คัดลอก URL แล้ว
“ปิดสวิตช์ สว.” ล่มตั้งแต่ยังไม่เริ่ม!  

“ปิดสวิตช์ สว.” ล่มตั้งแต่ยังไม่เริ่ม!  

ย้อนความพยายาม แก้รัฐธรรมนูญ มาตรา 272 รวม 6 ครั้ง จอดตั้งแต่วาระแรก เหตุเสียงหนุนจาก สว. ไม่เกิน 1 ใน 3

Follow Up – ความพยายามในการแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2560 มาตรา 272 เพื่อ “ปิดสวิตช์ สว.” ชุดปัจจุบัน ที่มีอำนาจพิเศษในการร่วมโหวตนายกรัฐมนตรี เคยเกิดขึ้นมาแล้วถึง 6 ครั้ง จากการรวมชื่อกันของภาคประชาชน และพรรคการเมืองทั้งฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน

ทว่าทุกครั้งญัตติดังกล่าว เป็นอันต้องจบลงแค่เพียงวาระแรก เนื่องจากไม่ได้รับเสียงเห็นชอบจาก สว. เกิน 1 ใน 3 หรือมากกว่า 84 เสียง ตามเงื่อนไขที่รัฐธรรมนูญฉบับนี้กำหนดไว้

ความพยายามเสนอแก้มาตรา 272 เพื่อ “ปิดสวิตช์ ส.ว.” ทั้ง 6 ครั้ง ได้แก่

ขั้นตอนภายหลังการยื่นญัตติแก้ไขรัฐธรรมนูญ “ถือเป็นด่านหิน” ที่ทำให้ความพยายามในการแก้ไขมาตรา 272 เพื่อปิดสวิตช์ สว. ทั้ง 6 ครั้งที่ผ่านมา เป็นอันต้องยุติลงแค่เพียงวาระแรกเพียงเท่านั้น

เนื่องจากตามกระบวนการญัตติที่ถูกเสนอ จะต้องผ่านการพิจารณาของรัฐสภา 3 วาระ ดังนี้

  1. ขั้นรับหลักการ : ต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของ 2 สภา หรือ 376 เสียง “ในวาระแรกนี้มีเงื่อนไขสำคัญที่ไม่เคยผ่านไปได้” เพราะในจำนวนทั้งหมดต้องมีเสียงเห็นชอบจาก สว. ไม่น้อยกว่า 1 ใน 3 ของจำนวน ส.ว. หรือ 84 คน
  2. ขั้นพิจารณาต้องใช้เสียงไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของสมาชิกเท่าที่มีอยู่ของ 2 สภา หรือ 376 เสียง
  3. ขั้นสุดท้าย : นอกจากเสียงจากข้อ 1,2 แล้ว ต้องได้รับเสียงเห็นชอบของ สส. จากพรรคที่ไม่มีสมาชิกเป็นรัฐมนตรี, ประธานหรือรองประธานสภาฯ หรือ สส. ฝ่ายค้าน ไม่น้อยกว่า ร้อยละ 20 รวมกัน

อย่างไรก็ตาม หากญัตติสามารถผ่านสามวาระมาได้ ยังต้องฝ่าด่านสุดท้าย คือ วาระศาลรัฐธรรมนูญพิจราณาชี้ขาด โดยในวาระนี้ สส. หรือ สว. หรือทั้ง 2 สภารวมกัน ไม่น้อยกว่า 1 ใน 10 ของแต่ละสภา หรือของสองสภารวมกันแล้วแต่กรณี (สส. 50 คน, สว. 25 คน หรือ สส. รวมกับ สว. รวมกัน 75 คน) เมื่อรวมเสียงได้แล้วต้องร่วมกันเข้าชื่อ เสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ว่าข้อเสนอแก้ไขรัฐธรรมนูญนั้น เป็นเรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงการปกครอง หรือเปลี่ยนแปลงรูปแบบรัฐหรือไม่ หรือเป็นเรื่องที่ต้องทำประชามติก่อนหรือไม่ จากนั้นเมื่อมีมติเห็นชอบให้รอไว้ 15 วัน และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย

ขณะที่ความพยายามปิดสวิตช์ สว. ครั้งล่าสุดในวันนี้ (4 ส.ค. 2566) เป็นอันต้องเลื่อนออกไป ก่อนถึงวาระถกแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 272 โดย ‘นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา’ ประธานรัฐสภา ใช้อำนาจตามข้อบังคับที่ 22 ขอเลื่อนการประชุมรัฐสภาวันนี้ออกไปก่อน เนื่องจากควรรอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย ประเด็นการเสนอชื้อโหวตนายกฯ ซ้ำ โดยให้เห็นผลว่า ผลวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น มีผลผูกพันกับทุกองค์กร


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง