คัดลอก URL แล้ว
ลบล้างวาทกรรม ‘คุกมีไว้ขังคนจน’ กับร่างกฎหมายลำดับรอง 3 ฉบับ

ลบล้างวาทกรรม ‘คุกมีไว้ขังคนจน’ กับร่างกฎหมายลำดับรอง 3 ฉบับ

‘คุกมีไว้ขังคนจน’ วลีดังกล่าว คงไม่อาจปฏิเสธได้เลยเมื่อเกิดประเด็นในสังคม เกี่ยวกับคดีความต่าง ๆ ที่เป็นกระแสโดยเฉพาะกรณีของผู้ที่มีเงินมีอำนาจ สังคมมองว่ารอดจากการถูกตัดสินดำเนินคดี ในทางกลับกันหากเป็นคนจนต้องถูกดำเนินคดีเสมอ จุดที่น่าสนใจคือทำไมสังคมส่วนใหญ่ถึงมองภาพกระบวนการยุติธรรมที่มีการแบ่งแยกเกิดขึ้น เกิดความไม่เท่าเทียมกันหรือไม่..?

ซึ่งล่าสุดเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2566 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (รักษาการ) มีมติเห็นชอบร่างกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 จำนวน 3 ฉบับ โดยให้เหตุผลเพื่อเป็นการปฏิรูปกฎหมายครั้งสำคัญโดยกำหนดให้ผู้กระทำความผิดเพียงเล็กน้อยต้องชำระค่าปรับอย่างเดียว ไม่มีการจำคุกหรือกักขังแทนการปรับ และไม่มีการลงบันทึกในประวัติอาชญากรรม

โดยเป้าหมายเพื่อให้เกิดความเป็นธรรมและลดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ยกเลิกวาทกรรม “คุกมีไว้ขังคนจน” ซึ่งกรณีที่ผู้กระทำความผิดทางพินัยมีฐานะยากจนและกระทำความผิดด้วยความจำเป็นเพื่อยังชีพของตนและครอบครัว ให้กำหนดค่าปรับเป็นพินัยในอัตราต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่ต้องไม่ต่ำกว่า 50 บาทหรือไม่น้อยกว่าอัตราขั้นต่ำที่กฎหมายกำหนดไว้ และสามารถขอผ่อนชำระค่าปรับเป็นพินัยโดยพิจารณาฐานะการเงิน รายได้ รายจ่าย และภาระหนี้สินของผู้กระทำความผิดทางพินัย

ข้อถกเถียง ‘คุกมีไว้ขังคนจน’ ที่ยังหากข้อสรุปไม่ได้

ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา หลังเกิดกระแสทางสังคมเกี่ยวกับกระบวนยุติธรรม ในบางคดีจนเกิดคำถามจากสังคม ก็มักมีการเปิดเสวนาถกเถียง เจาะลึกถึงปัญหาดังกล่าวว่า ต้นสายปลายเหตุมันคืออะไร ทำไมสังคมถึงมองกระบวนยุติธรรมไปในทิศทางเช่นนี้

ซึ่งแน่นอนว่าคุกมีไว้เพื่อขังคนที่มีความผิดหรือกระทำผิดกฎหมายเพื่อให้ได้รับโทษตามกฎหมายที่เหมาะสมกับความผิดที่กระทำ นอกจากนี้ยังเป็นสิ่งสะท้อนไปสู่สังคมถึงความยุติธรรมการในการตัดสิน และสร้างความมั่นใจให้คนในสังคมได้

ประเด็นที่มีการถกเถียงกันที่มีการอ้างอิงจากงานวิจัยต่าง ๆ ว่าส่วนใหญ่จะพบคนจนที่กระทำผิดติดคุกมากกว่าคนรวยที่กระทำผิด ซึ่งหลาย ๆ วงเสวนาก็ยังไม่มีข้อสรุปที่แน่ชัดว่าประเด็นนี้มีเกิดขึ้นจริงมากน้อยเพียงใด

ซึ่งมีนักวิชาการหลายคนมองว่าการตีความนิยาม คนจน กับ คนรวย ไม่มีความแตกต่างกัน เพราะเมื่อกระทำความผิดก็ต้องเข้าสู่กระบวนการยุติธรรมทั้งสิ้น มีการวิเคราะห์ว่า คนจนนั้นมีโอกาสที่จะกระทำความผิดมากกว่าคนรวย อันเนื่องมาจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง ทั้งการศึกษา สภาพแวดล้อม ปัญหาต่าง ๆ ของบุคคลเหล่านั้น

