คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือลดลงต่อเนื่อง

ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือลดลงต่อเนื่อง

KEY :

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในประเทศไทย หลายพื้นที่มีแนวโน้มที่ดีขึ้น โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่มีฝน และกระแสลมแรง ช่วยลดการสะสมตัวของฝุ่นควันในพื้นที่ได้มากขึ้น แม้ว่าจะยังคงมีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานอยู่ก็ตาม

ภาคเหนือ

ภาคเหนือในเช้าวันนี้ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 มีแนวโน้มที่ดีขึ้น หลายพื้นที่ปริมาณฝุ่นลดลงอย่างชัดเจน แม้ว่า จะยังคงเหลืออีกหลายพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน แต่ไม่ได้สูงจนวิกฤติเหมือนช่วงก่อนหน้านี้

ซึ่งแม้ว่า ในระยะนี้การระบายอากาศในภาคเหนือจะอยู่ในเกณฑ์อ่อน และมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นก็ตาม แต่การเกิดพายุฝนฟ้าคะนองในหลายพื้นที่ ส่งผลให้มีกระแสลมแรงขึ้น ร่วมกับฝน ทำให้ฝุ่นควันไม่สามารถสะสมตัวได้มากนัก ทำให้อากาศเริ่มดีขึ้น

อย่างไรก็ตาม ยังคงต้องเฝ้าติดตามสถานการณ์ในหลังจากสิ้นสุดช่วงที่จะมมีพายุฤดูร้อน ตั้งแต่วันที่ 27 เม.ย. เป็นต้นไปอีกครั้ง

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
เตรียมรับมือ “พายุฤดูร้อน” 23 – 26 เม.ย.นี้ – ฝน – ลม – ลูกเห็บ

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา ซึ่งแม้ว่าในระยะนี้ จะมีสภาวะการระบายอากาศค่อนข้างดี แต่ยังคงภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ทำให้ฝุ่นควันยังคงสามารถสะสมตัวได้

นอกจากนี้ ในช่วงวันที่ 24 – 27 เม.ย. อัตราการระบายอากาศในพื้นที่มีแนวโน้มที่ลดลง แต่ในขณะเดียวกัน ก็มีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้นร่วมด้วย จึงทำให้ฝุ่นควันยังคงสะสมอยู่บางส่วน ทำให้คาดว่า ปริมาณฝุ่นจะยังคงไม่สูงไปมากกว่าเดิม

ภาคกลาง – ภาคตะวันตก

บริเวณภาคกลางและภาคตะวันตก แม้ว่าการระบายอากาศจะยังคงอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่ภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นยังคงทำให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้

นอกจากนี้ ในช่วง 23 – 26 เม.ย. นี้ บริเวณประเทศไทยตอนบน จะมีพายุฤดูร้อนเกิดขึ้น โดยเป็นพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรง ซึ่งคาดว่าจะช่วยลดการสะสมของฝุ่นควันในพื้นที่เพิ่มขึ้น ร่วมกับการระบายอากาศที่ดีขึ้น

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคใต้

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคใต้มีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้ในขณะนี้ พื้นที่ภาคใต้ส่วนใหญ่มีสภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ยกเว้นในพื้นที่บริเวณจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่ยังคงมีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับเกินค่ามาตรฐานเมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมา โดยอยู่ในระดับสีส้ม หรือเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ ฝุ่นเพิ่มขึ้น

สถานการณ์ในพื้นทีกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเช้าวันนี้ พบว่า แนวโน้มของปริมาณฝุ่น ยังคงอยู่ในระดับที่ใกล้เคียงกับเมื่อวานที่ผ่านมา โดยในช่วงวันที่ 24 – 30 เม.ย. ยังคงมีแนวโน้มที่ฝุ่นควันจะสามารถสะสมตัวได้ในบางพื้นที่ ส่งผลให้มีปริมาณฝุ่นสูงขึ้น

โดยในช่วงหลังวันที่ 25 เม.ย. คาดว่า สถานการณ์จะดีขึ้น จากสภาพอากาศเปิดมากขึ้น การลอยตัวของอากาศสูงขึ้น มีกระแสลมใต้ช่วยพัดฝุ่นควันไม่ให้สะสมตัวในพื้นที่

ในพื้นที่กรุงเทพฯ ผลการตรวจวัดเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา มีทั้งหมด 59 พื้นที่ ที่พบว่า มีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับสีส้ม หรือ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว

โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่

เขตปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.)76
2เขตบึงกุ่ม68
3เขตบางนา65
4เขตปทุมวัน64
5เขตประเวศ64
6เขตดินแดง (สถานี คพ.)63
7เขตคลองสาน63
8เขตคลองเตย62
9เขตวังทองหลาง61
10เขตบางกอกน้อย61

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1สสอ.เลาขวัญ
ต.เลาขวัญ อ.เลาขวัญ จ.กาญจนบุรี
215
2บ้านหลวง
ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
215
3รพ.สต.โคกเจริญ
ต.โคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
195
4บ้านห้วยริน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
191
5รพ.ท่าสองยาง
ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
186
6หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม.5 (ปิงโค้ง)
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
176
7บ้านดอยสันเกี๋ยง
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
154
8บ้านแม่ปาน
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
152
9บ้านแม่เลิม
ต.บ้านเป้า อ.แม่แตง จ.เชียงใหม่
142
10รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า
ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย
136

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

ในวันนี้ จำนวนจุดความร้อนในภูมิภาคมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในเกือบทุกประเทศ โดยพบจุดความร้อนทั้งหมด 9,081 จุด ลดลงจากเมื่อวันก่อน เป็นผลมาจากจำนวนจุดความร้อนในประเทศเมียนมาร์ที่ลดลงค่อนข้างมาก ในขณะที่หลายประเทศยังคงเพิ่มสูงขึ้นไม่มากนัก

ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้

สำหรับพื้นที่ประเทศไทยนั้น จุดความร้อนที่พบทั้งหมด แบ่งเป็นพบในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 442 จุด มีแนวโน้มลดลง

สำหรับ 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เพชรบูรณ์94
2กาญจนบุรี66
3เชียงใหม่59
4สกลนคร53
5แพร่44
6พิษณุโลก38
7อุบลราชธานี35
8ลำปาง34
9ตาก34
10แม่ฮ่องสอน33

ข่าวที่เกี่ยวข้อง