KEY :
- ประเทศไทยตอนบน ส่วนใหญ่มีฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน
- ภาคเหนือ ฝุ่น PM 2.5 ลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงสูงและอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ส่วนใหญ่สูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ในขณะที่บางพื้นที่ทางตอนบน มีฝุ่นอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
- ภาคกลาง-ภาคตะวันตก ส่วนใหญ่ฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในเกณฑ์ที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพเช่นกัน
- ภาคใต้ แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ดีขึ้น มีทิศทางที่ลดลง
…
สภานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในภาพรวมนั้น บริเวณประเทศไทยตอนบนส่วนใหญ่ยังคงมีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน จากการะบายอากาศที่ทำได้ไม่ดี ส่งผลให้ฝุ่นสามารถสะสมตัวได้ในระดับปานกลาง-มาก โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่ปริมาณฝุ่นยังคงอยู่ในระดับที่สูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
ภาคเหนือ
โดยแนวโน้มในภาคเหนือ แม้ว่าหลายพื้นที่จะมีทิศทางที่ลดลง แต่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงอย่างต่อเนื่อง ส่วนใหญ่ของพื้นที่มีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหลายพื้นที่
ซึ่งเป็นผลมาจากการระบายอากาศในช่วงวันที่ 19 -27 เม.ย. ยังคงอยู่ในระดับที่ “ไม่ดี – อ่อน” มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่อง โดยในช่วงวันที่ 20 -22 เม.ย. นี้แนวโน้มสภาพอากาศจะยกตัวได้สูงขึ้น ร่วมกับการมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง คาดว่าจะช่วยลดปริมาณฝุ่นลงได้เล็กน้อย ในช่วง 1-2 วันนี้
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ ยังคงพบว่า มีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่ แม้ว่าในช่วงวันที่ 20 – 23 เม.ย. บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีแนวโน้มในการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดี แต่มีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ทำให้ยังคงมีการสะสมตัวของฝุ่นควันได้ในระดับปานกลาง
แต่ในช่วงวันที่ 24 – 27 เม.ย. แนวโน้มการระบายอากาศจะทำได้ลดลง ทำให้ฝุ่นควันน่าจะสะสมได้มากขึ้นในช่วงดังกล่าว
ภาคกลาง – ภาคตะวันตก
ภาคกลางและภาคตะวันตก ส่วนใหญ่ยังคงมีปริมาณฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ ซึ่งเป็นผลมากจากการระบายอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ “อ่อน – ดี” มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นสะสมตัวได้
โดยเฉพาะในช่วงวันที่ 20 -21 เม.ย. นี้ ที่การระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ ก่อน และจะเพิ่มสูงขึ้นในวันที่ 22 เม.ย. ทำให้ในช่วง 1-2 วันนี้ แนวโน้มฝุ่นในพื้นที่ภาคกลาง-ภาคตะวันตกน่าจะสูงขึ้นอีก
ภาคใต้
สำหรับบริเวณภาคใต้ โดยเฉพาะทางตอนล่างของภาค มีแนวโน้มที่ฝุ่นลดลงอย่างต่อเนื่อง จากสภาพอากาศเปิด และยกตัวอีกขึ้น รวมถึงมีฝนตกในหลายพื้นที่ ทำให้ฝุ่นควันไม่สามารถสะสมตัวได้มากนัก
บริเวณจังหวัดภูเก็ต – พังงา ที่เคยมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงในช่วงก่อนหน้านี้ ก็มีแนวโน้มลดลงต่อเนื่อง ทำให้สภาพอากาศบริเวณภาคใต้ตอนล่างอยู่ในเกณฑ์ ปานกลาง – ดี
ส่วนบริเวณภาคใต้ตอนบน เช่นที่จ.ประจวบคีรีขันธ์ ยังมีปริมาณฝุ่นอยู่ในระดับสีส้ม หรือเริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ ฝุ่นเพิ่มขึ้น
พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในวันนี้ (20 เม.ย.) มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมา โดยพบว่า ในระยะนี้ แม้ว่าบริเวณกรุงเทพฯ และปริมณฑล จะมีการระบายอากาศที่อยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างดี แต่มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นในบางวัน ทำให้ในวันที่สภาพอากาศปิด นั้นจะมีฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น โดยในช่วงหลังจากวันที่ 21 เม.ย. เป็นต้นไป แนวดน้มการระบายอากาศจะอยู่ในระดับที่ดีขึ้น
ในพื้นที่กรุงเทพฯ ผลการตรวจวัดเมื่อเวลา 0800 น. ที่ผ่านมา มีทั้งหมด 40 พื้นที่ ที่พบว่า มีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับสีส้ม หรือ เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว
โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่
เขต | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.) | 77 |
2 | เขตบึงกุ่ม | 65 |
3 | เขตปทุมวัน | 62 |
4 | เขตคลองสาน | 61 |
5 | เขตคลองเตย | 61 |
6 | เขตดินแดง (สถานี คพ.) | 60 |
7 | เขตบางกอกน้อย | 60 |
8 | เขตบางนา | 59 |
9 | เขตวังทองหลาง | 58 |
10 | เขตบางกอกใหญ่ | 58 |
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 578 |
2 | บ้านปางมะเยา หย่อมบ้านห้วยต้นโชค ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 434 |
3 | รพ.สต.บ้านงิ้วเฒ่า ต.ป่าหุ่ง อ.พาน จ.เชียงราย | 385 |
4 | บ้านสันกลาง ต.ป่่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 374 |
5 | บ้านท่ามะเกี๋ยง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 364 |
6 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 347 |
7 | บ้านสันปอธง ต.ป่่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 346 |
8 | บ้านสันตะผาบ ต.ป่่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 307 |
9 | บ้านปางมะเยา หย่อมบ้านห้วยตะเคียน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 307 |
10 | บ้านห้วยน้ำริน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 302 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
แนวโน้มจุดความร้อนในภูมิภาคกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง โดยเฉพาะในประเทศลาว และเมียนมาร์ หลังสิ้นสุดเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา โดยพบจุดความร้อนทั้งหมด 10290 จุด
ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้
- ลาว 4,655 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 3,410 จุด)
- เมียนมาร์ 3,901 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 3,258 จุด)
- ไทย 878 จุด (ลดลงจาก 1,328 จุด)
- เวียดนาม 737 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 553 จุด)
- กัมพูชา 100 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 55 จุด)
- มาเลเซีย 19 จุด (ลดลงจาก 33 จุด)
สำหรับในพื้นที่ประเทศไทย จุดความร้อนที่พบเมื่อวานที่ผ่านมา มีจำนวนลดลง แต่ส่วนใหญ่ยังคงเกาะกลุ่มอยู่ในพื้นที่ภาคเหนือของไทยทั้ง 17 จังหวัด มีจำนวนทั้งหมด 577 จุด ส่วนที่เหลือพบกระจายกันอยู่ในภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคตะวันตก
สำหรับ 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงที่สุดได้แก่
จังหวัด | จุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | เชียงราย | 144 |
2 | น่าน | 81 |
3 | เชียงใหม่ | 61 |
4 | เพชรบูรณ์ | 52 |
5 | กำแพงเพชร | 37 |
6 | กาญจนบุรี | 32 |
7 | พะเยา | 31 |
8 | แม่ฮ่องสอน | 28 |
9 | อุดรธานี | 27 |
10 | สกลนคร | 25 |