คัดลอก URL แล้ว
Sadness Paradox ฟังเพลงเศร้า แต่ไม่ได้เศร้าจริง

Sadness Paradox ฟังเพลงเศร้า แต่ไม่ได้เศร้าจริง

ใครเป็นแบบนี้บ้าง เศร้าทิพย์ คือชอบฟังเพลงเศร้าๆ แต่จริงๆ ไม่ได้รู้สึกเศร้าเลยสักนิด ในทางจิตวิทยาเค้าบอกว่าคืออาการ Sadness Paradox “ความเศร้าที่ย้อนแยง”

Sadness Paradox หรือ “ความเศร้าที่ย้อนแยง”

ในทางจิตวิทยาอาการ Sadness Paradox หรือ “ความเศร้าที่ย้อนแยง” คนที่ฟังเพลงเศร้าจะไม่ได้เศร้าไปกับความหมายหรือทำนองดนตรีของเพลง แต่กลับมีความรู้สึกเพลิดเพลินและสนุกไปกับการฟังเพลงเศร้า โดยส่วนมากแล้วผู้คนส่วนใหญ่จะเข้าใจว่าการฟังเพลงเศร้านั้นต้องมีความหมายในเชิงลบ คนที่โพสต์เพลงเศร้าๆ ลงบนโซเชียลนั้นอาจจะกำลังเศร้าอยู่

เพลงเศร้า ช่วยให้มีความสุนทรีย์ได้

ในทางจิตวิทยายังบอกอีกว่า เพลงเศร้านั้น ไม่ได้ดึงความรู้สึกเศร้าๆ เท่านั้น แต่ยังช่วยให้มีความสุนทรีย์ได้ เช่น ทำให้นึกถึงเรื่องในอดีต และทำให้เกิดความรู้สึกด้านบวกมากกว่าด้านลบด้วย

ฮอร์โมน โปรเเลคติน

เพราะฉะนั้นแล้วจะเห็นได้ว่า บางครั้งคนเราเลือกที่จะให้เพลงเศร้าหรือหนังเศร้า เป็นอีกช่องทางที่ทำให้รู้สึกเศร้า โดยที่ในชีวิตจริงไม่ได้มีเรื่องเศร้าอะไรเลย จึงทำให้รู้สึกลึกซึ้งกับเพลงหรือหนังเรื่องนั้นๆ ได้อย่างเต็มที่

หรือชีวิตจริงอาจจะมีความเศร้าจริง จัดการความรู้สึกตัวเองไม่ได้ เพลงเศร้าก็มีส่วนให้ช่วยจัดการความรู้สึกได้นะ บางคนจึงฟังเพลงเศร้าเพื่อช่วยให้ระบายอารมณ์ ปลดปล่อยความเศร้าออกมา

ทั้งนี้ร่างกายของคนเรามี ฮอร์โมนที่ชื่อว่า โปรเเลคติน (Prolactin) เมื่อได้ฟังเพลงเศร้าเเล้วสมองจะถูกกระตุ้นให้หลั่งฮอร์โมนตัวนี้ออกมา ทำให้เรารู้สึกสงบ ผ่อนคลายเมื่อได้ฟังเพลงเศร้านั่นเอง

ที่มา : daily.jstor.org


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง