี้ยังเกิดการพัฒนาต่อเนื่องทั้งระบบทางด้านสาธารณสุขการศึกษาและเศรษฐกิจในพื้นที่

อย่างไรก็ตามโครงการนี้ยังอยู่ในขั้นตอนการศึกษา และสำรวจความคิดเห็นเพิ่มเติมจากประชาชนในพื้นที่ ทั้งเรื่องระบบโครงสร้างต่าง ๆ และปัญหาที่เป็นข้อห่วงใยสำคัญของชาวบ้านและคนในพื้นที่ นั้นคือ ผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม


ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง