KEY :
- แนวโน้มสถานการณ์ของ PM 2.5 ในประเทศไทยส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับต่ำกว่าค่ามาตรฐาน สภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี
- บริเวณภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนบน มีบางพื้นที่ที่มีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน
- สำหรับรายงานจุดความร้อนในไทย ลาว และเมียนมาร์เพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัวในทั้ง 3 ประเทศ
…
ภาคเหนือ
สถานการณ์ในภาคเหนือในระยะนี้ อัตราการระบายอากาศยังคงอยู่ในเกณฑ์อ่อน – ไม่ดี ชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด และรายงานจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น ในบางพื้นที่ ทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มากขึ้น สภาพอากาศจึงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพในบางพื้นที่
แม้ว่า จะมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง ซึ่งช่วยลดความเข้มข้นของฝุ่นควันในอากาศลงได้บ้างก็ตาม
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– เช็คพื้นที่เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 24 – 26 เม.ย.นี้ – ฝน – ลม – ลูกเห็บ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือวันนี้ ทางตอนล่างของภาคที่ติดกับประเทศลาว มีแนวโน้มดีขึ้น ปริมาณฝุ่นลดลง แต่ทางตอนบนของภาคนั้น ยังคงมีสภาพอากาศอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่
โดยในช่วงวันที่ 5 – 8 พ.ค. นั้นอัตราการระบายอากาศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนืออยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี แต่ในช่วงวังที่ 9 -10 พ.ค. มีแนวโน้มที่การระบายอากาศจะทำได้น้อยลง
รวมถึงชั้นบรรยากาศใกล้ผิวพื้นยังคงมีภาวะค่อนข้างข้างปิด ซึ่งการมีฝนฟ้าคะนองในระยะนี้ จึงสามารถช่วยลดความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศได้
ภาคกลาง – ภาคตะวันตก
สำหรับในพื้นที่บริเวณภาคกลางและภาคตะวันตก ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน และส่วนใหญ่มีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี
ซึ่งในระยะนี้ การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ค่อนข้างอ่อน ชั้นบรรยากาศบริเวณใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิดจึงยังคงสามารถมีฝุ่นควันสะสมตัวได้ ในขณะที่หลายพื้นที่ยังคงมีฝนฟ้าคะนองสามารถช่วยลดความเข้มข้นของฝุ่นละอองในอากาศลงได้
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ
สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลนั้น แนวโน้มสภาพอากาศในระยะนี้ ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี-ดีมาก เนื่องจากการระบายอากาศดีขึ้นต่อเนื่อง มีกระแสลมใตักำลังค่อนข้างแรง ช่วยพัดฝุ่นละอองไม่ให้สะสมตัวได้
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | บ้านหนองไฮป่าหวาย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 327 |
2 | บ้านห้วยงู ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 206 |
3 | รร.บ้านกลาง หมู่บ้านบ้านกลาง ต.บ้านดง อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง | 164 |
4 | บ้านหนองปิด ต.สันทราย อ.พร้้าว จ.เชียงใหม่ | 161 |
5 | บ้านแม่ปั๋ง ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 153 |
6 | บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 150 |
7 | รพ.ปากคาด ต.โนนศิลา อ.ปากคาด จ.บึงกาฬ | 122 |
8 | บ้านท่ามะเกี๋ยง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 122 |
9 | จุดเฝ้าระวังฝุ่น PM ทต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน | 119 |
10 | รพ.จุน ต.ห้วยข้าวก่ำ อ.จุน จ.พะเยา | 116 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
จำนวนจุดความร้อนจากรายงานของ GISTDA เมื่อวานที่ผ่านมา พบทั้งหมด 2,513 จุด เพิ่มสูงขึ้นจากวันก่อนหน้านี้เกือบ 1พันจุด โดยเฉพาะในประเทศลาว ไทย และเมียนมาร์ ที่มีจำนวนจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัว
โดยรายงานจุดความร้อนที่พบในภูมิภาคเมื่อวานที่ผ่านมาในแต่ละประเทศมีดังนี้
- ลาว 1,056 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 566 จุด)
- ไทย 538 จุด (เพื่อมขึ้นจาก 286 จุด)
- เมียนมาร์ 468 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 210 จุด)
- เวียดนาม 271 จุด (ลดลงจาก 468 จุด)
- กัมพูชา 170 จุด (ลดลงจาก 280 จุด)
- มาเลเซีย 10 จุด ( ลดลงจาก 15 จุด)
จำนวนจุดความร้อนในประเทศไทย มีเพิ่มสูงขึ้นเกือบเท่าตัวโดยเพิ่มขึ้นในพื้นที่ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงภาคกลาง กระจายตัวและไม่ได้เกาะกลุ่มหนาแน่นมากนัก โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่
จังหวัด | จุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | ตาก | 51 |
2 | แพร่ | 36 |
3 | ร้อยเอ็ด | 26 |
4 | พะเยา | 26 |
5 | ลำปาง | 26 |
6 | น่าน | 22 |
7 | อุตรดิตถ์ | 22 |
8 | บุรีรัมย์ | 18 |
9 | สุโขทัย | 18 |
10 | นครสวรรค์ | 18 |