ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ได้รายงานสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันนี้ โดย
- พบผู้ป่วยในรพ.เพิ่ม 319 ราย รวมสะสม 4,678,671 ราย
(เป็นผู้ป่วยในประเทศทั้งหมด) - หายป่วยเพิ่ม 1,145 ราย รวมหายแล้ว 4,639,085 ราย
- เสียชีวิตเพิ่ม 8 ราย รวมเสียชีวิตแล้ว 32,726 ราย
- ผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัวในระบบบริการ 6,860 ราย
- ผู้ป่วยปอดอักเสบที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 495 ราย
แนวโน้มโควิด-19 ในประเทศไทย
- สถานการณ์ในภาพรวมมีทิศทางที่ดีขึ้น
- ยอดผู้ป่วยรายใหม่มีจำนวนค่อย ๆ ลดลง เช่นเดียวกับยอดผู้ป่วยอาการหนักและผู้เสียชีวิต
อย่างไรก็ตาม จำนวนผู้เสียชีวิต มีจำนวนมากที่เป็นผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 เลย หรือได้รับไม่ครบถ้วน ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงต่อการป่วยหนัก หรือเสียชีวิตได้มากกว่าผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
นอกจากนี้ แม้ว่า อัตราการเสียชีวิตในกลุ่มอื่น ๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มผู้สูงอายุ หรือผู้มีโรคเสี่ยง จะมีอัตราการป่วยหนักหรือเสียชีวิตต่ำกว่า แต่ยังคงแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัยและป้องกันตนเอง เนื่องจากพบว่า หลายกรณีเป็นผู้ที่อยู่ในวัยทำงานเป็นผู้รับเชื้อและนำเชื้อไประบาดต่อให้กับผู้สูงอายุ ที่อาศัยอยู่รวมบ้าน หรืออยู่ใกล้ชิด และนำไปสู่การป่วยหนักได้
รวมถึงการติดเชื้อซ้ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Long Covid ได้มากขึ้นอีกด้วย ซึ่งผลกระทบนั้น ในขณะนี้พบว่า มีผลยาวนานกว่าโควิด-19 ในบางรายต้องเผชิญกับภาวะ Long Covid กว่า 40 สัปดาห์
…
สถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศ
- แนวโน้มทั่วโลกยังคงเป็นทิศทางขาลงอย่างต่อเนื่อง ทั้งจำนวนผู้ป่วยรายใหม่ และผู้เสียชีวิต
- นักเคลื่อนไหวในจีน เรียกร้องให้ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคระบาดในประเทศจีนพูดถึงข้อมูลต่าง ๆ ให้ชัดเจนเพื่อให้ทางการจีนทบทวนนโยบายควบคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดในช่วงที่ผ่านมาก ว่ามีข้อดี – ข้อเสียอย่างไร และผลกระทบคืออะไร
- เนื่องจากที่ผ่านมา จีนยังคงมีการประกาศล็อกดาวน์ และการควบคุมโควิด-19 อย่างเข้มงวด
- รัสเซียรายงานยอดผู้ป่วยเพิ่ม 46,758 ราย ซึ่งแนวโน้มในขณะนี้กำลังอยู่ในจุดสูงสุดของการระบาด และคาดว่า กำลังจะค่อย ๆ ลดลง โดยมีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่ม 95 ราย
- ญี่ปุ่นยอดผู้ป่วยรายใหม่ 46,788 ราย และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 49 ราย โดยในภาพรวมนั้นยังคงเป็นไปในทิศทางขาลงต่อเนื่อง
- เกาหลีใต้ มีผู้ป่วยรายใหม่ 14,168 ราย ต่ำที่สุดในรอบ 2 เดือน และมีผู้เสียชีวิตเพิ่ม 33 ราย
- โดยทั้งเกาหลีใต้และญี่ปุ่น มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง อย่างไรก็ตาม ทั้งสองประเทศกำลังจับตาการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเตรียมพร้อมรับมือหากเกิด Twindemic ขึ้น