คัดลอก URL แล้ว
เอกภาพ 8 พรรคร่วมฯ กับการโหวตนายกฯ ก้าวสำคัญสู่การจัดตั้งรัฐบาล

เอกภาพ 8 พรรคร่วมฯ กับการโหวตนายกฯ ก้าวสำคัญสู่การจัดตั้งรัฐบาล

ผ่านพ้นไปแล้วสำหรับการเลือกประธานสภาฯ และรองประธานสภาฯ หลังก่อนหน้าที่จะถึงวันเลือกประธานสภาฯ ทั้งสองพรรคใหญ่อย่าง พรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทย ยังมีปัญหาที่ร่วมหารือกันไม่ลงตัว สุดท้ายก่อนวันโหวตก็ได้สรุปชื่อคนกลาง คือ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’ นั่งเก้าอี้ประธานสภา

โดยมีชื่อ ‘ปดิพัทธ์ สันติภาดา’ ส.ส. พิษณุโลก พรรคก้าวไกล เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 1 และ ‘พิเชษฐ์ เชื้อเมืองพาน’ ส.ส. เชียงราย พรรคเพื่อไทย เป็นรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 และก็ไม่พลิกโผแต่อย่างใด ซึ่งในวันโหวตก็เป็นไปตามคาดที่ทางพรรคร่วมฯ ได้วางเอาไว้

อีกหนึ่งจุดที่น่าสนใจคือการโหวตตำแหน่งรองประธานสภาฯ คนที่ 1 ที่ทางพรรครวมไทยสร้างชาติได้เสนอชื่อ ‘วิทยา แก้วภราดัย’ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรครวมไทยสร้างชาติ เป็นผู้ท้าชิงรองประธานสภาฯ คนที่ 1 ร่วมกับ ‘ปดิพัทธ์ สันติภาดา’

ซึ่งสุดท้ายผลโหวตเป็นของ ‘ปดิพัทธ์ สันติภาดา’ ด้วยคะแนนเสียง 312 คะแนน ซึ่งถือว่าเป็นตัวเลขคะแนนเสียงทั้งหมดของ 8 พรรคร่วมรัฐบาล โดยเป็นสิ่งสำคัญและสะท้อนถึงความร่วมมือของทาง 8 พรรคร่วมฯ ได้เป็นอย่างดี

โดยทางพรรคก้าวไกลมองว่า ถึงแม้จะมีความพยายามจากกลุ่มพรรคการเมืองเสียงข้างน้อยในการเสนอชื่อรองประธานสภาคนที่ 1 ขึ้นมาแข่ง แต่พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้แสดงให้เห็นถึงความมีเอกภาพในการทำงานร่วมกัน

โหวตนายกฯ ด่านต่อไปของ ‘ก้าวไกล’

แม้ความเป็นเอกภาคของ 8 พรรคร่วมฯ ในการโหวตรองประธานสภาฯ คนที่ 1 จะออกมาในทิศทางที่ดี แต่การโหวตนายกฯ นั้น ย่อมมีตัวแปรสำคัญ คือ เสียงจาก ส.ว. ที่จนถึงเวลายังไม่มีตัวเลขที่ไม่แน่ชัดว่าจะโหวตสนับสนุนให้นายพิธา เป็นนายกฯ หรือไม่

ซึ่งอย่าลืมว่า ส.ว. ส่วนใหญ่นั้น มาจากการแต่งตั้งของกลุ่มอำนาจเก่าอย่าง คสช. ที่เมื่อครั้งการเลือกตั้งปี 2562 ในการโหวตนายกฯ ก็ได้แสดงพลัง ส.ว. แบบถล่มทลาย ให้ ‘บิ๊กตู่’ เป็นนายกฯอีกสมัย

เราปฏิเสธไม่ได้เลยถึงกระแสนิยมของพรรคก้าวไกลที่ส่งผลต่อการเลือกตั้งที่ผ่านมา จนสามารถคว้าชัยพรรคอันดับ 1 มาได้ หลาย ๆ ปัจจัยจึงทำให้ ส.ว. บางส่วนเริ่มแสดงออกว่าจะสนับสนุนนายพิธา แต่บางส่วนก็ฟันธงว่าจะไม่เลือก

โดยเสียงจาก 8 พรรคร่วมทั้งหมดมีอยู่ 312 เสียง ซึ่งต้องการเสียง ส.ว. อีก 64 เสียง นายพิธา ถึงสามารถเป็นนายกฯรัฐมนตรีได้ ซึ่งย่อมออกมาได้หลายหน้า ทั้งผ่านแบบฉลุย หรือ ไม่ผ่านจนต้องมีการโหวตในครั้งต่อ ๆ ไปอีก ก็ต้องเป็นสิ่งที่ต้องจับต้องมอง เพราะมีแว่ว ๆ มาจากทางฝั่งขั้วอำนาจเก่าว่าอาจมีการส่งชื่อลงท้าชิงตำแหน่งนายกฯ ก็เป็นได้

มองมุม ส.ว. กับการโหวตนายกฯ

นายกิตติศักดิ์ รัตนวราหะ สมาชิกวุฒิสภา ออกมาระบุว่า ถึงแม้ที่ประชุมสภาฯ จะมีมติให้ ‘วันมูหะมัดนอร์ มะทา’นั่งตำแหน่งประธานสภาฯ แต่ส่วนตัวแล้วมองว่าไม่มีผลที่จะจูงใจให้สมาชิกวุฒิสภาเปลี่ยนแปลงในการลงมติได้

โดยเชื่อว่า ในวันลงมติจะมีพรรคการเมืองอื่น เสนอชื่อแข่งมากกว่า 1 พรรค แต่ก็ยังไม่ชัดเจนว่า จะเป็นบุคคลใดที่จะถูกเสนอชื่อแข่ง และมั่นใจได้ว่า จะมีมากกว่า 1 คน 1 พรรคแน่นอน

พร้อมมองว่า หากนายพิธา ไม่ได้รับการสนับสนุน พรรคเพื่อไทย หรือพรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลอื่น ๆ ก็คงตัดสินใจถึงการดำเนินการต่อไปได้แล้ว และเชื่อว่า พรรคร่วมจัดตั้งรัฐบาลทั้งหมด ได้มีการเตรียมการไว้แล้วว่า หากนายพิธา ไม่ได้รับความเห็นชอบจากรัฐสภา แล้วจะดำเนินการอย่างไรต่อไป

13 ก.ค. นี้ โหวตนายกฯ

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ในฐานะผู้ที่สภาฯเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎร การประชุมรัฐภา เพื่อเลือกนายกรัฐมนตรี โดยได้หารือกับนายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานวุฒิสภา ในฐานะรองประธานรัฐสภา เบื้องต้นจะกำหนดการประชุมรัฐสภา วันที่ 13 กรกฎาคม เวลา 09.30 น.ส่วนขั้นตอนการโหวตนายกรัฐมนตรี ที่มีแนวโน้มว่า ชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อและแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกล จะไม่ได้รับเสียงสนับสนุนตามเกณฑ์

การโหวตนายกฯ อาจจะผ่าน และครบ 376 เสียง ในครั้งเดียวก็เป็นได้ แต่หากไม่ครบ ต้องรอดูว่าจะมีพิจารณาการประชุมในรอบต่อไป และคะแนนที่ได้นั้นมีจำนวนเท่าใดจะครบเกณฑ์ คือ 376 เสียง รวมถึงฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะขอเวลาในการประชุมอีกกี่ครั้ง

ทั้งนี้รัฐสภาต้องประชุมให้ได้นายกรัฐมนตรี ซึ่งไม่ใช่นายพิธาคนเดียว ซึ่งนายพิธาอาจจะได้ ก็ได้ไป ตามกติกา หากไม่ได้ต้องหาจนได้ เพราะรัฐสภามีหน้าที่เลือกนายกฯ ตามรัฐธรรมนูญ เพื่อไปบริหารประเทศ ซึ่งจะประเทศจะขาดนายกฯไปบริหารประเทศไม่ได้

กรณีเสนอแคนดิเดตคนเดิมได้หรือไม่?

วันมูหะมัดนอร์ มะทา ระบุว่า รัฐธรรมนูญไม่ได้กำหนดว่าเป็นคนเดิมหรือคนใหม่ แต่ต้องเป็นคนที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รับรอง และมีชื่ออยู่ในบัญชีของพรรคการเมือง หากรายชื่อทั้งหมดไม่ผ่านเป็นไปตามรัฐธรรมนูญ โดยรัฐสภาจะให้เสนอคนนอกได้ แต่รัฐสภาต้องมีเสียงมากกว่า 2 ใน 3

นอกจากนี้ ตนคิดว่า ไม่สามารถก้าวล่วงล่วงหน้าได้ สิ่งสำคัญต้องมีนายกฯ ที่บริหารประเทศต่อไปได้ อย่างไรก็ดีในการกำหนดวันประชุมเพื่อเลือกนายกฯ หากครั้งแรกไม่ได้คะแนนตามเกณฑ์นั้น ต้องดูความเหมาะสมอีกครั้ง พร้อมกับฟังเสียงจากฝ่ายที่เกี่ยวข้อง

โดยประธานไม่มีหน้าที่ที่จะกำหนด เนื่องจากต้องดูความเหมาะสมและความพร้อม โดยเฉพาะการเข้าร่วมประชุมของสมาชิก เเพราะหากสมาชิกไม่สามารถเข้าร่วมประชุมได้ ก็จะมีปัญหาองค์ประชุม


ข่าวที่เกี่ยวข้อง