คัดลอก URL แล้ว
‘กัญชา’ กับปัญหาที่กำลังกระทบสังคม

‘กัญชา’ กับปัญหาที่กำลังกระทบสังคม

กลายเป็นประเด็นที่ถูกพูดถึงอีกครั้งสำหรับ ‘กัญชา’ หลัง “คอปเตอร์” ภานุวัฒน์ เกิดทองทวี นักร้อง และนักแสดงชาวไทย โพสต์ข้อความผ่าน X (ทวิตเตอร์) ที่ไปดู คอนเสิร์ต Coldplay แล้วได้กลิ่นควันกัญชาภายในคอนเสิร์ต จากผู้ไร้จิตสำนึกที่แอบสูบกัญชาระหว่างรับชมการแสดง

แม้ผ่านไปเกือบ 2 ปีแล้ว กับการ ‘ปลดล็อกกัญชา’ ซึ่งจุดประสงค์หลักคือ ใช้ทางการแพทย์ และเป็นทางเลือกสำหรับการใช้รักษาผู้ป่วย อาทิ โรคพาร์กินสัน โรคอัลไซเมอร์ เป็นต้น

แต่ปัจจุบัน ‘กัญชา’ ถูกนำมาใช้ในทางนันทนาการ ซึ่งจากข้อมูลสถิติพบว่า หลังจากการปลดล็อกกัญชานั้น มีการนำกัญชาไปใช้ในทางนันทนาการเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก หากยังจำกันได้ในรอบ 1-2 ปี ที่ผ่านมา เคยมีเคสเด็กมัธยมใช้กัญชาจนต้องเข้าโรงพยาบาล รวมไปถึงการว่าขายกัญชาตามแหล่งท่องเที่ยว จนถูกหน่วยงานเข้าไปจัดระเบียบในที่สุด

ประเด็นการใช้กัญชานั้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเพื่อนันทนาการ กลับเป็นดาบสองคมที่กำลังสร้างปัญหาให้สังคม เพราะปัจจุบันเกิดกรณีที่มีผู้ใช้กัญชาเพื่อนันทนาการ สูบในพื้นที่สาธารณะมากขึ้น ก่อเกิดผลกระทบต่อคนในสังคม เพราะต้องอย่าลืมว่าสิ่งเหล่านี้เมื่อมีคนที่ ‘ชอบ’ มันย่อมมีคนที่ ‘ไม่ชอบ’ และกลายเป็นสร้างปัญหา ส่งต่อผลกระทบไปอีก

สูบกัญชา ในที่สาธารณะผิดกฎหมาย

กัญชา มีสาร CBD (Cannabidiol) ที่ช่วยทำให้ผ่อนคลาย และไม่ส่งผลเสียต่อร่างกาย แต่ก็ยังมีสาร THC (Tetrahydrocannabino) และสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อร่างกาย

มีการวิจัย พบว่า ในกัญชามี THC ในปริมาณที่สูงถึง 12% จึงทำให้เกิดอาการเมา และมีผลข้างเคียงอื่น ๆ เช่น ปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ดังนั้น การสูบกัญชาโดยตรงจะทำให้ร่างกายได้รับแต่ THC มากเกินไป และส่งผลกระทบต่อร่างกาย ดังนี้

การสูบกัญชาจึงต้องมีการควบคุม ไม่สามารถสูบในที่สาธารณะได้ เพราะควันของกัญชาจะสร้างความรำคาญและอันตรายให้กับผู้อื่น หากฝ่าฝืน จะมีความผิดตามตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ.2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 มาตรา 28/1 ประกอบ มาตรา 74 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 3 เดือน หรือปรับไม่เกิน 25,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

กฎหมายกัญชา คุมการใช้ผิดประเภท

เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้เปิดเผยหลังจากมีกระแสดราม่าในงานคอนเสิร์ต Coldplay และมีผู้ลักลอบสูบกัญชาภายในงานดังกล่าว โดยระบุว่า ทางกระทรวงสาธารณสุขได้มีการยกร่างกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาแล้ว โดยคาดว่าจะเข้าที่ประชุม ครม. ในช่วงสัปดาห์หน้า

