KEY :
- ภาคเหนือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ในเช้าวันนี้ ลดลงจากเมื่อวานที่ผ่านมาหลายพื้นที่ แต่ยังอยู่ในระดับสูงเกินค่ามาตรฐาน และส่งผลกระทบต่อสุขภาพเป็นส่วนใหญ่
- บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวโน้มฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางด้านตะวันออกของภาค
- ภาคกลาง ปริมาณฝุ่นลดลงเล็กน้อย แต่ยังคงอยู่ในระดับสูงเกินค่ามาตรฐานเป็นส่วนใหญ่
- ภาคใต้ ภาพรวมแนวโน้มยังคงใกล้เคียงเดิม โดยบริเวณพังงา ภูเก็ตมีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ
…
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ ( 17 เม.ย. ) หลายพื้นที่ในประเทศไทยยังคงมีปริมาณฝุ่นสูงเกินค้ามาตรฐาน โดยเฉพาะในภาคเหนือ ที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูงและเป็นอันตรายต่อสุขภาพอย่างต่อเนื่อง
ซึ่งในหลายพื้นที่บริเวณภาคเหนือมีปริมาณฝุ่นลดลง แต่ไม่มากนัก โดยในวันนี้ ( 17 เม.ย. ) คาดว่าจะเป็นวันที่มีการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีที่สุดในระยะนี้ จึงทำให้ส่วนใหญ่ยังอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ เนื่องจากตั้งแต่ 18-25 เม.ย. ในพื้นที่ภาคเหนือยังคงมีการระบายอากาศไม่ดีนัก มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นอย่างต่อเนื่อง
ส่วนรายงานจุดความร้อนในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือลดลงเพียงเล็อกน้อยเท่านั้น ในขณะที่พื้นที่เชียงใหม่ เชียงราย น่าน มีรายงานพบจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้น
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แนวโน้มค่าฝุ่น PM 2.5 เริ่มกลับมาเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ และอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว หลังจากที่แนวโน้มการเกิดพายุฝนฟ้าคะนอง ลมกระโชกแรงเริ่มลดลง โดยในช่วงวันที่ 17-23 เม.ย. การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” แต่ยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวได้
สำหรับภาคกลาง ในช่วงวันที่ 17-25 เม.ย. นี้ คาดว่า จะมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้ ทำให้ในระยะนี้ สถานการณ์ยังคงใกล้เคียงเดิม โดยมีทิศทางที่ลดลงเล็กน้อย ที่ยังคงสูงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะด้านตะวันตกของภาค
ซึ่งอาจจะต้องเฝ้าระวังในช่วงวันที่ 20 -22 เม.ย. อีกครั้ง เนื่องจากการระบายอากาศมมีแนวโน้มลดลงในช่วงดังกล่าว
ภาคใต้ สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในวันนี้ ยังคงมีแนวโน้มที่ทรงตัว จากเมื่อวานที่ผ่านมา โดยเฉพาะที่บริเวณจังหวัดพังงา ภูเก็ต ที่มีผลการตรวจวัดเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา มีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ ลดลงเล็กน้อย
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นทีกรุงเทพฯ และปริมณฑลในเช้าวันนี้ ( 17 เม.ย. 08.00 น. ) ปริมาณฝุ่นที่วัดได้ มีแนวโน้มลดลงจากเมื่อวานนี้เล็กน้อย แต่ยังคงเกินค่ามาตรฐานในหลายพื้นที่
ซึ่งในช่วง 14-16 เม.ย. ที่ผ่านมานั้น บริเวณพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น การระบายอากาศไม่ดีนัก แต่แนวโน้มในช่วงตั้งแต่ 18 – 20 เม.ย. สถานการณ์จะดีขึ้น การระบายอากาศจะทำได้มากขึ้น
สำหรับพื้นที่กรุงเทพฯ ในวันนี้ พบว่า พื้นที่ส่วนใหญ่มีปริมาณฝุ่นในระดับปานกลาง และโดยมี 38พื้นที่ ที่พบว่า มีฝุ่นสูงอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ โดยเฉพาะทางด้านตะวันตะวันตกของกรุงเทพฯ
โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่
เขต | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตบางกอกน้อย | 68 |
2 | เขตดินแดง (สถานี คพ.) | 66 |
3 | เขตคลองสาน | 65 |
4 | เขตพระนคร | 65 |
5 | เขตบึงกุ่ม | 65 |
6 | เขตปทุมวัน | 62 |
7 | เขตบางกอกใหญ่ | 61 |
8 | เขตคลองเตย | 60 |
9 | เขตสาทร | 59 |
10 | เขตสาทร | 59 |
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รพ.สต.บ้านปางเฟือง จ.เชียงใหม่ | 942 |
2 | บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 464 |
3 | หน่วยป้องกันรักษาป่าที่ ชม.5 (ปิงโค้ง) ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 452 |
4 | สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมืองนะ จ.เชียงใหม่ | 426 |
5 | รพ.แม่วาง ต.บ้านกาด อ.แม่วาง จ.เชียงใหม่ | 422 |
6 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 386 |
7 | บ้านทุ่งบวกข้าว ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 379 |
8 | รพ.สต.บ้านไตรสภาวคาม ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 363 |
9 | รพ.แม่สาย ต.เวียงพางคำ อ.แม่สาย จ.เชียงราย | 336 |
10 | บ้านปางโม่ ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 330 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค
สถานการณ์จุดความร้อนในภูมิภาคแม้ว่าจะมีแนวโน้มลดลงในช่วงสงกรานต์ที่ผ่านมา แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างสูง โดยพบจุดความร้อนทั้งหมด 7980 จุด
ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้
- เมียนมาร์ 5,417 จุด (ลดลงจาก 7,984 จุด)
- ลาว 1,331 จุด (ลดลงจาก 1,897 จุด)
- ไทย 1,100 จุด (ลดลงจาก 1,311 จุด)
- เวียดนาม 78 จุด (ลดลงจาก 199 จุด)
- มาเลเซีย 49 จุด (ลดลงจาก 61 จุด)
- กัมพูชา 5 จุด (ลดลงจาก 99 จุด)
ส่วนในประเทศไทยรายงานจุดความร้อนที่พบในประเทศมีแนวโน้มที่ลดลงเช่นกัน โดยในพืันที่ 17 ภาคเหนือพบจุดความร้อนทั้งหมด 1,037 จุด (ลดลง 29 จุด) แต่ในบางจังหวัดยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น เช่น เชียงราย เชียงใหม่ น่าน
โดย 10 จังหวัดที่พบจุดความร้อนสูงสุดได้แก่
จังหวัด | จำนวนจุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | เชียงราย | 279 |
2 | เชียงใหม่ | 215 |
3 | น่าน | 115 |
4 | ลำปาง | 73 |
5 | แม่ฮ่องสอน | 60 |
6 | แพร่ | 53 |
7 | พะเยา | 42 |
8 | เพชรบูรณ์ | 42 |
9 | ตาก | 35 |
10 | ลำพูน | 28 |