อย่างไรก็ตามการกระทำความผิดก็ไม่ได้แบ่งแยกชัดเจนว่าต้องเป็นคนจนเท่านั้น หรือ คนรวยเท่านั้น แต่ไม่ว่าบุคคลใดที่กระทำความผิดก็ต้องเข้าสู่กระบวนยุติธรรม และไปต่อสู้ในชั้นศาลต่อไปตามลำดับ

ร่างกฎหมายลำดับรอง 3 ฉบับ มีอะไรบ้าง

ร่างกฎหมายลำดับรองที่ออกตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 จำนวน 3 ฉบับ ประกอบด้วย

กฎหมายลำดับรอง 3 ฉบับจะสนับสนุนให้การบังคับใช้บทบัญญัติตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการปรับเป็นพินัย พ.ศ. 2565 ที่ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาเมื่อวันที่ 25 ตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา และจะมีผบังคับใช้ในวันที่ 22 มิถุนายน 2566

สาระสำคัญ ร่างกฎกระทรวงการแสวงหาข้อเท็จจริงฯ

ร่างกฎกระทรวงการแสวงหาข้อเท็จจริง การรวบรวมพยานหลักฐาน และการชี้แจง หรือแก้ข้อกล่าวหา พ.ศ. …. จะกำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการแสวงหาข้อเท็จจริงและการรวบรวมพยานหลักฐาน เพื่อให้รู้ว่ามีการกระทำความผิดทางพินัยหรือไม่และใครเป็นผู้กระทำความผิด และในกรณีที่เจ้าหน้าที่ของรัฐพบเห็นว่ามีบุคคลกำลังกระทำความผิดทางพินัย หรือแทบจะไม่มีความสงสัยว่าบุคคลนั้นได้กระทำความผิดทางพินัย และเจ้าหน้าที่ของรัฐคนเดียวเป็นผู้มีอำนาจปรับเป็นพินัย ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐแจ้งเป็นหนังสือหรือด้วยวาจาให้ผู้ถูกกล่าวหาทราบข้อกล่าวหา

พร้อมทั้งข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และแจ้งด้วยว่าผู้ถูกกล่าวหามีสิทธิจะให้การทันทีหรือจะให้ถ้อยคำภายหลังภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งก็ได้ และกำหนดกรอบเวลาให้การพิจารณาและออกคำสั่งปรับเป็นพินัยต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 30 วัน โดยสามารถขยายระยะเวลาได้ครั้งละไม่เกิน 30 วัน ไม่เกิน 2 ครั้ง ส่วนในกรณีที่จะฟ้องคดีต่อผู้ถูกกล่าวหา เจ้าหน้าที่ของรัฐต้องส่งสำนวนให้พนักงานอัยการอย่างช้าไม่น้อยกว่า 45 วันก่อนวันที่คดีจะขาดอายุความ

สาระสำคัญร่างกฎกระทรวงการชำระค่าปรับฯ

ร่างกฎกระทรวงการชำระค่าปรับเป็นพินัยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. …. เป็นการกำหนดให้การชำระค่าปรับเป็นพินัยผ่านระบบอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่

สาระสำคัญร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีฯ

ร่างระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยระเบียบปฏิบัติในการปรับเป็นพินัย พ.ศ. …. เป็นการวางระเบียบปฏิบัติในการปรับเป็นพินัย รวมทั้งระยะเวลาในการดำเนินการที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการตาม พ.ร.บ. ว่าด้วยการปรับ เป็นพินัย พ.ศ. 2565 ให้เป็นไปโดยเรียบร้อยและมีประสิทธิภาพ ได้แก่ หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีช่องทางติดต่อสื่อสารโดยวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่ผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นใด

สามารถขยายเวลาการดำเนินการปรับเป็นพินัยได้ สามารถผ่อนชำระได้ และจำนวนค่าปรับเป็นพินัยต้องไม่ต่ำกว่าผลประโยชน์ที่ได้รับแต่ต้องไม่เกินอัตราขั้นสูงที่กฎหมายซึ่งบัญญัติความผิดทางพินัยกำหนดไว้


ข่าวที่เกี่ยวข้อง