KEY :
- ภาคเหนือมีฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากการระบายอากาศในระยะนี้อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ค่อยดีนัก มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ฝนเริ่มลดลง และมีจุดความร้อนในพื้นที่เพิ่มสูงขึ้น
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือฝุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในบางพื้นที่ หลังจากที่ฝนเริ่มลดลง และฝุ่นควันเริ่มสะสมตัวได้มากขึ้น แต่ในช่วงหลังวันที่ 3 พ.ค. เป็นต้นไป คาดจะดีขึ้น จากการระบายอากาศที่ทำได้มากขึ้น
- ส่วนในภาคกลางบริเวณด้านตะวันตกของภาค ต่อเนื่องไปยังภาคตะวันตกมีแนวโน้มที่ฝุ่นสูงขึ้น หลังฝนเริ่มลดลง
…
ภาคเหนือ
บริเวณภาคเหนือ มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากในช่วงวันที่ 1 – 10 พ.ค. การระบายอากาศในพื้นที่ภาคเหนือจะอยู่ในเกณ์ฑ์ที่ไม่ค่อยดีเป็นส่วนใหญ่ มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นเกิดขึ้น ซึ่งที่ผ่านมา มีฝนตกในหลายพื้นที่ ช่วยลดปริมาณฝุ่นในอากาศ รวมถึงจุดความร้อนที่เกิดขึ้นจากการเผาลงได้
เมื่อฝนลดลง การระบายอากาศทำได้ไม่ดี ร่วมกับการมีจุดความร้อนในพื้นที่ที่เริ่มกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 จึงกลับมามีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– เช็คพื้นที่เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 24 – 26 เม.ย.นี้ – ฝน – ลม – ลูกเห็บ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
สำหรับในภาคตะวันออกเฉียงเหนือนั้น แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 กลับมาสูงขึ้นอีกครั้งในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาคที่ติดกับประเทศลาว และทางตอนล่างที่ติดกับประเทศกัมพูชา
ซึ่งเป็นผลมาจากการระบายอากาศที่ค่อนข้างอ่อน ในช่วงวันที่ 2-3 พ.ค. นี้ และจะดีขึ้นในช่วงวันที่ 4 – 7 พ.ค. ทำให้ในช่วง 1-2 วันนี้ สถานการณ์ฝุ่นในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือยังคงมีฝุ่นควันสะสมตัวได้ และจะดีขึ้นในช่วงหลังวันที่ 4 นอกจาก การที่มีฝนในหลายพื้นที่ จะเป็นปัจจัยที่ช่วยลดปริมาณฝุ่นในอากาศลงได้
ภาคกลาง – ภาคตะวันตก
ในพื้นที่บริเวณด้านตะวันตกของภาคกลางต่อเนื่องไปจนถึงภาคตะวันตก และทางตอนล่างของภาพเหนือ มีแนวโน้มจองฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมา โดยหลายพื้นที่มีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานหลายพื้นที่
ซึ่งเป็นผลจากการระบายอากาศบริเวณภาคกลางยังคงอยู่ในเกณฑ์อ่อน สภาวะอากาศบริเวณใกล้ผิวพื้นมีการสลับเปิด-เปิด จึงทำให้ยังคงมีฝุ่นสะสมตัวได้บางส่วน ดังนั้นเมื่อมีฝนตกเป็นบริเวณกว้าง จึงช่วยลดฝุ่นควันที่สะสมตัวในอากาศลงได้ แต่เมื่อมีภาวะฝนลดลง ก็จะทำให้ฝุ่นควันกลับมาเพิ่มสูงขึ้นได้
ซึ่งตั้งแต่ในช่วงวันที่ 3 พ.ค. เป็นต้นไป การระบายอากาศจะลดลงอยู่ในเกณฑ์อ่อน มีภาวะอากาศค่อนข้างปิดไปจึงคาดว่า จะส่งผลให้ปริมาณฝุ่นมีโอกาสที่จะเพิ่มสูงขึ้นได้
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ
บริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ลดลงเมื่อเทียบกับเมื่อวานที่ผ่านมา โดยยังคงอยู่สเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งในระยะนี้ การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี แม้จะมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นก็ตาม
แต่จากการที่มีฝนช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ร่วมกับกระแสลมที่แรงขึ้น อากาศยกตัวมากขึ้น จึงคาดว่า ในช่วงวันที่ 2-8 พ.ค. นี้แนวโน้มสภาพอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | บ้านห้วยบง ต.ทาเหนือ อ.แม่ออน จ.เชียงใหม่ | 496 |
2 | สถานีตรวจวัด รร.เสด็จวนชยางค์กูลวิทยา ต.บ้านเสด็จ อ.เมือง จ.ลำปาง | 185 |
3 | บ้านสหกรณ์ร่มเกล้า ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 178 |
4 | บ้านดอยสันเกี๋ยง ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ | 174 |
5 | รพ.ท่าสองยาง ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก | 164 |
6 | อบต.ป่าหุ่ง ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 144 |
7 | บ้านใหม่ปูเลย ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่ | 132 |
8 | รพ.แม่ระมาด ต.แม่ระมาด อ.แม่ระมาด จ.ตาก | 128 |
9 | สถานีตรวจวัด หมู่บ้านสบป้าด ต.สบป้าด อ.แม่เมาะ จ.ลำปาง | 127 |
10 | จุดเฝ้าระวังฝุ่น PM ทต.เหมืองจี้ อ.เมือง จ.ลำพูน | 123 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
รายงานจุดความร้อนจาก GISTDA ที่พบเมื่อวานที่ผ่านมาในภูมิภาคมีทั้งหมด 2,360 จุดลดลงจากเมื่อวันก่อนหน้าราว 1 พันจุด โดยเฉพาะในประเทศลาวที่ลดลงค่อนข้างมาก ในขณะที่เมียนมาร์ มีทิศทางที่ลดลงต่อเนื่องในช่วง 2-3 วันที่ผ่านมา
โดยพบในประเทศต่าง ๆ ดังนี้
- เมียนมาร์ 1,386 จุด (ลดลงจาก 1,527 จุด)
- ไทย 623 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 502 จุด)
- ลาว 120 จุด (ลดลงจาก 752 จุด)
- กัมพูชา 123 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 118 จุด)
- เวียดนาม 85 จุด (ลดลงจาก 250 จุด)
- มาเลเซีย 23 จุด ( เพิ่มขึ้นจาก 13 จุด)
สำหรับประเทศไทยแนวโน้มจุดความร้อนในประเทศมีจำนวนเพิ่มสูงขึ้นเป็นวันที่ 2 ติดต่อ หลังจากลดลงในช่วงก่อนหน้า ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือ 17 จังหวัดจำนวนจุดความร้อนกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยพบทั้งหมด 444 จุด เกาะกลุ่มอยู่ในบริเวณจังหวัดลำปาง เชียงราย พะเยา แพร่ ในขณะที่บริเวณภาคกลาง มีแนวโน้มที่พบเกาะกลุ่มในพื้นที่จังหวัด สิงห์บุรี สุพรรณบุรี อยุธยา
โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่
จังหวัด | จุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | ลำปาง | 75 |
2 | เชียงใหม่ | 45 |
3 | แม่ฮ่องสอน | 38 |
4 | พะเยา | 36 |
5 | เชียงราย | 31 |
6 | ตาก | 29 |
7 | แพร่ | 26 |
8 | เพชรบูรณ์ | 25 |
9 | สุโขทัย | 24 |
10 | ลพบุรี | 24 |