คัดลอก URL แล้ว
เมื่อ กกต. ทิ้งบอมบ์ ก่อนวันโหวตนายกฯ

เมื่อ กกต. ทิ้งบอมบ์ ก่อนวันโหวตนายกฯ

เป็นที่ทราบกันดีว่าในช่วงสัปดาห์นี้เป็นวาระสำคัญทางการเมือง นั้นคือการโหวตนายกรัฐมนตรี ซึ่งตามกำหนดการคือวันที่ 13 ก.ค. 2566 โดยจะเริ่มการประชุมสภาเวลา 09.30 น. ซึ่งจะเปิดโอกาสให้สมาชิกสภาผู้แทนราษฎร(ส.ส.) และสมาชิกวุฒิสภา(ส.ว.) อภิปรายก่อน ซึ่งแบ่งเวลาของ ส.ส.ทุกพรรคการเมือง รวมกัน 4 ชั่วโมง

ขณะที่ ส.ว. มีเวลาอภิปรายเป็นเวลาทั้งสิ้น 2 ชั่วโมง เมื่ออภิปรายเสร็จสิ้นแล้ว จะเข้าสู่ช่วงเวลาขอก่อนเสนอชื่อแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พร้อมแสดงวิสัยทัศน์ จากนั้นเวลา 17.00 น. จะเริ่มทำการโหวตลงคะแนนแบบเปิดเผย ด้วยวิธีการขานชื่อตามลำดับสมาชิกรัฐสภา 750 คน

โดยในช่วงต้นสัปดาห์ที่ผ่านมากระแสข่าวของทาง สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง หรือ กกต. เกี่ยวกับการส่งเรื่องถึงศาลรัฐธรรมนูญ กรณีการถือหุ้น ITV ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล และแคนดิเดตนายกรัฐมนตรี ก็เริ่มปะทุขึ้นอีกครั้ง

ท้ายที่สุด กกต. ได้ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าสมาชิกภาพ ส.ส.ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเนตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 98 ( 3 )ประกอบมาตรา 101 ( 6 )หรือไม่จากเหตุมีชื่อถือครองหุ้นสื่อบริษัทไอทีวีจำกัดมหาชนจำนวน 42,000 หุ้น รวมทั้งมีคำขอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาสั่งให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ ส.ส.ไว้จนกว่าศาลจะมีคำวินิจฉัย

‘ก้าวไกล’ แถลงการณ์ กรณี กกต. ฟันคดีหุ้น ITV ‘พิธา’

พรรคก้าวไกล แถลงการณ์ ระบุว่า ในกรณีนี้ กกต. ดำเนินการไม่ถูกต้องตามขั้นตอนที่ควรจะเป็นตามระเบียบคณะกรรมการการเลือกตั้งว่าด้วยการสืบสวน การไต่สวน และการวินิจฉัยชี้ขาด

การที่ กกต. เสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญอย่างรีบเร่ง ไม่มีการแจ้งข้อกล่าวหามายังนายพิธา และไม่เปิดโอกาสให้มีการชี้แจงแก้ข้อกล่าวหา โดยอ้างว่าเป็นเพียงการตรวจสอบข้อเท็จจริงเท่านั้น จึงไม่ต้องปฏิบัติตามระเบียบที่คณะกรรมการการเลือกตั้งกำหนดไว้

พรรคก้าวไกลเห็นว่า กรณีนี้จึงเท่ากับว่า กกต. เลือกปฏิบัติตามระเบียบแต่เพียงบางส่วน และจงใจไม่ปฏิบัติตามระเบียบที่ตนได้ตราขึ้นให้ครบถ้วนถูกต้อง อันอาจเป็นการกระทำผิดฐานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

มุมมอง ‘ปิยบุตร’ กับการทำงานของ กกต.

นายปิยบุตร แสงกนกกุล เลขาธิการคณะก้าวหน้า ได้แสดงความเห็นเกี่ยวเรื่องนี้หลัง กกต. มีมติยื่นศาลรัฐธรรมนูญ กรณีถือหุ้น ITV ของนายพิธา โดยระบุถึงมาตรฐานในเรื่องของระยะเวลาการพิจารณษของทาง กกต.

โดยยกตัวอย่างกรณีลักษณะต้องห้ามของ ดอน ปรมัตถ์วินัย กกต.ใช้เวลา พิจารณาส่งศาลรัฐธรรมนูญ 386 วัน และศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณารับคำร้อง 70 วัน และไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว

หรือแม้แต่ กรณีลักษณะต้องห้ามของ 4 รัฐมนตรีสมัยรัฐบาล คสช. กกต.ใช้เวลาพิจารณาส่งศาลรัฐธรรมนูญ 355 วัน ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณารับคำร้อง 75 วัน และไม่สั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว

แต่กรณีของธนาธร จึงรุ่งเรืองกิจ กกต.ใช้เวลาพิจารณาส่งศาลรัฐธรรมนูญ 51 วัน ศาลรัฐธรรมนูญใช้เวลาพิจารณารับคำร้อง 7 วัน และสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ชั่วคราว พร้อมให้ความเห็นว่ากรณีของนายธนาธร กลายเป็นสถิติที่ กกต. พิจารณาเรื่องเกี่ยวกับลักษณะต้องห้ามและศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องได้รวดเร็วที่สุดเช่นกัน

และกรณีล่าสุดของนายพิธา ซึ่งหากนับตั้งแต่วันที่นายเรืองไกร ไปยื่นต่อ กกต. คำร้องต่อ กกต.ซ้ำอีกครั้งในวันที่ 20 มิถุนายน 2566 จะเห็นได้ว่า กกต. ใช้เวลาพิจารณาเพียง 32 วันเท่านั้น

ศาล รธน. รับคำร้องทั้งเรื่องหุ้น-นโยบายแก้ไข ม.112

สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญได้เผยแพร่เอกสารกรณีคำร้องของ กกต. ที่ยื่นคำร้องกรณีขอให้วินิจฉัยคุณสมบัติ ส.ส. ของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ สิ้นสุดลงตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 101 (6) ประกอบมาตรา 98(3) หรือไม่ ฉบับลงวันที่ 12 ก.ค. 2566 ว่าได้ลงรับคำร้องในทางธุรการแล้ว โดยจะเสนอคำร้องดังกล่าวต่อศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 49 ต่อไป

นอกจากนี้สำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ยังระบุผลการพิจารณากรณีคำร้องของนายธีรยุทธ สุวรรณเกษร อดีตทนายความอดีตพระพุทธอิสระ ที่ยื่นคำร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยกรณีที่นายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะผู้ถูกร้องที่ 1 และพรรคก้าวไกล ผู้ถูกร้องที่ 2 เสนอร่าง พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เพื่อยกเลิกประมวลกฎหมายอาญามาตรา 112 เป็นนโยบายหาเสียงเลือกตั้งและมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เป็นการใช้สิทธิหรือเสรีภาพเพื่อล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 49 วรรคหนึ่ง หรือไม่

โดยศาลรัฐธรรมนูญได้พิจารณารับคำร้องไว้พิจารณาวินิจฉัยตาม พ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2561 มาตรา 7 (3) และให้นายพิธา (ผู้ถูกร้อง) ยื่นคำชี้แจงแจ้งข้อกล่าวหาต่อศาลรัฐธรรมนูญภายใน 15 วัน นับแต่ได้รับสำเนาคำร้อง

การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี จะเป็นอย่างไรต่อ?

นายชัยธวัช ตุลาธน เลขาธิการพรรคก้าวไกล ยืนยันกระบวนการทางศาลรัฐธรรมนูญ เป็นคนละส่วนกับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี ดังนั้น มั่นใจไม่มีการเลื่อนการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีในวันพรุ่งนี้และเชื่อมั่นในประธานรัฐสภา

ทั้งนี้คนมองว่ากกตพยายามจะใช้บรรทัดฐานเดียวกับเงินกู้ของพรรคอนาคตใหม่ ตนยืนยันว่าเทียบกันไม่ได้พังเพราะกฎหมายและข้อเท็จจริงในการปฏิบัติและขบวนการที่ไม่เหมือนกันพร้อมยืนยัน จะเสนอนายพิธาเหมือนเดิมไม่มีแผนใดเพิ่มเติมจากนี้ไม่ว่าอะไรจะเกิดขึ้น

เช่นเดียวกับกรณีที่นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ได้เคยออกมาพูดถึงเรื่องนี้ ว่าผู้ที่ถูกศาลรัฐธรรมนูญสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่นั้น ไม่สามารถเสนอชื่อเป็นแคนดิเดตนายกฯได้ ก่อนที่จะออกมาแก้ข่าว หลังทางด้านนายปดิพัทธ์ สันติภาดา ส.ส.พิษณุโลก เขต 1 พรรคก้าวไกล ชี้แจงถึงกรณีดังกล่าวว่า ถึงศาลรัฐธรรมนูญ และศาลเห็นควรให้มีการหยุดปฏิบัติหน้าที่จนกว่าจะมีคำวินิจฉัย ก็เป็นการหยุดปฏิบัติหน้าที่ในการเป็น ส.ส. เท่านั้น

แต่โดยคุณสมบัติ นายพิธา ยังคงเป็นแคนดิเดตนายกฯ ได้ตามกฎหมาย เนื่องจากเป็นคนละตำแหน่งและคนละกรณี จึงย่อมไม่ส่งผลทางกฎหมายต่อการเสนอชื่อนายพิธาต่อรัฐสภาเพื่อให้ความเห็นชอบแต่งตั้งเป็นนายกฯ

ส่องมติพรรคร่วมรัฐบาลเดิม-พรรคอื่น ๆ กับการโหวตนายกฯ


ข่าวที่เกี่ยวข้อง