การงีบหลับนอนกลางวันบางคนอาจจะมองว่าขี้เกียจ แต่ในตามหลักวิทยาศาสตร์แล้วช่วยส่งผลดีต่อร่างกายและจิตใจ เป็นการเพิ่มพลังระหว่างวันช่วยเพิ่มความสดชื่นและรู้สึกกระฉับกระเฉงมากขึ้น คนเราควร งีบหลับ เป็นระยะเวลาสั้นๆ เพื่อให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด ทั้งนี้ไปดูกันว่า งีบหลับนานเท่าไร จะส่งผลอย่างไรบ้าง
การนอนหลับเพียง 10-20 นาที (Power nap) ดีที่สุด
นักวิจัยได้อธิบายไว้ว่า การนอนหลับเพียง 10-20 นาที หรือเรียกว่า Power nap จะช่วยให้ร่างกายรู้สึกสดชื่น ตื่นตัว เป็นการช่วยเพิ่มระดับพลังงาน อีกทั้งยังช่วยเพิ่มประสิทธิภาพความจำ เพิ่มความตื่นตัว ช่วยให้สมองโลดแล่น ประสิทธิภาพการทำงานดีขึ้น แถมอารมณ์ดีขึ้นอีกด้วย แต่ถ้าหากงีบหลับเกินกว่า 30 นาที จะทำให้รู้สึกหงุดหงิดง่าย เฉื่อยชา ไม่กระฉับกระเฉง
ช่วงเวลาที่ควรงีบนอนที่ดีที่สุด
คือช่วง 13.00-15.00 น. และควรงีบหลับสั้นๆ จะช่วยไม่ให้ร่างกายเข้าสู่การนอนหลับลึกจนเกินไป หลังจากตื่นขึ้นมาจะรู้สึกสดชื่นแจ่มใสพร้อมลุยทำงานต่อได้เลย
ทั้งนี้การงีบหลับในระยะเวลาที่นานกว่า 10 -20 นาทีจะส่งผลอย่างไรบ้าง ไปอัปเดตความรู้กันไว้ได้เลย
การงีบหลับ 30 นาที
ในขณะที่การงีบหลับ 30 นาที อาจจะเป็นเรื่องยากที่จะตื่นขึ้นมาได้ การงีบหลับในช่วงเวลาสั้นๆจะช่วยปรับปรุงเกี่ยวกับระบบความจำ ช่วยลดความเครียด ลดความเสี่ยงในการเป็นโรคเบาหวาน และป้องกันภาวะสมองเสื่อม ผู้เชี่ยวชาญได้กล่าวว่า คุณจะทำงานได้ดีมากขึ้นถ้าคุณงีบหลับช่วงกลางวันเป็นเวลา 30 นาที เนื่องจากร่างกายและสมองจะได้รับการฟื้นฟูหลังจากที่ตื่นนอนมาแล้ว 7-8 ชั่วโมง แค่งีบสักนิดจะช่วยให้รู้สึกดีขึ้นทันทีเลยล่ะ
การงีบหลับ 60 นาที
การงีบหลับพักผ่อนเป็นเวลา 1 ชั่วโมงอาจเป็นช่วงเวลาการงีบที่ดีสำหรับบางคนที่ต้องทำงานเหนื่อยหนักเกี่ยวกับภาวะทางจิตใจและอารมณ์ การงีบหลับในระยะเวลา 1 ชั่วโมงจะทำให้คุณได้นอนหลับลึกซึ่งจะช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านความคิด ตัวเลข และ การจดจำสิ่งต่างๆได้ดียิ่งขึ้น แต่ทั้งนี้การนอนหลับลึกเมื่อคุณตื่นนอนขึ้นมาอาจจะทำให้รู้สึกอึดอัด เบลอๆ เล็กน้อย
การงีบหลับ 90 นาที
การนอนหลับจะเป็นวงจรสั้นๆ ใช้เวลาประมาณ 90 นาที คุณจะหลับอยู่ในช่วงที่เรียกว่า REM (Rapid Eye Monement) ซึ่งช่วงเวลานี้อาจจะทำเกิดความฝันขึ้นได้ Dr. Sara Mednick นักวิจัยด้านการนอนหลับ ได้พบว่าการนอนหลับ 90 นาที นั้นมีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกายและจิตใจ มันจะช่วยพัฒนาด้านความจำและเสริมสร้างความคิดสร้างสรรค์ และที่สำคัญหลังจากตื่นนอนขึ้นมาคุณจะไม่รู้สึกถึงอาการมึนงง
ที่มา : brightside., health.mthai