โดยยังคงเน้นกรอบการใช้ทางการแพทย์และเพื่อสุขภาพ แต่หากนำไปใช้ผิดประเภท อาทิ เพื่อนันทนาการ สนุกสนานรื่นเริง ถือว่าเป็นการใช้ผิดประเภท ในส่วนของร้านจำหน่ายกัญชาที่เปิดอยู่นั้น หากมีใบอนุญาตถูกต้องถือว่าไม่ผิด แต่ต้องเป็นไปตามวัตถุประสงค์ คือ ใช้ทางการแพทย์เท่านั้น

ซึ่งกฎหมายตัวนี้จะเป็นการควบคุมการใช้กัญชาอย่างจริงจัง เพราะในช่วงที่ผ่านมาหลังการปลดล็อกกัญชานั้น ไม่มีกฎหมายควบคุมการใช้งาน เนื่องจากเกิดภาวะ ‘สุญญากาศ’ ของร่าง พ.ร.บ.กัญชาฯ ในวาระที่ 2 และ 3 ในสภาช่วงที่ผ่านมา ทำให้กัญชาถูกนำไปใช้งานอย่างผิดประเภท เช่นเดียวกับกรณีการใช้ในที่สาธารณะจนส่งผลกระทบต่อผู้อื่น

กระทรวงยุติธรรม เสนอ สธ. ออกกฎหมายควบคุมจริงจัง

พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม ได้เสนอถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข กำหนดช่อดอกและสารสกัดจากพืชกัญชาให้เป็นยาเสพติดให้โทษในระหว่างที่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมพืชกัญชา

ซึ่งกัญชาที่ได้ว่าเป็นอีกปัญหาหนึ่งที่ได้รับฟังความจากประชาชนจากการลงพื้นที่ ว่า เป็นห่วงถือสถานการณ์ดังกล่าวอย่างมาก โดยเฉพาะการใช้ในเยาวชนอายุต่ำกว่า 18 ปีซึ่งส่งผลต่อการศึกษาและอนาคตของเยาวชน เนื่องจากในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายควบคุมการใช้กัญชาในทางที่ผิดดังกล่าว

อีกทั้งจากสถิติศูนย์ศึกษาปัญหายาเสพติด (ศศก) พบว่า หลังนำกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดทำให้สถิติวัยรุ่นอายุ 18-19 ใช้กัญชา สูงขึ้นกว่า 10 เท่า นอกจากนั้นยังพบปัญหาอื่นอาทิ นักท่องเที่ยว นำผลิตภัณฑ์ที่มีกัญชาติดตัวไปต่างประเทศแล้วโดนดำเนินคดี

ข้อควรรู้การใช้ ‘กัญชา’

ช่อดอกเพศเมียของกัญชา พบสารสำคัญมากที่สุด คือ สาร THC เป็นสารเมา มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท และ สาร CBD ไม่เป็นสารเมา ไม่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท โดยสารทั้งสองชนิดละลายได้ดีในไขมัน

สาร THC

เมื่อนำมาประกอบอาหารและเครื่องดื่ม ต้องควรระวังสารเมา (สาร THC) ที่มาอยู่ในกัญชา เมื่อรับประทานในปริมาณที่มากเกินไป อาจจะส่งผลต่อร่างกายที่แตกต่างกัน เช่น วิงเวียน คลื่นไส้ อาเจียน ปากแห้ง ง่วงนอนมากกว่าปกติ และอาการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

สรรพคุณส่วนต่าง ๆ ของกัญชา

ประเด็นกัญชายังคงต่อตามกันต่อเนื่อง ว่าท้ายที่สุดแล้วจะมีกฎหมายเข้ามาควบคุมการใช้อย่างจริงจังหรือไม่ เพราะหากให้รอสามัญสำนึกจากผู้ที่ใช้ผิดประเภท

โดยเฉพาะสูบนันทนาการในที่สาธารณะ ก็คงเป็นเรื่องที่ยากคล้ายกับการ ‘ห้ามสูบบุหรี่’ ในพื้นที่สาธารณะ แต่ก็ยังมีผู้สูบอยู่ดี สังคมจึงหวังแต่เพื่อว่าให้มีกฎหมายเข้ามาควบคุมอย่างจริงจัง และมีบทลงโทษที่ชัดเจนมากขึ้น


ข้อมูล : กระทรวงสาธารณสุข


ข่าวที่เกี่ยวข้อง