หากพูดชื่อพรรคการเมืองในประเทศไทย คงไม่มีใครไม่รู้จัก ‘พรรคประชาธิปัตย์’ ซึ่งถือได้ว่าเป็นพรรคการเมืองที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย ก่อตั้งโดยพันตรีควง อภัยวงศ์ เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2489 ในฐานะพรรคฝ่ายกษัตริย์นิยม และปัจจุบันเป็นพรรคฝ่ายอนุรักษนิยม
พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคการเมืองที่มีบทบาทสำคัญทางการเมืองทั้งฝ่ายบริหารประเทศ สลับกับการเป็นพรรคฝ่ายค้านบ้างตามยุคสมัย ด้วยกระแสนิยมและความชัดเจนของพรรคที่มีมาตั้งแต่สมัยยุคแรกเริ่ม ทำให้ได้รับคะแนนเสียงสนับสนุนเรื่อยมา
ซึ่งบุคคลสำคัญของพรรคที่เคยได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้แก่ ควง อภัยวงศ์ (วาระ : 2490–2491) , หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (วาระ : 2518, 2519) , หม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช (วาระ : 2518, 2519) , ชวน หลีกภัย (วาระ : 2535–2538, 2540–2544) และ อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (วาระ : 2551–2554)
ประชาปัตย์ ที่ไม่เหมือนเดิม?
เป็นที่ทราบกันดีว่า นับตั้งแต่พรรคประชาธิปัตย์เข้าร่วมจัดตั้งรัฐบาลของประยุทธ์ ทำให้กระแสนิยมของพรรคลดลงมาอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากไปผิดคำสัญญาที่เคยให้ว่ากับประชาชนว่าจะไม่เข้าร่วมและเลือก ‘บิ๊กตู่’ เป็นนายกรัฐมนตรีต่อ ในการเลือกตั้งปี 2562
นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของความสั่นคลอนในพรรคอย่างเห็นได้ชัด ทั้งแนวทาง อุดมการณ์พรรคที่มี 2 กลุ่มความคิดที่แตกต่างออกไป
กระทั่งจำเป็นต้องมีการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรคชุดใหม่ เมื่อวันที่ 9 ธ.ค.66 ที่ผ่านมา และเป็น ‘เฉลิมชัย ศรีอ่อน’ ที่ชนะการเลือกตั้งหัวหน้าพรรค จนเกิดกรณีดราม่ามากมาย ซึ่งหลังจากนี้เราอาจได้เห็นพรรคประชาธิปัตย์ในยุคใหม่ ที่แตกต่างไปจากเดิมไม่มากก็น้อย
เมื่อความเห็นต่างเกิดขึ้นภายในพรรค?
ในทางการเมืองการ ‘เห็นต่าง’ ย่อมเกิดขึ้นได้เสมอ แต่สำหรับพรรคการเมืองแล้วนั้น อุดมการณ์ แนวทางปฏิบัติ ย่อมเป็นสิ่งสำคัญที่ยึดถือเรื่อยมาก เช่นเดียวกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีนับตั้งแต่ยุคพรรคไทยรักไทย เรื่อยมาจนถึง ‘พรรคเพื่อไทย’ ซึ่งแนวทางทั้ง 2 พรรคค่อนข้างชัดเจนแบ่งขั้วแบ่งฝ่ายทางการเมือง เรียกได้ว่า ‘ยอมหักไม่ยอมงอ’
แนวทางทางการเมืองเช่นนี้เราจึงได้เห็น 2 พรรคการเมืองนี้ห้ำหั่นกันมาโดยตลอด กระทั่งการเลือกตั้งครั้งล่าสุด ปี 2566 ความเห็นต่างภายในพรรคเริ่มปะทุใหญ่ขึ้นอย่างมาก
ซึ่งจุดสำคัญมาจากการโหวตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 22 ส.ค.66 โดยพรรคประชาธิปัตย์ จำนวน 25 เสียง มี ส.ส.ของพรรค จำนวน 16 คน โหวตสวนมติพรรค ซึ่งกลับไปลงคะแนนเห็นชอบให้ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคเพื่อไทย เป็นนายกรัฐมนตรี
โดยในกลุ่ม 16 ส.ส. นั้น ก็มาจากกลุ่มของนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน นั้นเอง นั้นยิ่งตอกย้ำความชัดเจนที่ว่าสถานการณ์ของพรรค มีการแบ่งความคิดเห็นออกเป็น 2 กลุ่ม นั้นคือกลุ่มอาจเก่านำโดยนายชวน หลีกภัย นายบัญญัติ บรรทัดฐาน และนายสาธิต ปิตุเตชะ และอดีต ส.ส. ซึ่งกลุ่มที่สนับสนุนและพยายามดึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ให้กลับมาดำรงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง
กับกลุ่มที่สองคือกลุ่มของ ‘เฉลิมชัย’ ซึ่งทั้งสองกลุ่มมีความแตกต่างอย่างชัดเจน ซึ่งมีแนวทางการเมืองที่แตกต่างไปจากกลุ่มอำนาจเก่าของพรรค ที่ค่อนข้างไหลตามสถานการณ์ทางการเมือง เพื่อให้อยู่ในกลุ่มขั้วอำนาจรัฐบาลเดิม
เกิดอะไรขึ้นบ้างหลัง ‘เฉลิมชัย’ ขึ้นหัวหน้าพรรค
แน่นอนว่าเมื่อกลุ่ม ‘เฉลิมชัย’ ได้เข้ามาบริหารพรรคอย่างเต็มตัว แนวทางพรรคย่อมเปลี่ยนไปไม่มากก็น้อยเช่นกัน โดย นายชวน หลีกภัย ซึ่งถือได้ว่าเป็นแกนนำกลุ่มอำนาจเก่าภายในพรรค โดยออกโรงเตือนสติของพรรคหลังจากนี้ว่า ไม่ควรทำให้พรรคเป็น ‘พรรคอะไหล่’ หรือถูกนำไปใช้เพียงเพื่อการต่อรองอำนาจทางการเมืองเท่านั้น
อย่างไรก็ตามหลังผลการเลือกตั้งหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค ซึ่ง เฉลิมชัย ศรีอ่อน จะให้สัมภาษณ์ว่า ไม่มีทางที่จะให้พรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคอะไหล่อย่างแน่นอน
ย้อนกลับไปสถานการณ์ก่อนการเลือกตั้งของพรรค อีก 1 คู่แข่งของกลุ่มเฉลิมชัย อย่างมาดามเดียร์ ที่แม้จะได้รับกรณียกเว้นเรื่องคุณสมบัติ แต่สามารถใช้สิทธิ์การรับรองจากสมาชิก 3 ใน 4 ของที่ประชุม ซึ่งท้ายที่สุดก็ดันถูกสกัดดาวรุ่งร่วงหล่นมาแบบไม่เป็นท่า เนื่องจากไม่ได้การรองรับจากที่ประชุม
และเหตุการณืต่อจากนั้นภายหลังการพูดคุยระหว่าง นายชวน และ นายเฉลิมชัย กว่า 10 นาที ปรากฏว่า นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ซึ่งคาดการณ์ว่าจะได้รับเสียงสนับสนุนจากกลุ่มอำนาจเก่าของพรรค ให้ขึ้นชิงตำแหน่งหัวหน้าพรรคอีกครั้ง กลับชิงประกาศลาออกจากพรรค ก่อนการลงคะแนนเลือกตั้งไม่กี่ชั่วโมง
หลังจากนี้ ‘ประชาธิปัตย์’ จะเป็นอย่างไร?
รศ.หริรักษ์ สูตะบุตร อดีตรองอธิการบดีฝ่ายบริหารบุคคล มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ได้แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์ของพรรคประชาธิปัตย์หลังจากนี้ โดยระบุว่า “ต่อจากนี้ไป พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เหมือนเดิม พรรคจะใหญ่ขึ้นหรือเล็กลงจนต่ำสิบหรือไม่ ยังไม่แน่ ที่แน่คือ พรรคประชาธิปัตย์จะไม่เหมือนเดิมอีกต่อไป”
และยังมองไปถึงกลุ่มอดีต ส.ส. คนเก่า ๆ ที่อาจจะทยอยลาออกจากสมาชิกพรรค ซึ่งก็เกิดขึ้นแล้วทั้งนายอภิสิทธิ์ และนายสาธิต และอาจมีคนอื่น ๆ ที่กำลังตามมาอีก
นอกจากนี้แนวทางของพรรคประชาธิปัตย์จะไปเปลี่ยนค่อนข้างเยอะ เนื่องจากเป็นสายเลือดใหม่ที่เข้ามาบริหารพรรค ในขณะที่สายเลือดเก่าของกลุ่มนายชวน อาจได้เพียงยืนมองอยู่อย่างห่าง ๆ แบบห่วง ๆ
…
การเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่นี้ของพรรคประชาธิปัตย์ ยังคงต้องจับตามองกันไปอีกยาว ๆ ว่าท้ายที่สุดแนวทาง อุดมการณ์พรรค จะไปในทิศทางไหน จะสามารถกู้วิกฤกตศรัทธาพรรคกลับคือมาได้หรือไม่ หรือจะเป็นเพียง ‘พรรคอะไหล่’ อย่างที่นายชวน เคยกล่าวเตือนไว้