คัดลอก URL แล้ว
“นอนไม่หลับ” ภัยเงียบเสี่ยง “ท้องยาก”

“นอนไม่หลับ” ภัยเงียบเสี่ยง “ท้องยาก”

อาการ “นอนไม่หลับ” ปัญหาสุขภาพที่ไม่ควรมองข้าม โดยมีสาเหตุหลักๆ มาจากหลากปัจจัย เช่น ปัจจัยทางด้านจิตใจที่มีความเครียดและความวิตกกังวล ปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อม เช่น มีเสียงรบกวนขณะนอนหลับ ห้องนอนสว่างเกินไป การออกกำลังกายหนักเกินไป

ปัจจัยทางด้านพฤติกรรมในการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น เล่นเกม ดูซี่รี่ย์จนดึก หรือดื่มเครื่องดื่มที่มีสารกระตุ้นคาเฟอีน ทานอาหารก่อนเข้านอน หรือออกกำลังกายก่อนเข้านอน รวมถึงภาวะวัยทองที่เกี่ยวกับฮอร์โมนต่างๆ ในร่างกายทำงานไม่สมดุล จึงทำให้เกิดอาการนอนไม่หลับ ตื่นกลางดึกบ่อยๆ แล้วนอนต่อได้ยาก ทำให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ เพราะหากนอนไม่หลับเป็นระยะเวลานานๆ ติดต่อกัน จะยิ่งทำให้สุขภาพแย่ลง เนื่องจากส่งผลกระทบต่อการหลั่งของฮอร์โมนที่สำคัญระหว่างการนอนหลับ และยังส่งผลต่อฮอร์โมนเพศอีกด้วย โดยในผู้ชายที่นอนน้อยจะส่งผลต่อการสร้างสเปิร์มลดลง และสำหรับผู้หญิงที่นอนน้อยจะทำให้ไข่ไม่ตก และประจำเดือนมาไม่ปกติ ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้มีบุตรยาก

ครูก้อย – นัชชา ลอยชูศักดิ์ ครูวิทยาศาสตร์ผู้ก่อตั้งเพจ BabyAndMom ให้ความรู้ผู้มีบุตรยาก และโค้ชเตรียมตั้งครรภ์สำหรับผู้มีบุตรยาก เปิดเผยว่า “การนอนไม่หลับ” หรือ “หลับไม่สนิท” ส่งผลให้ร่างกายพักผ่อนไม่เพียงพอ ซึ่งมีผลเสียกับร่างกายทำให้ระบบร่างกายทำงานติดขัด ระบบภูมิคุ้มมีประสิทธิภาพลดลง ร่างกายอักเสบได้ง่าย มีผลต่อการเจริญเติบโตและประสิทธิภาพในการซ่อมแซมเนื้อเยื่อส่วนที่สึกหรอได้ลดลง อันเนื่องมาจากประสิทธิภาพในการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดลง นอกจากนี้ยังส่งผลต่อการการหลั่ง “ฮอร์โมนเมลาโทนิน” ที่บทบาทสำคัญเป็นแอนตี้ออกซิแดนท์ชั้นดีต่อร่างกาย ในการป้องกันเซลล์ในร่างกายรวมถึงเซลล์สเปิร์มและเซลล์ไข่จากสารอนุมูลอิสระ ซึ่งสารเมลาโทนินนี้ถูกสร้างมากที่สุดในเวลากลางคืนขณะหลับลึก

โดยมีรายงานจากงานวิจัยเรื่อง Sleep, Circadian Rhythms, and Fertility ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Current Sleep Medicine Report เมื่อปี 2016 ศึกษาพบว่าผู้ชายและผู้หญิง มีสมองส่วนที่ควบคุมการหลั่งฮอร์โมน ทำให้นอนหลับหรือตื่น เช่น ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin Hormone) และคอร์ติซอล (cortisol) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ “ฮอร์โมนแห่งความเครียด” เป็นสมองส่วนเดียวกันกับการกระตุ้นการหลั่งฮอร์โมนเพศด้วย ดังนั้นฮอร์โมนที่ควบคุมการตกไข่ของผู้หญิงและฮอร์โมนที่ควบคุมการผลิตสเปิร์มของผู้ชายซึ่งสัมพันธ์กับคุณภาพของการนอนหลับ

เมื่อการหลั่งฮอร์โมนเมลาโนนินมีปัญหาจะส่งผลต่อการหลั่งของฮอร์โมนลูทิไนซิง (Luteinizing Hormone) หรือ ฮอร์โมน LH ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่จะมีการตกไข่ เพื่อรอการปฏิสนธิ LH เป็นฮอร์โมนหนึ่งที่จะหลั่งออกมาในช่วงที่มีการตกไข่ของรอบเดือนนั้นๆ หากฮอร์โมน LH ผิดปกติก็จะส่งผลต่อรอบเดือนที่ไม่ปกติ ส่งผลให้ไข่ไม่ตก หรือ ไข่ตกไม่สม่ำเสมอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการมีบุตรยากนั่นเอง และยังส่งผลต่อการผลิตสเปิร์มของผู้ชายอีกด้วย

สำหรับผู้ชายที่นอนน้อยหรือหลับไม่สนิท ทำให้การสร้างฮอร์โมนเพศชายหรือ Testosterone ลดลง ทำให้การสร้างสเปิร์มลดลง สเปิร์มมีรูปร่างผิดปกติ เคลื่อนที่ผิดปกติ และอาจมีโครโมโซมผิดปกติได้ เมื่อนอนน้อยกว่า 5 ชั่วโมงต่อวัน จะส่งผลให้หลับไม่สนิท ฮอร์โมนเมลาโทนิน (Melatonin Hormone) น้อยลง ระดับคอร์ติซอล (cortisol) มากขึ้น โกรทฮอร์โมน (Growth Hormone) ลดลง โดยผู้ชายที่นอนน้อยกว่า 6 ชม.หรือมากกว่า 9 ชม.ต่อวัน ส่งผลต่อโอกาสในการทำให้คู่ของตนเองตั้งครรภ์ลดลง 42% ในแต่ละรอบเดือน

นอกจากนี้ยังมีงานวิจัย Sleep Deprivation and Late Bedtime Impair Sperm Health Through Increasing Antisperm Antibody Production: A Prospective Study of 981 Healthy Men ที่ตีพิมพ์ในวารสาร medical science monitor 2017 ศึกษากับผู้ชายชาวจีนจำนวน 981 คน พบว่า จำนวนชั่วโมงในการนอนและการนอนดึกส่งผลต่อ คุณภาพของสเปิร์มทั้งในด้านจำนวน เปอร์เซ็นต์การเคลื่อนไหว และอัตราการมีชีวิตของสเปิร์ม

“ครูก้อย นัชชา” ได้ให้คำแนะนำสำหรับคู่สามีภรรยาที่วางแผนมีลูกและมีปัญหาการนอนไม่หลับ เพราะนอกจากส่งผลต่อฮอร์โมนสืบพันธุ์แล้ว ในอนาคตอาจจะสร้างความวิตกกังวล และลามไปสู่ภาวะซึมเศร้าได้ พร้อมแนะนำวิธีแก้ปัญหานอนไม่หลับ โดยการกำหนดเวลาเข้านอนชัดเจน ในช่วงแรกแนะนำให้ฝึกไปจนกว่าร่างกายจะปรับเวลานอนได้เอง หลีกเลี่ยงการทานอาหารก่อนเข้านอน หากิจกรรมทำผ่อนคลายก่อนนอน ทำสมาธิ สวดมนต์ หรือปรับสภาพแวดล้อมการนอนให้ดี ฝึกการนอนที่ถูกสุขลักษณะ เช่นไม่มีเสียงรบกวน ปิดโทรทัศน์ ปิดมือถือ ปิดไฟ สร้างบรรกาศการนอนที่ผ่อนคลาย การรับประทานอาหาร ผัก และผลไม้บางชนิดยังมีส่วนช่วยให้หลับง่ายขึ้น เช่น

1.ข้าวกล้อง ข้าวกล้องงอก ข้าวที่ไม่ขัดสี ซึ่งมีกรดแกมมาอะมิโนบิวทีริก (Gamma aminobutyric acid : GABA) โดย กาบา จะมีอยู่ในข้าวที่ไม่ขัดสี หรือ พวกข้าวกล้องทุกสาย ซึ่งกาบาเป็นสารสื่อประสาทยับยั้งหลักในระบบประสาทส่วนกลางของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม มีบทบาทในการกระตุ้นเซลล์ประสาทในระบบสมองของมนุษย์ นอกจากนี้ GABA ยังมีหน้าที่ควบคุมความตึงของกล้ามเนื้ออีกด้วย และช่วยลดระดับฮอร์โมนคอร์ติซอล ซึ่งเป็นฮอร์โมนแห่งความเครียด ส่งผลให้การหลั่งฮอร์โมนเพศสมดุลขึ้น ควบคุมการตกไข่ในผู้หญิง และควบคุมการผลิตสเปิร์มในผู้ชายให้ดีขึ้น

2.L-Theanine สารสกัดจากชาเขียวชั้นดี สายพันธุ์ เกียวกุโระ ได้รับการรับรอง จาก Generally recognized as safe (GRAS) ผ่านการรับรองโดยองค์การอาหารและยา ( FAD) ว่าสามารถใช้เติมลงไปในอาหารได้ โดยสารที่ได้รับรองว่า เป็น GRAS ส่วนใหญ่ จะไม่จำกัดปริมาณการใช้ แต่จะให้ใช้เท่าที่จำเป็น เป็นไปตาม GMP และมีรายงานการวิจัยจาก S. Kim et al., 2019 ศึกษาพบว่า การรับประทานกาบา (GABA) ร่วมกับแอลธีอะนีน (L-Theanine) ) สารสกัดจากชาเขียว จะช่วยลดเวลาแฝงในการนอนหลับและเพิ่มระยะเวลาในการนอนหลับ ทำให้ ผ่อนคลาย หลับลึก และหลับสบายขึ้น เมื่อเทียบกับการรับประทานกาบา (GABA) หรือ แอลธีอะนีน (L-Theanineเพียงอย่างเดียว และจากการศึกษายังพบว่า L-Glutamine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของสารกาบา (GABA) ที่ทำหน้าที่สารสื่อประสาท ช่วยให้สมองสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ กระตุ้นการหลั่งโกรทฮอร์โมน (Growth hormones) มากขึ้นถึง “4 เท่า” ช่วยให้หลับสนิทมากขึ้น และ สดชื่นมากขึ้นเมื่อตื่น ลดความเครียด และป้องกันภาวะซึมเศร้า ลดการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ และฟื้นฟูเซลล์กล้ามเนื้อ

3.แบล็คเคอร์แรนท์ เป็นหนึ่งในตระกูลเบอร์รี หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า “ราชาตระกูลเบอร์รี” เพราะอุดมไปด้วยวิตามินสูง มีสารแอนโทไซยานิน ซึ่งสารนี้เป็นตัวทำให้ผลไม้มีสีดำมีสารต้านอนุมูลอิสระ โดยอนุมูลอิสระส่งผลโดยตรงต่อคุณภาพของสเปิร์ม เซลล์ไข่ และโรคทางสูตินรีเวชบางชนิดซึ่งส่งผลให้มีบุตรยาก และยังเป็นการลดอัตราความสำเร็จจากการใช้เทคโนโลยีเจริญพันธุ์ทางการแพทย์อีกด้วย จากงานวิจัยของ akaishi & Colleagues from the University of Tsukuba, Tokyo, Japan พบว่าการรับประทานแบล็คเคอร์แรนท์ที่ให้แอนโธไซยานิน 50 มิลลิกรัมขึ้นไปเป็นระยะเวลาติดต่อกัน สามารถช่วยบรรเทาอาการเมื่อยล้า เนื่องจากใช้สายตานานๆ ได้และยังช่วยให้สายตาทำงานดีขึ้นในที่มืด ช่วยปรับปรุงการไหลเวียนโลหิตส่วนปลาย เช่น ปลายมือ-ปลายเท้าเย็น ช่วยลดความหมองคล้ำรอบดวงตา ช่วยปกป้องไม่ให้เกิดความเครียดอันเป็นสาเหตุของการนอนไม่หลับ ทำให้นอนหลับพักผ่อนได้อย่างเต็มอิ่มมากขึ้น

4.องุ่นดำ (Black Grape) เป็นองุ่นชนิดหนึ่งที่มีรสชาติเปรี้ยวอมหวาน หรือหวานกรอบ เนื้อนุ่มฉ่ำน้ำ กลิ่นหอม และ มีคุณประโยชน์และสรรพคุณทางยาหลายอย่าง ช่วยเพิ่มฮอร์โมนเมลาโทนินในสมองของมนุษย์ ซึ่งควบคุมวงจรการนอนหลับ-ตื่น และทำให้กระบวนการนอนหลับง่ายขึ้น ช่วยในการหลั่งฮอร์โมนเมลาโทนินที่เหมาะสม ช่วยบรรเทาอาการเจ็ทแล็ก โรคระยะการนอนหลับที่ล่าช้า และการนอนไม่หลับมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยชะลอวัย และช่วยเพิ่มระดับสารแอนตี้ออกซิแดนท์ในเลือด ช่วยการทำงานของหัวใจ และหลอดเลือดหัวใจให้ดีขึ้น

5.ทับทิม โดยในทับทิมมีเมลาโทนินที่ช่วยควบคุมวงจรการนอนหลับและตื่นที่มีความสำคัญต่อสุขภาพการนอนหลับ
มีวิตามินซีซึ่งเป็นกุญแจสำคัญสำหรับการนอนหลับที่ดีที่สุด ส่งเสริมรูปแบบการนอนหลับที่ดีต่อสุขภาพและช่วยให้นอนหลับได้อย่างง่ายดาย อุดมไปด้วยโพแทสเซียม และสารต้านอนุมูลอิสระ เนื่องจากมีคุณสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรียและไวรัส จึงสามารถใช้ป้องกันโรคติดเชื้อต่าง ๆ ได้ อุดมไปด้วยโฟเลต (วิตามิน B9 ) ที่จะมีน้อยในผู้ที่มีอาการนอนไม่หลับ อีกทั้งยังอุดมด้วยของแมกนีเซียมสามารถช่วยบรรเทาอาการนอนไม่หลับ และปรับปรุงประสิทธิภาพการนอนหลับ เวลานอนหลับ และการเริ่มต้นการนอนหลับ ช่วยลดความวิตกกังวล ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของการนอนไม่หลับ นอกจากนี้ในเปลือกทับทิมยังมีกรดเอลลาจิแทนนินมีส่วนช่วยลดอาการอักเสบได้ดี ซึ่งการทดลองพบว่าสารดังกล่าวสามารถยับยั้งการสร้างไนตริกออกไซด์ ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดการแข็งตัวของหลอดเลือดต่างๆ ในร่างกาย เมื่อจุดต่างๆ เกิดการอักเสบได้ดี ซึ่งการอักเสบในร่างกายส่งผลต่อภาวะมีบุตรยาก

โดยมีงานวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสาร Reproductive Science เมื่อปี 2011 ศึกษาพบว่า การอักเสบเป็นสาเหตุหนึ่งของโรคทางสูติศาสตร์ (Gyneological disease) ซึ่งการอักเสบ (Inflammation) ส่งผลต่อการตกไข่และการสร้างฮอร์โมนรวมไปถึงเกี่ยวข้องกับภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการมีบุตรนั้นการอักเสบมีความสัมพันธ์กับการเกิดภาวะต่างๆ ทั้ง เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ , ภาวะถุงน้ำหลายใบในรังไข่ (PCOS) , ภาวะอุ้งเชิงกรานอักเสบ ,ซีสต์รังไข่ หรือ เนื้องอกในโพรงมดลูก ,รังไข่เสื่อม วัยทองก่อนวัย , เซลล์ไข่และเซลล์สเปิร์มที่ด้อยคุณภาพ และ การที่ตัวอ่อนไม่ฝังตัว หรือแท้งในระยะเริ่มต้นอีกด้วย

โดยผู้มีบุตรยากที่มีปัญหานอนไม่หลับ หากไม่สามารถปรับเวลานอนได้ด้วยตัวเอง สามารถเลือกทานอาหารเสริมจากสารสกัดธรรมชาติที่รวบรวมสารสกัดจาก ฟาร์มากาบา (Pharmagaba), แอล-ธีอะนีน (L-Theanine), แอล-กลูตามีน (L-Glutamine), แมกนิเซียมอมิโนแอซิคคีแลต (Magnesium Amino Acid Chelate), แบล็กคอแรนต์ (Blackcurrant) , สารสกัดจากทับทิม (Pomegranate Extract) , สารสกัดจากองุ่นดำ (Black Grape) รวมถึงวิตามินบี6 และ บี12 ที่ล้วนแล้วช่วยปรับปรุงคุณภาพการนอนให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
เพื่อลดการใช้ยานอนหลับโดยไม่จำเป็น

ที่มา : babyandmom


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง