คัดลอก URL แล้ว
ภาคเหนือ – อีสาน PM 2.5 ลดลง หลังมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง

ภาคเหนือ – อีสาน PM 2.5 ลดลง หลังมีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรง

KEY :

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ แนวโน้มมีฝุ่นควันลดลงในหลายพื้นที่ จากการที่มีพายุฝนฟ้าคะนอง ลมแรงเกิดขึ้นทางตอนบนของประเทศไทย ส่งผลให้ช่วยลดฝุ่นควันที่สะสมตัวในอากาศลงได้เพิ่ม

ภาคเหนือ

สถานการณ์ฝุ่นควันในภาคเหนือวันนี้ มีแนวโน้มดีขึ้นค่อนข้างมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการที่เมื่อวานนี้ มีฝนตกในหลายพื้นที่ บริเวณภาคเหนือ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค เช่น เชียงราย เชียงใหม่ น่าน ลำปาง ช่วยลดปริมาณฝุ่นควันที่สะสมในอากาศลงได้

แต่หลายพื้นที่ ยังคงมีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน เนื่องจากที่ผ่านมา มีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับที่สูงมาก รวมถึงในพื้นที่ที่มีฝนตกน้อย เช่นบริเวณจังหวัดแม่ฮ่องสอน เชียงใหม่ (ตอนล่าง) ลำพูน ดังนั้น หากในช่วง 3-4 วันนี้ ยังคงมีฝนตกต่อเนื่อง คาดว่า จะช่วยลดฝุ่นควันที่ได้มากขึ้น และสถานการณ์น่าจะดีขึ้นอีก

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือทางตอนบนของภาค ปริมาณฝุ่นลดลงค่อนข้างมาก เมื่อเทียบกับเมื่อวานที่ผ่านมา เช่นเดียวกับทางด้านตะวันออกของภาค ซึ่งเป็นผลมาจากการมีลมกระโลกแรง และฝนตกบางแห่ง ทางตอนบน ทำให้ฝุ่นควันในอากาศสะสมตัวได้ลดลง

อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 24- 29 เม.ย. การระบายอากาศในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะลดลง อยู่ในเกณฑ์อ่อน จึงควรเฝ้าระวังและติดตามสถานการณ์ต่อเนื่อง

ภาคกลาง – ภาคตะวันตก

สำหรับในพื้นที่ภาคกลาง และภาคตะวันตก ส่วนใหญ่ยังคงมีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ร่วมกับพบว่า มีรายงานจุดความร้อนที่เกิดจากการเผาเพิ่มสูงขึ้น ในพื้นที่ตอนกลางของประเทศ ร่วมกับสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ทำให้ฝุ่นควันยังคงสามารถสะสมตัวได้

ภาคใต้

บริเวณภาคใต้ส่วนใหญ่สภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี ฝุ่น PM 2.5 ลดลงต่อเนื่อง โดยยังคงเหลือพื้นที่บริเวณทางตอนบนของภาคที่ยังคงมีฝุ่นอยู่ในระดับที่สูงกว่าทางตนอล่างของภาค

บริเวณจังหวัดภูเก็ต – พังงา ฝุ่น PM 2.5 ลดลง จากที่ก่อนหน้านี้อยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ก็ลดลงเหลือระดับปานกลางแล้ว และคาดว่าจะลดลงต่อเนื่อง

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ ฝุ่นเพิ่มขึ้น

ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่า ในระยะนี้ จะมีการระบายอากาศดีก็ตาม แต่มีภาวะอากาศปิดใกล้พื้นผิวต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่นควัน ยังคงสะสมตัวได้บางส่วน โดยคาดว่า หลังจากวันที่ 23 เม.ย. เป็นต้นไป สถานการณ์น่าจะเริ่มดีขึ้น จากการระบายอากาศและอากาศยกตัวมากขึ้น

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ วันนี้ ( 22 เม.ย. ) ส่วนใหญ่มีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ พบทั้งหมด 61 พื้นที่ และหลายพื้นที่มีแนวโน้มที่ค่าฝุ่นสูงกว่าเมื่อวานที่ผ่านมา ( ณ เวลา 08.00 น.)

โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่

เขตปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.)64
2เขตบางนา68
3เขตดินแดง (สถานี คพ.)67
4เขตคลองสาน66
5เขตสัมพันธวงศ์65
6เขตปทุมวัน65
7เขตหนองจอก64
8เขตคลองเตย64
9เขตจตุจักร63
10เขตประเวศ63

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1สสอ.ไพศาลี
ต.โคกเดื่อ อ.ไพศาลี จ.นครสวรรค์
562**
2บ้านดอยสันเกี๋ยง
ต.ช่างเคิ่ง อ.แม่แจ่ม จ.เชียงใหม่
192
3รพ.สต.โคกเจริญ
ต.โคกสาร อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ
183
4สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมืองนะ
จ.เชียงใหม่
168
5บ้านสันตะผาบ
ต.ป่่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
168
6ตลาดสดบ้านหล่ายแก้ว
ต.ศรีเตี้ย อ.บ้านโฮ่ง ลำพูน
166
7ชุมชนหมื่นสาร
ต.หายยา อ.เมือง จ.เชียงใหม่
165
8รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
164
9ศูนย์ส่งเสริมพฤฒพลังผู้สูงอายุ มช.
ต.ช้างคลาน อ.เมือง จ.เชียงใหม่
162
10รพ.ท่าสองยาง
ต.แม่ต้าน อ.ท่าสองยาง จ.ตาก
161

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาคเมื่อวานที่ผ่านมา พบว่า มีจำนวนจุดความร้อนลดลงจากวันก่อนหน้า โดยพบจุดความร้อนทั้งหมด 9,013 จุด แต่ก็ยังถือว่า อยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง

ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้

สำหรับในประเทศไทย รายงานจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น โดยพบในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ 670 จุด แนวโน้มในช่วง 2-3 วันนี้ พบว่า แนวโน้มจุดความร้อนในพื้นที่ภาคเหนือเพิ่มสูงขึ้นไม่มากนัก แต่แนวโน้มในภาคอื่น มีจำนวนเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะบริเวณภาคกลาง

สำหรับ 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่

จังหวัดจุดความร้อน
1เชียงใหม่90
2เพชรบูรณ์85
3แม่ฮ่องสอน61
4กาญจนบุรี56
5น่าน56
6ตาก50
7กำแพงเพชร48
8ลำปาง44
9แพร่37
10เชียงราย35

ข่าวที่เกี่ยวข้อง