คัดลอก URL แล้ว
EP.4 “PM 2.5” อันตรายแค่ไหน ส่งผลระยะสั้น-ยาว อย่างไร | มหันตภัยฝุ่น PM 2.5

EP.4 “PM 2.5” อันตรายแค่ไหน ส่งผลระยะสั้น-ยาว อย่างไร | มหันตภัยฝุ่น PM 2.5

เดือนมกราคมที่ผ่านมา มีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 163,491 ราย ด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศ จากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคจากมลพิษทางอากาศในระบบ HDC ระบุว่า เดือนมกราคมที่ผ่านมา มีจำนวนผู้ป่วยด้วยโรคที่เกี่ยวข้องกับมลพิษทางอากาศจำนวน 376,165 ราย เพิ่มขึ้นจากเดือนที่ผ่านมา 163,491 ราย โดยกลุ่มโรคที่เจ็บป่วยสูงสุด ได้แก่ กลุ่มโรคทางเดินหายใจ พบ 165,879 ราย เพิ่มขึ้น 72,430 ราย กลุ่มโรคผิวหนังอักเสบ พบ 80,248 ราย เพิ่มขึ้น 31,571 ราย กลุ่มโรคตาอักเสบ พบ 70,206 ราย เพิ่มขึ้น 29,605 ราย โรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตันขาดเลือด พบ 54,434 ราย เพิ่มขึ้น 26,828 ราย

จะเห็นได้ว่า ฝุ่น PM2.5 เป็นมลพิษที่ส่งผลต่อโรคทางเดินหายใจ โรคผิวหนังอักเสบ โรคตาอักเสบ รวมไปถึงโรคหลอดเลือดหัวใจและสมองอุดตันขาดเลือด

โดยอาการทั่วไปในระยะสั้น : ทำให้ระคายเคืองตา ตาแดง คัดจมูก น้ำมูกไหล ไอ อาการภูมิแพ้และหอบหืดกำเริบ ทำให้ปอดอักเสบติดเชื้อง่ายขึ้น ผิวหนังอักเสบมีผื่นคันที่ผิวหนัง

สำหรับระยะยาว : การทำงานของปอดแย่ลง เสี่ยงต่อโรคระบบทางเดินหายใจ โรคหัวใจ และ โรคหลอดเลือดสมอง เพิ่มความเสี่ยงการเกิดมะเร็งปอด ผิวหนังเหี่ยวย่นก่อนวัย ในช่วงวิกฤต จึงควรใส่หน้ากากอนามัย n95 ปิดประตูหน้าต่างให้สนิท และงดออกกำลังกายกลางแจ้ง


ข่าวที่เกี่ยวข้อง