คัดลอก URL แล้ว
หมอธีระวัฒน์เตือน ฉีดวัคซีนเชื้อตายต้องนับเป็นศูนย์ เร่งฉีดวัคซีนเชื้อเป็นลดความรุนแรงโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย

หมอธีระวัฒน์เตือน ฉีดวัคซีนเชื้อตายต้องนับเป็นศูนย์ เร่งฉีดวัคซีนเชื้อเป็นลดความรุนแรงโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย

ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความเรื่อง ประสบการณ์หมอเองกับโอมิครอน BA.4 / BA.5 เตือนอย่าชะล่าใจฉีดวัคซีนกี่เข็มก็ติดได้ เตือนถ้าฉีดวัคซีนเชื้อตายต้องนับเป็นศูนย์เร่งฉีดวัคซีนเชื้อเป็นลดความรุนแรง รายละเอียดโพสต์ดังนี้

(วันนี้ 2/7/65 โอไมครอน B4/5 ชัดเจนแล้ว ติดในชุมชน ติดเข้า ใน รพ และเริ่ม ชัดมากขึ้น ความรุนแรงมากขึ้น แม้ฉีดวัคซีนไปกลายเข็มก็ตาม หน้ากาก ล้างมือ ระยะห่าง)

วันที่ 30 พฤษภาคม คณะผู้วิจัยจากออสเตรเลียจารนัยความแยบยลของโอไมครอนในวารสารเนเจอร์ และในบทสัมภาษณ์จบด้วยประโยคว่าถ้าจะมีวาเรียนท์ไหน ที่จะได้รับสมญาว่าเป็น สายพันธ์ (strain) ก็คือโอไมครอนนี่แหละ

If any variant is worthy of calling a new strain, Omicron and sub-lineages thereof are.

14 มิย คณะผู้วิจัยจากอิมพิเรียลคอลเลจ รายงานในวารสาร Science พิสูจน์ว่า การฉีดวัคซีนสามเข็มโดยที่มีหรือไม่มีติดเชื้อโควิดที่ผ่านมา เมื่อเจอกับโอไมครอน การตอบสนองทั้ง ที และ บี เชลล์ ไม่เป็นไปตามอย่างที่หวังว่าจะเป็นการกระตุ้นที่ดีขึ้น แต่กลับได้ผลต่ำ และอธิบายการติดซ้ำใหม่ได้

เช่นเดียวกับรายงานในวารสาร

นิวอิงแลนด์ วันที่ 22/6/65 ถึง BA 4/5

และแล้ว หมอเองติดไปแล้วตั้งแต่ 10 มิถุนายน และเช่นเดียวกับอีกหลายคน ตั้งแต่ค้นเดือนมิถุนายน แม้ว่าหลายคนจะฉีดเข็มที่สี่หรือห้าไปแล้ว

พิสูจน์ว่า วัคซีนกันการการติดโอไมครอนไม่ดี โดยเฉพาะสายย่อยนี้

แต่อานิสงส์ของการฉีดวัคซีน

”สามเข็มโดยเข็มสุดท้ายเป็น mRNA” จะลดความเสี่ยงอาการหนักได้ แต่ถ้าอาการมากขึ้นอย่านิ่งนอนใจ

ถ้าฉีดเชื้อตายให้เริ่มนับใหม่ ถ้าฉีด AZ ต้องตามด้วย mRNA

และถ้าจะให้หลีกเลี่ยงผลข้างเคียงของวัคซีนให้ได้มากที่สุดควรต้องฉีด”ชั้นผิวหนัง”

สรุป บทเรียนเดือน มิย นี้จากตัวเอง และรอบข้าง

1- อย่าเชื่อ ATK ถ้ายังขีดเดียวและมีอาการไม่สบายให้รีบแยกตัว เริ่มฟ้าทะลายโจร อย่ากินตามฉลาก ให้เทียบว่ายี่ห้อนั้นมี แอนโดรกราโฟไลท์ เท่าไหร่ ให้ทาน = 60 มก เช้า กลางวัน เย็น ห้าวัน

ในเด็กทาน 10 มก เช้า กลางวันเย็น ห้าวันเช่นกัน

2- ฟาวิพิราเวียตามที่คณะของเราได้เคยรายงานไปแล้วว่าเริ่มดื้อมานานพอควรแล้ว

ทั้งนี้ แม้ว่ารักษาทันที ตั้งแต่วันแรก ใช้ยาถูกขนาด แต่รหัสพันธุกรรมตั้งแต่สมัยเดลต้าแล้วผันแปรไปจากเดิมเยอะมากและเมื่อรักษาไปครบห้าวันกลับไม่ได้ผล

อาการปอดบวมมากขึ้นโดยมีรหัสพันธุกรรมเปลี่ยนแปลงไปอีกมากและต้องทำการเปลี่ยนยา

3- ห้ามชะล่าใจเด็ดขาดเมื่อไม่สบาย และคิดว่าอาการไม่หนักทั้งนี้คงจำกันได้ โควิดทำให้ออกซิเจนต่ำโดยไม่รู้ตัว (happy hypoxemia)

หมอเอง ต้องเดิน 6 นาทีความอิ่มตัวของออกซิเจนเริ่ม <96% และเหนื่อยล้ามาก จนต้องเข้าโรงพยาบาลเพื่อรักษา ด้วยยาฉีด

ยา เพราะชะล่าใจว่าไม่น่าตึด และทำงานได้มีแต่ fatique บ้าง จนอาการยกระดับขึ้นมากมาย

4- ติดสายย่อยทันสมัยนี้ไปแล้วอย่าทะนงตัวว่า มีภูมิคุ้มกันทั้งสองแบบ คือจากวัคซีนที่เคยฉีดแล้วมีติดเชื้อตามธรรมชาติ

เพราะโอไมครอนสายย่อยนี้วัคซีนที่เคยฉีด รวมทั้งที่เคยติดโควิดมาก่อน เมื่อเจอกับโอไมครอนสายทันสมัยนี้ ภูมิคุ้มกันจะไปต่อสู้กับสายเดิมตั้งแต่อู่ฮั่น อังกฤษ เดลต้า ภูมิต่อโอไมครอน ขึ้นน้อยมาก จนถูกขนานนามว่า สามารถ ทำให้เกิด hybrid immune damp คือภูมิเดี้ยงไป

5- อาจสบายใจได้ประมาณสองถึงสามเดือนและเตรียมตัวติดใหม่ได้

6- รายงานจากต่างประเทศจะว่าลองโควิดจากโอไมครอนน่าจะน้อยกว่าโควิดก่อนหน้า แต่เป็นโอไมครอนสมัยแรก และสายย่อยใหม่นี้ ถ้าติดซ้ำซ้อนหลายครั้งจะเกิดอะไรขึ้น กับ ลองโควิด

สรุปว่าถ้าไม่ติดได้จะเป็นดี หรือถ้า “ซวย” ติดไปแล้ว รักษาเร็วที่สุดให้หายเร็วที่สุดเพื่อกันลองโควิด

#Covid #โควิด #ข่าวโมโน #หมอธีระวัฒน์


ข่าวที่เกี่ยวข้อง