คัดลอก URL แล้ว
ย้อนรอยเหตุ โรงแปรรูปโลหะในสเปน หลอมซีเซียม-137

ย้อนรอยเหตุ โรงแปรรูปโลหะในสเปน หลอมซีเซียม-137

จากกรณีที่ซีเซียม-137 หายไปจากโรงไฟฟ้าพลังไอน้ำในจังหวัดปราจีนก่อนที่จะไปพบอยู่ที่โรงงานหลอมเหล็กแห่งหนึ่ง และมีการนำเข้าโรงหลอมไปแล้วนั้น สถานการณ์ที่เกิดขึ้นนี้ คล้ายคลึงกับกรณีที่เคยเกิดขึ้นในประเทศสเปน

โดยเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเมื่อปี พ.ค. ปี 1998 เมื่อพบว่า ซีเซียม-137 ได้หลุดการตรวจสอบในโรงงานหลอมเหล็ก Acerinox ซึ่งตั้งอยู่ที่เมือง Los Barrios ประเทศสเปน ภายหลังจากที่ทางโรงงานได้หลอมละลายเศษโลหะกัมมันตรังสี ซีเซียม-137 ที่ไม่ทราบที่มา

เมื่อซีเซียม-137 และเหล็กถูกหลอม ทำให้ฝุ่นกัมมันตรังสีฟุ้งกระจายออกมา ซึ่งในครั้งนั้นระบบของโรงงานไม่สามารถตรวจเจอได้ และถูกตรวจพบ ฝุ่นกัมมันตรังสีในชั้นบรรยากาศถูกตรวจพบฝรั่งเศส, อิตาลี, สวิตเซอร์แลนด์, เยอรมนี และออสเตรีย ซึ่งถูกตรวจพบในปริมาณสูงกว่าปรกติ 1,000 เท่า* แต่ก็ยังคงอยู่ในเกณฑ์ของมาตรฐานความปลอดภัย

* สูงกว่าค่าปรกติที่พบการแผ่รังสีที่พบในชีวิตประจำวัน

ภาพการฟุ้งกระจายของฝุ่นกัมมันตภาพรังสี จากโรงงานแปรรูปโลหะในสเปน เมื่อปี 1998

ผลการตรวจพบในครั้งแรกโดยหน่วยงานของรัฐบาลสวิส และมีการตรวจพบเพิ่มเติมที่คล้ายคลึงกันในประเทศ ฝรั่งเศส อิตาลี ไม่สามารถยืนยันแหล่งที่มาของสาเหตุที่พบ ฝุ่นกัมมันตรังสีได้ว่า มาจากที่ใดกันแต่จนกระทั่งมีการตรวจเช็คเพิ่มเติม

ภายหลังมีการตรวจสอบเพิ่มเติม เชื่อมโยงกับเหตุการณ์ที่มีการรายงานจากโรงงานเหล็กทางตอนใต้ของสเปน ซึ่งทางคณะกรรมการความปลอดภัยนิวเคลียร์ของสเปนจัดอันดับเหตุการณ์เป็นระดับ 2 จาก 7 ระดับตามเกณฑ์ระดับเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์และรังสี [ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับระดับเหตุการณ์ INES]

อุบัติเหตุที่เกิดขึ้น ทำให้โรงงานแปรรูปและหลอมเหล็ก Acerinox มีการปนเปื้อน รวมถึงโรงงานเหล็กอีก 2 แห่งที่รับเอาของเสียจากโรงงานแห่งนี้ไป ซึ่งขี้เถ้าที่เกิดขึ้นจากโรงงาน Acerinox พบว่า มีกัมมันตรังสีอยู่ในระหว่าง 640 ถึง 1420 เบ็กเคอเรล/กรัม (จากค่ามาตรฐานที่ 10 เบ็กเคอเรล/กรัม) ซึ่งสูงมากพอที่จะส่งผลกระทบที่เป็นอันตรายต่อประชาชน

รัฐบาลประเทศสเปนจึงได้มีการประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินบริเวณโดยรอบโรงงานที่พบกัมมันตรังสี และทำการตรวจสอบเพิ่มเติมพบว่า มีคนงาน 6 คนในโรงงานที่ได้รับผลกระทบจากการปนเปื้อนของซีเซียม-137 ในปริมาณเล็กน้อย

ซึ่งได้มีการสั่งให้ทำความสะอาดโรงงานที่ปนเปื้อน และทำให้เกิดขยะปนเปื้อนอีกจำนวนมาก เช่น น้ำที่ใช้ในการล้างทำความสะอาดพื้นที่ราว 40 ลูกบาศก์เมตร, เศษฝุ่นที่ปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีราว 2 พันตัน รวมถึงอุปกรณ์และวัสดุที่ปนเปื้อนอีกราว 150 ตัน คิดเป็นมูลค่าความเสียหายและการสูญเสียการผลิตราว 26 ล้านดอลลาร์

ปัญหาที่เกิดขึ้นในสเปน

สิ่งที่เกิดขึ้นในเหตุการณ์ของโรงงาน Acerinox นั้น ทางโรงงานได้แจ้งต่อสภาความมั่นคงทางนิวเคลียร์ของสเปนว่าก๊าซกัมมันตภาพรังสีได้หลบหนีจากเตาหลอมแห่งหนึ่ง ในวันที่ 9 มิ.ย. 1998

และหน่วยงานท้องถิ่นได้มีการแจ้งต่อประชาชนในวันที่ 12 มิ.ย. 1998 ซึ่งเป็นเวลา 3 วันหลังจากทราบเรื่องที่เกิดขึ้นแล้ว ทำให้เกิดความไม่พอใจต่อความล่าช้าที่เกิดขึ้นในครั้งนั้น

ในขณะที่ผลการตรวจพบซีเซียม-137 สูงขึ้นในชั้นบรรยากาศตั้งแต่วันที่ 25 พ.ค. 1998 ทำให้หลายฝ่ายคาดการณ์กันว่า เตาหลอมเหล็กยังคงดำเนินการตามปรกติต่อเนื่องอีกหลายวัน ก่อนที่จะมีการตรวจพบ และแจ้งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

เกณฑ์ระดับเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์และรังสี (INES)

โดยระดับของเหตุการณ์ทางนิวเคลียร์และรังสีที่ทาง IAEA ได้กำหนดขึ้นมา จะมีทั้งหมด 7 ระดับประกอบไปด้วย

เกณฑ์ระดับความรุนแรงของเหตุการณ์นิวเคลียร์ระดับนานาชาติ หรือ INES
(ภาพ – IAEA)

ซึ่งเกณฑ์การจำแนกประเภท INES ของ IAEA นั้นจะประเมินจากผลกระทบที่เกิดขึ้นใน 3 ส่วนด้วยกันคือ


ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง