คัดลอก URL แล้ว
วันไหว้ครู VS วันครู คือวันเดียวกันมั้ย? ต่างกันอย่างไร?

วันไหว้ครู VS วันครู คือวันเดียวกันมั้ย? ต่างกันอย่างไร?

หลายๆ คน อาจจะสับสนว่า “วันครู” กับ “วันไหว้ครู” คือวันเดียวกันไหม? แล้วถ้าไม่ใช่ แตกต่างกันอย่างไร สำคัญแค่ไหน?

1.ประวัติ “วันครู” หรือ “วันครูแห่งชาติของไทย” ตรงกับวันที่ 16 มกราคมของทุกปี

วันครู มีจุดเริ่มต้นจากการประชุมสามัญคุรุสภาประจำปี พ.ศ.2499 จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีและประธานกรรมการอำนวยการคุรุสภากิตติมศักดิ์ ได้กล่าวคำปราศรัยต่อที่ประชุมครูทั่วประเทศ โดยมีใจความสำคัญสื่อถึงพระคุณของคุณครู เพราะครูเป็นผู้ให้แสงสว่าง ให้ความรู้และชี้นำทางให้ลูกศิษย์ จึงควรมี “วันครู” เกิดขึ้นเพื่อให้บรรดาลูกศิษย์ได้แสดงความเคารพ สักการะต่อครูผู้มีพระคุณ เช่นเดียวกับวันตรุษหรือวันสงกรานต์ ที่เป็นประเพณีในการระลึกถึงบรรพบุรุษผู้ให้กำเนิด คุณครูก็เปรียบเสมือนผู้ให้กำเนิดคนที่สองเช่นกัน

จากแนวความคิดนี้ประกอบกับความเห็นของหลายๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจึงกำหนด “วันครู” ขึ้นเพื่อให้เป็นวันแห่งการรำลึก ถึงความสำคัญของครูในฐานะที่เป็นผู้เสียสละ ประกอบคุณงามความดี เพื่อประโยชน์ของชาติและประชาชน โดยวันครูจัดขึ้นครั้งแรกในวันที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2500 สถานที่จัดงานวันครูครั้งแรกคือกรีฑาสถานแห่งชาติ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งของสนามศุภชลาศัย) ในจังหวัดพระนครและธนบุรี ทั้งนี้กระทรวงศึกษาธิการได้ให้นักเรียนและครูหยุดในวันดังกล่าว

กิจกรรมวันครูแห่งชาติ

ปัจจุบันการจัดงานวันครูจะจัดขึ้นพร้อมกันทั่วประเทศ ในส่วนกลางจะมีปลัดกระทรวงศึกษาธิการเป็นประธาน ประกอบด้วยบุคคลหลายอาชีพร่วมกันเป็นผู้จัด สำหรับส่วนภูมิภาคมอบให้จังหวัดเป็นผู้ดำเนินการ อาจจะจัดรวมกันที่จังหวัดหรือแต่ละอำเภอก็ได้

โดยวันครูจะประกอบด้วย 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่

สำหรับนักเรียนปัจจุบันหรือศิษย์เก่า ในวันนี้ก็จะเดินทางไปพบกับคุณครู ที่เคยสอนหรือเคยเป็นครู-ลูกศิษย์กัน เพื่อรำลักถึงพระคุณของครู พร้อมดอกไม้เพื่อไหว้ครู อาทิ พวงมาลัย ดอกกุหลาบ หรือจะเป็นสิ่งของเล็กๆ น้อยๆ อาทิ กระเช้าผลไม้ เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ เป็นต้น

ดอกไม้ประจำวันครู คือ ดอกกล้วยไม้

ดอกกล้วยไม้ เป็นดอกไม้ประจำวันครู โดยประกาศเมื่อปี พ.ศ. 2539 ความหมายเนื่องจากการเจริญเติบโตของกล้วยไม้ต้องให้ความสำคัญในการดูแลเอาใจใส่เป็นเวลานาน เพื่อให้ได้ผลิดอกสวยงาม เช่นเดียวกับการใช้เวลาอบรมสั่งสอนลูกศิษย์ ก็ต้องใช้ทั้งวิชาความรู้ที่มีและความเอาใจใส่ เพื่อให้เติบโตเป็นอนาคตที่ดีของประเทศชาติ

2. “วันไหว้ครู” พฤหัสบดีที่สองของเดือนมิถุนายน

วันไหว้ครูเป็นประเพณีที่สืบต่อกันมาตั้งแต่อดีต เป็นการแสดงตนเพื่อขอเป็นศิษย์ของท่านโดยตรง และอีกนัยหนึ่งเพื่อแสดงความระลึกถึงบุญคุณของครู โดยจะจัดขึ้นในช่วงเดือนมิถุนายน หรือจัดขึ้นหลังเปิดภาคการศึกษาใหม่ หรือตรงกับพฤหัสบดีที่สองของเดือนมิถุนายน จัดพิธีไหว้ครูในวันพฤหัสบดีเพราะเนื่องจากตามความเชื่อทางศาสนาพราหมณ์-ฮินดู เพราะเชื่อว่าพระพฤหัสเป็นเทพที่ส่งเสริมวิทยาการและความเฉลียวฉลาด

สิ่งสำคัญในวันไหว้ครู

การประดิษฐ์พานไหว้ครูโดยนักเรียนและเหล่าลูกศิษย์ ประกอบด้วยดอกไม้ที่มีความหมายดีและสื่อถึงการรำลึกถึงคุณครู ได้แก่ ดอกมะเขือ หญ้าแพรก ดอกเข็ม และข้าวตอก ในอดีตพานไหว้ครูมักจะประดิษฐ์จากดอกไม้ แต่ในปัจจุบันมีการออกแบบและใช้ความคิดสร้างสรรค์เพิ่มมากขึ้น มีทั้งพานแบบการ์ตูน ขนม ผลไม้ ฯลฯ

ที่มาภาพ : แบบพานไหว้ครูสวยๆ พานไหว้ครูความคิดสร้างสรรค์ พานดอกไม้สวยงาม

ในพิธีไหว้ครู จะมีตัวแทนในการถือพานไหว้ครู

เป็น ชาย 1 คน หญิง 1 คน โดยจะต้องมีคุณสมบัติเพียบพร้อมในด้านต่างๆ อาทิ บุคลิกภาพ การเรียน กิจกรรม การประพฤติตน เป็นต้น ‘ผู้ชายจะถือพานธูปเทียน’ ส่วน ‘ผู้หญิงจะถือพานดอกไม้’ จากนั้นจะเข้าสู่พิธีโดยการสวด “บทสวดไหว้ครู” กล่าวคำปฏิญาณตน และนำพานไหว้ครูมอบให้คุณครู บางสถานศึกษามีการร้องเพลงพระคุณที่สาม ซึ่งเปรียบเสมือนเพลงประจำตัวของคุณครู

3.“วันครูโลก” 5 ตุลาคม ของทุกปี

วันครูโลก (World Teacher’s Day) กำเนิดขึ้นมาจากความร่วมมือของ UNICEF, องค์กรแรงงานระหว่างประเทศ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาทั่วโลก เพื่อเชิดชูและยกระดับอาชีพครู สร้างมาตรฐานและสวัสดิการของครู รวมถึงการจัดรูปแบบการศึกษาให้เหมาะสม เนื่องจากครูมีบทบาทในการขับเคลื่อนการศึกษาให้มีความเจริญก้าวหน้า และเพื่อให้ครูทั่วโลกได้ตระหนักถึงความรับผิดชอบของตนที่มีต่อสังคม และเพื่อปลูกฝังจิตสำนึกที่ดีในการช่วยเหลือมนุษย์ด้วย

โดย “วันครูโลก” ถูดจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในวันที่ 5 ตุลาคม มีการเฉลิมฉลองวันครูโลกเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2537 ซึ่งเป็นวันครบรอบข้อเสนอของ ILO / UNESCO ในปี พ.ศ. 2509 เกี่ยวกับสิทธิของครู ในระบบสถาบันการศึกษา ครอบคลุมถึงบุคลากรทางการศึกษาในระดับอุดมศึกษา

สรุปแล้ว


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง