คัดลอก URL แล้ว
ปวดหัว แบบไหนต้องรีบไปหาหมอ? เช็คอาการก่อนกลายเป็นเรื่องใหญ่

ปวดหัว แบบไหนต้องรีบไปหาหมอ? เช็คอาการก่อนกลายเป็นเรื่องใหญ่

นอนไม่ค่อยหลับ สายตาสั้นหรือยาวผิดปกติ รับประทานยาบางชนิดเป็นประจำ หรือ มีอาการปวดหัวเรื้อรัง หากมีพฤติกรรมดังกล่าวอย่านิ่งนอนใจ เพราะอาจจะกลายเป็นเรื่องใหญ่

อย่านิ่งนอนใจ อาการปวดหัว อาการป่วยที่เกิดได้บ่อยที่สุด

อาการปวดศีรษะ หรือ ปวดหัว เป็นอาการป่วยที่เกิดได้บ่อยที่สุด นับเป็นโรคยอดฮิตของทุกเพศทุกวัย ในขณะเดียวกันก็สร้างความทุกข์ทรมานให้ผู้ที่เป็นได้มากเช่นกัน อาการปวดหัวเกิดได้จากหลายปัจจัย ทั้งปัจจัยภายในสมอง ปัจจัยภายนอก อาการปวดแต่ละส่วนสามารถแยกออกเป็นโรคได้อีกหลายชนิด เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการดูแลสุขภาพ เราจึงควรรู้เกี่ยวกับลักษณะอาการปวดหัวที่พบได้บ่อย เพื่อเป็นแนวทางในการดูแลตนเองให้ห่างไกลจากอาการปวดหัว และ ไม่ปล่อยให้ตัวเองปวดหัวเรื้อรัง

กลุ่มที่ควรระวังมากเป็นพิเศษหากมีอาการปวดหัว ได้แก่

สาเหตุของอาการปวดหัว แบ่งได้เป็น 2 สาเหตุหลักๆ คือ

1.การปวดศีรษะที่มีสาเหตุจากในสมอง เช่น เนื้องอกในสมอง เลือดออกในสมอง ความดันสมองเพิ่มผิดปกติ ภาวะเยื่อหุ้มสมองอักเสบ เป็นต้น โดยสามารถตรวจได้จากการตรวจร่างกายทางสมอง ซักประวัติผู้ป่วย รายละเอียดของการปวดศีรษะ ลักษณะการปวดและความรุนแรง เมื่อพบข้อบ่งชี้ที่ชัดเจนอาจตรวจเพิ่มเติมด้วยการใช้คลื่นสนามแม่เหล็ก (MRI), การตรวจคอมพิวเตอร์สมอง (CT Scan) หรือการเจาะน้ำไขสันหลังเพื่อหาสาเหตุของโรคต่อไป

2.การปวดศีรษะแบบไม่พบสาเหตุชัดเจน

แนวทางการรักษา

กรณีปวดศีรษะ และตรวจพบพยาธิสภาพของโรคต่างๆ แพทย์จะดำเนินการรักษาโดยขึ้นอยู่กับว่าตรวจพบอะไร เช่น เนื้องอกในสมอง โรคหลอดเลือดโป่งพอง อาจจะต้องผ่าตัด เป็นต้น กรณีปวดศีรษะที่ไม่ก่ออันตราย หากตรวจไม่พบพยาธิสภาพ แพทย์จะรักษาตามลักษณะอาการ ซึ่งมีหลายวิธีได้แก่..

เมื่อมีอาการปวดหัวผิดปกติอย่านิ่งนอนใจ ควรไปพบแพทย์เพื่อตรวจหาสาเหตุอย่างละเอียด กับ โปรแกรมตรวจหาสาเหตุอาการปวดศีรษะ สามารถตรวจได้ครบเพื่อวิเคราะห์อาการอย่างแม่นยำ อาทิ ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด ตรวจการทำงานของไต ตรวจสมรรถภาพการทำงานของตับ ตรวจระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์ในเลือด ตรวจระดับไขมันในเลือด (ไขมันชนิดดี) ตรวจระดับไขมันในเลือด(ไขมันชนิดไม่ดี) การตรวจที่มีการบ่งบอกว่ามีการอักเสบ ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด

ที่มาจาก: ศูนย์สมองและระบบประสาท โรงพยาบาลพญาไท 2


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง