ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 ได้รายงานสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยประจำวันนี้ โดย
- พบผู้ป่วยในรพ.เพิ่ม 2,240 ราย รวมสะสม 4,648,679 ราย
(ในประเทศ 993 ราย / ต่างประเทศ 1 ราย) - หายป่วยเพิ่ม 2,111 ราย รวมหายแล้ว 4,600,945 ราย
- เสียชีวิตเพิ่ม 27 ราย รวมเสียชีวิตแล้ว 32,275 ราย
- ผู้ป่วยที่ยังคงรักษาตัวในระบบบริการ 15,459 ราย
แนวโน้มโควิด-19 ในประเทศไทย
- จำนวนผู้ป่วยรายใหม่ในระบบ ATK+ สัปดาห์ที่ผ่านมา ( 4-10 ก.ย.) มีจำนวน 107,503 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 15,358 ราย ลดลงจากเมื่อสัปดาห์ก่อนที่เฉลี่ยวันละเกือบ 2 หมื่นราย
- แนวโน้มผู้ป่วยรายใหม่ในระบบบริการ-รพ. ลดลงต่อเนื่อง
- ยอดผู้ป่วยปอดอักเสบ ผู้ป่วยใช้ท่อช่วยหายใจลดลง
- จำนวนผู้เสียชีวิตลดลงต่อเนื่อง
อย่างไรก็ตาม หลายฝ่ายยังคงแนะนำให้รักษามาตรการป้องกันส่วนบุคคลไม่ว่าจะเป็น การสวมหน้ากากอนามัย การเลี่ยงพื้นที่แออัด หรือกิจกรรมเสี่ยงต่าง ๆ เพื่อลดการระบาดที่อาจจะกลับมาเกิดเพิ่มสูงขึ้นได้ในช่วงหน้าหนาวที่จะมาถึงในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้า
อีกทั้งยอดผู้ป่วยที่เสียชีวิตในขณะนี้พบว่า จำนวนไม่น้อยที่เป็นผู้ไม่มีประวัติได้รับวัคซีนมาก่อนเลย โดยเฉพาะในกลุ่ม 608 ซึ่งมีความเสี่ยงต่อการป่วยหนักหรือเสียชีวิตมากกว่ากลุ่มอื่น
ดังนั้นจึงยังควรเข้ารับวัคซีนให้ครบถ้วนรวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้นด้วย
นอกจากนี้ สำหรับผู้ที่เคยป่วยมาก่อนแล้ว การติดเชื้อซ้ำ ทำให้มีความเสี่ยงต่อภาวะ Long Covid ได้มากขึ้น และจะส่งผลกระทบต่อการใช้ชีวิตมากกว่า จึงควรระมัดระวัง
สถานการณ์โควิด-19 ในต่างประเทศ
- ทั่วโลกยอดผู้ป่วยรายใหม่ และผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง
- อังกฤษ เตรียมฉีดวันซีนป้องกันโควิด-19 ชนิดสองสายพันธุ์ให้กับกลุ่มผู้สูงอายุแล้ว
- นิวซีแลนด์ยกเลิกคำสั่งสวมหน้ากากอนามัยและข้อกำหนดในการฉีดวัคซีนป้องกันโควิด-19 แล้ว โดยนายกฯ ของนิวซีแลนด์ระบุว่า ถึงเวลาที่จะเปิดหน้ากากได้อย่างปลอดภัยแล้ว
- ออสเตรเลียอนุมัติใช้งานวัคซีนโควิด-19 รุ่นใหม่ ชนิดสองสายพันธุ์แล้ว หลังผ่านการทดสอบประสิทธิภาพและความปลอดภัยของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของออสเตรเลีย
- ญี่ปุ่นยอดผู้ป่วยรายใหม่ล่าสุด 52,918 ราย ลดลงอย่างต่อเนื่องในช่วง 7 วันที่ผ่านมา ในขณะที่ยอดผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 145 ราย ซึ่งยังคงถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง แม้จะลดลงต่อเนื่องก็ตาม
- เกาหลีใต้รายงานยอดผู้ป่วยโควิด-19 มีแนวโน้มลดลงเช่นกัน แต่ผู้เชี่ยวชาญยังคงเตือนให้เฝ้าระวังสถานการณ์ Twindemic จากการระบาดของไข้หวัดใหญ่ที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น ควบคู่กับโควิด-19 ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงและฤดูหนาวที่กำลังจะถึงนี้