คัดลอก URL แล้ว
ย้อนรอยกฎหมายกู้เงินรัฐบาลที่ผ่านมา  สู่ พ.ร.บ. กู้เงินดิจิทัลวอลเลต 5 แสนล้าน

ย้อนรอยกฎหมายกู้เงินรัฐบาลที่ผ่านมา สู่ พ.ร.บ. กู้เงินดิจิทัลวอลเลต 5 แสนล้าน

โครงการดิจิทัลวอลเล็ต 1 หมื่น ของรัฐบาลเศรษฐา เป็นที่พูดถึงอย่างมาก โดยเฉพาะประเด็นเรื่องแหล่งที่มาของเงิน ซึ่งก่อนหน้านี้พรรคเพื่อไทยได้พยายามชูนโยบายดังกล่าว พร้อมผลักดันให้เกิดขึ้นจริง แต่ยังไม่มีความชัดเจนในเรื่องของแหล่งที่มาของเงินโครงการดังกล่าว

สุดท้ายในการแถลงถึงรายละเอียดโครงการ ก็ได้ข้อสรุปในเรื่องนี้ คือ การออกพระราชบัญญัติกู้เงิน วงเงิน 5 แสนล้านบาท เพื่อนำมาแจกเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท จนถูกหลายฝ่ายออกมาท้วงติง ว่าท้ายที่สุดรัฐบาลเศรษฐาก็ต้อง ‘กู้เงินมาแจก’ ประชาชน ซึ่งไม่ต่างจากในยุคของรัฐบาลลุงตู่ อย่างโครงการ ‘คนละครึ่ง’

การกู้เงินของรัฐบาลไม่ว่าจะกี่ยุคสมัย ย่อมสามารถเกิดขึ้นได้ ซึ่งอยู่ที่วัตถุประสงค์ในแต่ละเคส ว่ารัฐบาลนั้น ๆ จะนำเงินที่กู้มาไปผลักดัน หรือ บริหารจัดการประเทศในด้านใด ซึ่งก็ไม่ใช่ทุกฉบับที่จะผ่านทั้งหมด เนื่องจากในแต่ละ พ.ร.บ.กู้เงิน ของรัฐบาล ในแต่ละฉบับ ต้องผ่านกระบวนการต่าง ๆ และสุดท้ายต้องเข้าสู่ขั้นตอนในรัฐสภา ว่าจะ เห็นชอบหรือไม่

เกือบ 30 ปี แต่ละรัฐบาลกู้เงินมาแล้วกี่ฉบับ?

หลังจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ใช้บังคับ นับตั้งแต่ช่วงวิกฤตต้มยำกุ้ง เมื่อปี 2540 ที่มีการออก พ.ร.ก. กู้เงิน ภายใต้รัฐธรรมนูญตลอดระยะเวลาของรัฐบาลทั้ง 5 รัฐบาล ซึ่งในแต่ละชุด ก็มีการออกร่าง พ.ร.บ. – พ.ร.ก.กู้เงิน โดยมีรายละเอียดดังนี้

ไม่ใช่ทุกฉบับที่จะผ่าน

แม้ในช่วงกว่า 20 ปี ที่ผ่านมา จะมีการออก พ.ร.ก.กู้เงิน เพื่อแก้ไขสถานการณ์ต่าง ๆ ของแต่ละรัฐบาล แต่ก็ไม่ใช่ทุกฉบับได้รับความเห็นชอบ ซึ่งฉบับที่ผ่านมา มีเพียง 9 ฉบับ ที่ผ่านการอนุมัติและนำเงินมาใช้จ่ายในโครงการต่าง ๆ ประกอบไปด้วย

ฉบับที่ไม่ผ่าน

พ.ร.บ. กู้เงิน กับ พ.ร.ก. กู้เงินต่างกันอย่างไร

ในช่วงที่ผ่านมา การกู้เงินในโครงการของรัฐฯ มีทั้งการออกเป็น พ.ร.ก. หรือ พระราชกำหนด และ พ.ร.บ. ย่อมาจาก พระราชบัญญัติ แต่ส่วนใหญ่ที่ผ่านเป็นงบประมาณออกมานั้น จะเป็น พ.ร.ก. เสียส่วนใหญ่ สาเหตุสำคัญน่าจะเป็นเหตุผลมาจาก กระบวนการและขั้นตอนของการออกกฎหมายนั้นแตกต่างกัน

หากสรุปให้เข้าใจอย่างง่ายคือ พ.ร.บ. นั้น เป็นบทบัญญัติของกฎหมายที่ตราขึ้นบังคับใช้ทั่วไป ในสถานการณ์ปรกติ จะต้องมีการดำเนินการเสนอในสภาผู้แทนฯ ซึ่งจะต้องผ่านขั้นตอนการลงมติใน 3 วาระ และนำเสนอต่อวุฒิสภาต่อไป โดยก็จะต้องผ่านการลงมติ ซึ่งกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการเงิน จะต้องพิจารณาในเสร็จภายใน 30 วัน หากผ่านความเห็นชอบของวุฒิสภาในวาระที่ 3 แล้ว ก็จะมีการทูลเกล้า เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับต่อไป

แต่ พ.ร.ก. นั้นเป็นกฎหมายที่ตราขึ้นในสถานการณ์ฉุกเฉิน มีความจำเป็นเร่งด่วน ตามรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 172 ที่ระบุถึงความปลอดภัยของประเทศ รวมถึงความมั่นคงทางเศรษฐกิจ หรือ การปกป้องภัยพิบัติต่าง ๆ ดังนั้น หากคณะรัฐมนตรีเห็นชอบว่า มีความจำเป็น ก็จะสามารถออก พ.ร.ก. และนำขึ้นทูลเกล้า เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธยและประกาศใช้บังคับ โดยไม่จำเป็นต้องเสนอร่างฯ ให้รัฐสภาพิจารณาก่อน

การกู้ในสมัยของ รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ กับ รัฐบาลเศรษฐา

หากมองตามสถานการณ์แล้วในสมัยของลุงตู่ ในการออก พ.ร.ก.กู้เงิน 3 ฉบับ โดยระบุถึงสาเหตุการกู้ เพื่อมาฟื้นฟูเศรษฐกิจ ช่วยเหลือพี่น้องประชาชน ที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ซึ่งเหตุการณ์ที่ผ่านมาทำให้เกิดผลกระทบทั่วประเทศทั้งในธุรกิจขนาดใหญ่ไปจนถึงขนาดเล็ก มีการเลิกจ้าง ผู้กอบประกอบการบางส่วนต้องปิดกิจการ

หลายฝ่ายจึงมองว่า การกู้เงินดังกล่าวในสมัยลุงตู่นั้นเป็นการช่วยเหลือประชาชน และขับเคลื่อนเศรษฐกิจให้เดินหน้าไปต่อได้ จากสถานการณ์ที่จำเป็น แต่ก็มีอีกความเห็นบางส่วนมองว่าควรบริหารจัดการเงินกู้ให้ดีกว่านี้ นอกเหนือจากการ ‘กู้มาแจก’ ในหลายโครงการเช่น โครงการคนละครึ่ง หรือ เราเที่ยวด้วยกัน

ในขณะรัฐบาลปัจจุบัน ของนายเศรษฐา เป็นการกู้เพื่อเดินหน้าโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ยังคงมีข้อถกเถียงจากหลายฝ่ายถึง “ความจำเป็น” ของการกระตุ้นเศรษฐกิจ จนทำให้หลายฝ่ายมองว่า การออก พรบ.กู้เงินมูลค่า 5 แสนล้านในครั้งนี้ อาจขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เนื่องจากมองว่าไม่มีเหตุจำเป็นอะไรที่ต้องกู้มาแจกประชาชน

นอกจากนี้ ขั้นตอนส่งร่าง พรบ. กู้เงิน 5 แสนล้าน ให้คณะกรรมการกฤษฎีกาตีความนั้น แม้ว่าจะเป็นเรื่องที่กระทำได้ แต่ในกระบวนการต่อไปคือ การเสนอต่อรัฐสภา ที่รัฐบาลในขณะนี้มั่นใจว่า น่าจะผ่านไปได้ เนื่องจากคะแนนเสียงของพรรคฝ่ายรัฐบาลนั้นมีอยู่มากกว่า 300 เสียง แต่ข้อสังเกตที่หลายคนยังคงค้างคาใจอยู่คือ จะเกิดอะไรขึ้น หากมีใครสักคน ยื่นร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ และนำไปสู่ประวัติศาสตร์ซ้ำรอย พ.ร.บ. กู้เงิน 2 ล้านล้านในอดีต และกระแสสังคมก็ถาโถมไปที่ศาลรัฐธรรมนูญแทน และนั่น ทำให้บางคนมองว่า

“นี่เป็นหนึ่งในทางลงของรัฐบาลโครงการเงินดิจิทัล 1 หมื่นบาท ผ่านการโยนเผือกร้อนไปให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือไม่”


อ้างอิง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง