คัดลอก URL แล้ว
‘แผงโซลาร์เซลล์’ ดีจริงหรือไม่ ในยุคค่าไฟแพง

‘แผงโซลาร์เซลล์’ ดีจริงหรือไม่ ในยุคค่าไฟแพง

KEY :

ช่วงนี้หลายคนบ่นกันระนาวสำหรับเรื่อง ‘ค่าไฟฟ้า’ ที่เพิ่มสูงขึ้นจนน่าตกใจ ปัจจัยในการใช้ไฟฟ้าที่เพิ่มมาขึ้นอันเนื่องมาจากในช่วงสภาพอากาศร้อนระอุเช่นนี้ ซึ่งตัวช่วยในการคลายร้อนคงหนีไม่พ้น ‘แอร์’ หรือเครื่องปรับอากาศต่าง ๆ รวมถึงเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้กำลังวัตสูง ๆ หรือ บ้างบ้านใช้ไฟเท่าเดิมแต่ค่าไฟกลับเพิ่มสูงขึ้นอย่างที่ไม่เคยเจอมาก่อน

ซึ่งค่าไฟที่เพิ่มสูงขึ้นอันเนื่องมาจากคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.)ได้มีการพิจารณาการคำนวณค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Ft) โดยเรียกเก็บประจำงวดเดือน มกราคม – เมษายน 2566 ส่งผลทำให้ค่าไฟจะสูงขึ้น 5.37-6.03 บาท/หน่วย โดยให้เหตุผลมาจากต้นทุนในการผลิตเพิ่มสูงขึ้น

โดยมาจากค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิง (ราคาก๊าซธรรมชาติ) ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ซึ่งก๊าซธรรมชาติเป็นต้นทุนหลักในการผลิตไฟฟ้าภายในประเทศกว่า 60 % รวมถึงค่าซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชน ค่าซื้อไฟฟ้าจากต่างประเทศ และค่าใช้จ่ายตามนโยบายของรัฐ

การปรับสูตร Ft เนื่องมาจากสถานการณ์ราคาพลังงานที่ยังคงสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง และความไม่แน่นอนของระบบเศรษฐกิจทั่วโลกจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของ โควิด-19 กกพ. จึงได้พิจารณาการคำนวณค่า Ft เพิ่มเติม

ค่าไฟที่แพงขึ้นทำให้หลายคน เริ่มหันไปใช้ ‘โซลาร์เซลล์’ และหันมาศึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้มากยิ่งขึ้น แต่ด้วยราคาที่ค่อนข้างสูงทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่าการใช้โซลาร์เซลล์จะตอบโจทย์ในช่วงที่ค่าไฟแพงเช่นนี้ได้หรือไม่

‘โซลาร์เซลล์’ คืออะไร

โซลาร์เซลล์ หรือ เซลล์แสงอาทิตย์ (Solar Cell) หรือ เซลล์โฟโตวอลเทอิก เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานแสงอาทิตย์ให้มาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยเมื่อแสงซึ่งเป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าและมีพลงังานกระทบกับสารกึ่งตัวนำ จะเกิดการถ่ายทอดพลงังานระหว่างกัน พลังงานจากแสงจะทำให้เกิดการเคลื่อนที่ของกระแสไฟฟ้า (อิเลคตรอน)ขึ้นในสารกึ่งตัวนำ จึงสามารถต่อกระแสไฟฟ้าไปใช้งานได้ทันที หรือสามารถนำกระแสไฟดังกล่าวเก็บไว้ในแบตเตอรี่ก็ได้เช่นกัน

โดยหากนำกระแสไฟดังกล่าวมาใช้กับเครื่องใช้ไฟฟ้าในครัวเรือน จะต้องมีตัวเครื่องแปลงกระแสไฟฟ้า (Inverter) เพื่อทำให้กระแสไฟฟ้ากระแสตรง (DC) กลายเป็นกระแสสลับ (AC) ก่อนที่จะส่งต่อไปสู่มิเตอร์วัดกระแสไฟฟ้าและหม้อแปลงไฟฟ้า เพื่อเพิ่มแรงดันและส่งเป็นพลังงานไฟฟ้าเพื่อใช้งาน

ซึ่งตัวโซลาร์เซลล์นั้นก็มีหลายชนิด ขึ้นอยู่กับการใช้งานแต่ละประเภท ไม่ว่าจะเป็น เพื่อการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรม ครัวเรือน โดยที่นิยมใช้ในครัวเรือนจะเป็น โมโนคริสตัลไลน์ และ โพลีคริสตัลไลน์ โดยจะติดตั้งบนหลังคาบ้าน หรือ ทำเป็นหลังคาโรงจอดรถก็ได้เช่นกัน

‘โซลาร์เซลล์’ ในประเทศไทย

ประเทศไทย เริ่มมีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2553 มียอดติดตั้งรวม 100.39 MW แจกจ่ายไฟฟ้า(เฉพาะเชื่อมกับสายส่งของ กฟผ แล้ว) ทั้งปี 2553 รวม 21.6 GWh หรือ 0.0134% ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 161,350 GWh โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผลิตไฟฟ้าได้ 2.2 GWh ผู้ผลิตรายย่อย 19.4 GWh

ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน 15 ปีนับจากปี 2552 กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนไว้ที่ 20.3% ของพลังงานทั้งหมด โดยมีสัดส่วนของพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ที่ 6% ดังนั้น ตามแผนงาน ในปี 2565 ประเทศไทยต้องมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มีกำลังการผลิตรวม 500 MW ตัวเลขในปี 2554 อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้ง 265 MW และอยู่ระหว่างการพิจารณาจาก กฟผ อีก 336 MW

โรงไฟฟ้าที่สร้างที่จังหวัดลพบุรีด้วยเทคโนโลยี amorphous thin film ต้องใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 540,000 ชุด มีกำลังการผลิต 73 MW จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบโฟโตโวลตาอิคส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

ติดตั้ง ‘แผงโซลาร์เซลล์’ ต้องขออนุญาตหรือไม่?

การติดตั้งโซลาร์เซลล์นั้นมีทั้งแบบต้องขออนุญาต และ ไม่ต้องขออนุญาต ซึ่งแบบไม่ต้องขออนุญาต คือ โซลาร์เซลล์ แบบระบบออฟกริด (Off Grid) หรือ แบบอิสระ (Stand Alone) ที่ใช้แบตเตอรี่ในการกักเก็บกระแสไฟ โดยไม่ได้เป็นใช้คู่ขนานการไฟบ้าน หรือ ใช้ร่วมกับทางการไฟฟ้า

โดยแบบต้องขออนุญาต คือ ระบบออนกริด (On Grid) และระบบไฮบริด (Hybrid) ซึ่งเป็นระบบโซลาร์เซลล์ที่ทำงานคู่ขนานกับการไฟฟ้า จึงจำเป็นต้องการมีขออนุญาตติดตั้งกับหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง ทั้ง องค์การปกครองส่วนท้องถิ่น คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) และการไฟฟ้านครหลวง (เขตกรุงเทพมหานคร) หรือการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (นอกเขตกรุงเทพมหานคร) ซึ่งระบบและอุปกรณ์ควบคุมต่าง ๆ ต้องอยู่ในรายชื่อที่การไฟฟ้ากำหนด

ซึ่งหากเป็นระบบที่ต้องขออนุญาต และไม่ทำการแจ้งขอติดตั้งโซลาร์เซลล์ กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อมีการตรวจสอบจากทางการไฟฟ้าจะถูกแจ้งให้ถอดโซลาร์เซลล์ และเสียค่าปรับพร้อมดอกเบี้ยด้วยเช่นกัน

ข้อดี-ข้อเสีย ‘แผงโซลาร์เซลล์’

กระแสการใช้โซลาร์เซลล์ในบ้านเราเริ่มได้รับความนิยมมากขึ้น โดยเฉพาะในช่วงค่าไฟแพงเช่นนี้ นอกจากจะช่วยลดค่าไฟได้เป็นอย่างดี จนนิยมนำไปใช้ตั้งตั้งแต่ภาคการเกษตร อุตสาหกรรม ครัวเรือน ต่าง ๆ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นโซลาร์เซลล์ก็ยังมีข้อดีและข้อเสียเช่นกัน ดังนี้

ข้อดี

ข้อเสีย


ข่าวที่เกี่ยวข้อง