คัดลอก URL แล้ว
ประโยชน์ของ กะหล่ำปลี สีเขียว-สีม่วง สรุปแล้วกินดิบได้หรือไม่?

ประโยชน์ของ กะหล่ำปลี สีเขียว-สีม่วง สรุปแล้วกินดิบได้หรือไม่?

กะหล่ำปลี หลายคนอาจจะยังสงสัยว่า สรุปแล้ว กะหล่ำปลีกินดิบได้มั้ย? ในด้านคุณประโยชน์บอกเลยว่า เป็นผักที่มีคุณประโยชน์ดีต่อสุขภาพร่างกาย ไม่ว่าจะเป็นกะหล่ำปลีสีเขียวหรือสีม่วง แต่สำหรับคนที่มีภาวะไทรยอด์ฮอร์โมนต่ำก่อนรับประทานควรทำให้สุกก่อน ในบทความนี้เราจะมาบอกถึงข้อดีของผักชนิดนี้ให้ได้รู้กัน

รู้จักกะหล่ำปลี

กะหล่ำปลี มีกรดทาทาริก (Tartaric acid) เมื่อทานเข้าไปแล้วจะช่วยลดการเปลี่ยนแป้งและน้ำตาลเป็นไขมันสะสม ทำให้ช่วยลดน้ำหนักในทางอ้อมได้

ประโยชน์ กะหล่ำปลีสีเขียว

มีวิตามินเคมากกว่ากะหล่ำปลีม่วง 2 เท่า เป็นวิตามินสำคัญที่ช่วยในกระบวนการแข็งตัวของเลือด ป้องกันภาวะเลือดไหลมากจนเกินไป มีแคลเซียม และฟอสฟอรัส ข่วยเสริมความแข็งแรงของกระดูกและฟัน

ประโยชน์ กะหล่ำปลีสีม่วง

คนที่ไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบ

จริงๆ แล้วไม่ได้ห้ามกินกะหล่ำปลีดิบโดยสิ้นเชิง เพียงแต่ผู้ป่วยบางกลุ่มอาจต้องระวังการกินกะหล่ำปีดิบ นั่นก็คือ กลุ่มผู้ป่วยที่มีภาวะไฮโปไทรอยด์ (Hypothyroidism) ซึ่งเป็นภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำ ไม่ควรกินกะหล่ำปลีดิบ เพราะในกะหล่ำปลีมีสารชื่อ กอยโตรเจน (Goitrogen) ซึ่งอยู่ในกลุ่มของสารที่ขัดขวางการสร้างฮอร์โมนในต่อมไทรอยด์ ทำให้ร่างกายนำไอโอดีนไปใช้สร้างฮอร์โมนธัยรอกซินได้น้อยกว่าปกติ หรือทำให้ต่อมไทรอยด์ทำงานต่ำยิ่งขึ้น แต่ถ้าหากนำกะหล่ำปลีไปผ่านความร้อน สารกอยโตรเจนก็จะสลายไป

คนปกติกินดิบได้แต่ให้ระวังความสะอาด-สารเคมีตกค้าง

คนที่ร่างกายปกติ ไม่ได้มีปัญหาสุขภาพอะไร สามารถกินกะหล่ำปลีได้ และร่างกายก็จะได้รับประโยชน์มากมายด้วย เช่น กระตุ้นเอนไซม์ทำลายสารพิษ มีสารพฤกษเคมี ( Phytochemical) มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระ ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้แข็งแรง ช่วยแก้อาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยแก้และบรรเทาอาการท้องผูก ป้องกันโรคเลือดออกตามไรฟัน และช่วยแก้อาการเจ็บคอ เป็นต้น

แต่ถ้าใครกังวลสารกอยโตรเจน แนะนำให้ไปนึ่งผ่านความร้อนเล็กน้อย สารกอยโตรเจนก็จะหายไปบ้าง ในขณะที่สารไอโซไทโอไซยาเนตจะสลายไปเล็กน้อยก็ไม่เป็นอันตรายกับคนปกติ” อีกสิ่งที่ต้องระวังคือ สารเคมี หรือยาฆ่าแมลงตกค้างในกะหล่ำปลี ก่อนนำมารับประทานต้องล้างทำความสะอาดให้ดีก่อน

ขอบคุณข้อมูลจาก : พญ.จิตแข เทพชาตรี แพทย์ชำนาญการด้านผิวหนัง และเวชศาสตร์ชะลอวัยเพื่อการฟื้นฟูสุขภาพ, ผศ.ชนิพรรณ บุตรยี่ อาจารย์ประจำหลักสูตรพิษวิทยาทางอาหารและโภชนาการ สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง