คัดลอก URL แล้ว
เหนือ PM 2.5 ยังวิกฤติ / เชียงใหม่ฝุ่นมากสุด – จุดความร้อนเยอะสุด

เหนือ PM 2.5 ยังวิกฤติ / เชียงใหม่ฝุ่นมากสุด – จุดความร้อนเยอะสุด

KEY :

สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 บริเวณประเทศไทย มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่ โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือตอนล่าง ภาคกลาง ซึ่งเป็นผลมาจากการระบายอากาศที่มีแนวโน้มทำได้ลดลง

สำหรับในพื้นที่ภาคเหนือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ที่ตรวจวัดได้นั้น ยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่อง และคาดว่า ในภาคเหนือจะยังคงเผชิญสภาวะฝุ่น PM 2.5 เกินค่ามาตรฐานเช่นนี้ต่อไปอย่างถึงช่วงสิ้นสุดสงกรานต์

ซึ่งในช่วง 13-20 เม.ย. นี้ จะเป็นช่วงที่การระบายอากาศในภาคเหนืออยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ไม่ดี” โดยในช่วงวันที่ 21 เม.ย. การระบายอากาศจะเพิ่มสูงขึ้น แต่ก็ยังคงอยู่ในระดับที่ทำให้ฝุ่นสะสมตัวได้เช่นเดิม

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

โดยในวันนี้ พื้นที่ของ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ ถือเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดได้อยู่ในเกณฑ์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย และจากรายงานการตรวจวัดฝุ่น PM 2.5 ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. วันนี้ พบว่า

จาก 50 จุดที่มีปริมาณฝุ่นสูงที่สุดในประเทศไทย มีมากถึง 36 จุดที่เป็นพื้นที่ในอ.พร้าว จ.เชียงใหม่ นอกจากนี้ เชียงใหม่ ยังมีรายงานจุดความร้อนสูงที่สุดในประเทศไทยอีกด้วย

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

สำหรับในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือวันนี้ สถานการณ์ยังคงใกล้เคียงกับเมื่อวานนี้ โดยมีแนวโน้มที่ฝุ่นลดลงเล็กน้อยในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะด้านตะวันออกของภาค ที่ติดกับประเทศลาว มีแนวโน้มลดลง ก็แต่ก็ยังคงเกินค่ามาตรฐาน และหลายพื้นที่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ

บริเวณภาคกลางนั้น การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ดี” แต่มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นต่อเนื่อง ส่งผลให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้ และทำให้ปริมาณของ PM 2.5 สูงขึ้นในบางพื้นที่ แต่ในช่วงวันที่ 15-16 เม.ย. แนวโน้มการระบายจะทำได้ลดลงเล็กน้อย จึงควรเฝ้าระวังในช่วงดังกล่าว

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ มีแนวโน้มสูงขึ้น

พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในเช้าวันสงกรานต์ พบว่า ปริมาณฝุ่นมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น แม้หลายพื้นที่ยังคงอยู่ในระดับที่ไม่เกินค่ามาตรฐาน แต่สภาพอากาศส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง

ซึ่งคาดว่า ในช่วงวันที่ 14-15-16 นี้ แนวโน้มการระบายอากาศในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแนวโน้มลดลง มีภาวะอากาศใกล้ผิวพื้นค่อนข้างปิด ส่งผลให้คาดว่า จะมีฝุ่นควันสะสมตัวได้มากขึ้นอีก

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5*
1บ้านหลวง
ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
793
2บ้านห้วยกุ
ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
759
3รพ.สต.บ้านใหม่
ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
756
4บ้านขวัญประชา
ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
726
5บ้านทรายทอง
ต.เขื่อนผาก อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
706
6บ้านทุ่งบวกข้าว
ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
689
7บ้านป่าแขม
ต.แม่แวน อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
681
8บ้านหนองไฮป่าหวาย
ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
656
9บ้านห้วยทราย
ต.แม่ปั๋ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
654
10ไร่บุญสม
ต.ป่าตุ้ม อ.พร้าว จ.เชียงใหม่
630

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาค

สถานการณ์ของการพบจุดความร้อนที่เกิดจากการเผาในภูมิภาคยังคงอยู่ในระดับที่ลดลงค่อนข้างมาก โดยลดลงเหลือ 16548 จุด จากกว่า 2.3 หมื่นจุด แต่ก็ยังคงถือว่า อยู่ในเกณฑ์ที่สูงต่อเนื่อง

ซึ่งจำนวนจุดความร้อนที่พบในประเทศต่าง ๆ ในภูมิภาคมีจำนวนดังต่อไปนี้

ซึ่งในประเทศไทย รายงานจุดความร้อนที่เกิดขึ้นในประเทศยังคงเป็นไปในทิศทางขาขึ้นต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ติดต่อกันแล้ว และจากจำนวน 2,030 จุดนั้น พบในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือจำนวน 1,685 จุด

แนวโน้มเป็นการพบจุดความร้อนเพิ่มสูงขึ้นต่อเนื่องในหลายพื้นที่ด้วยกัน รวมถึงการพบรายงานการเผาวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่ภาคกลางเพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะการเผาฝางข้าว

จังหวัดจำนวนจุดความร้อน
1เชียงใหม่399
2เชียงราย285
3น่าน177
4กำแพงเพชร111
5แม่ฮ่องสอน109
6ตาก105
7พะเยา95
8กาญจนบุรี76
9อุตรดิตถ์65
10ลำปาง59

ข่าวที่เกี่ยวข้อง