KEY :
- แนวโน้มฝุ่น PM 2.5 ในไทยยังคงเพิ่มสูงขึ้น สภาพอากาศที่มีมีการระบายอากาศได้ไม่ดีนัก มีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นในหลายพื้นที่
- ภาคเหนือยังคงวิกฤติหนักต่อเนื่อง จากการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน กระแสลมไม่แรงมากนัก มีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น รวมถึงจุดความร้อนที่พบลดลงเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คาด ต่อเนื่องถึงสงกรานต์
- 10 จุดที่ฝุ่นสูงที่สุดในประเทศไทย มีปริมาณฝุ่นสูงเกิน 800 มคก./ลบม. ทั้งหมด และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่
- พบ 2 จุดในพื้นที่อ.พร้าว และ อ.เชียงดาว จ. เชียงใหม่ วัดปริมาณฝุ่นสูงได้มากกว่า 900 มคก./ลบม.
…
แนวโน้มฝุ่นละอองขนาดเล็ก หรือ PM 2.5 ในประเทศไทยยังคงอยู่ในระดับวิกฤติอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะบริเวณภาคเหนือ ต่อเนื่องจนถึงบริเวณทางตอนบนของภาคกลาง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
โดยเฉพาะในภาคเหนือปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เนื่องจากการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน” มีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสะสมตัวได้มาก ร่วมกับการเผาในพื้นที่ที่ยังคงอยู่ในระดับที่สูง
รายงานการตรวจวัดปริมาณฝุ่น PM 2.5 ของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า ใน 10 อันดับแรกของพื้นที่ที่มีฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศไทยนั้น มีปริมาณฝุ่นสูงกว่า 800 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรทั้งหมด
โดยเฉพาะในพื้นที่ของอ.พร้าว และ อ.เชียงดาว ในจังหวัดเชียงใหม่ ยังคงเป็นพื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่น PM 2.5 สูงมาก ๆ ซึ่งในจุดตรวจวัดที่บ้านท่ามะเกี๋ยง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ มีปริมาณฝุ่นสูงถึง 977 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร ส่วนที่รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ 942 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร
ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือจะยังคงมีสภาวะอากาศปิด การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์อ่อน ต่อเนื่องไปจนถึงวันที่ 14 เม.ย. ทำให้ประชาชนในพื้นที่ภาคเหนือ น่าจะยังต้องเผชิญกับสภาวะฝุ่น PM 2.5 ต่อเนื่องไปจนถึงช่วงสงกรานต์
ในขณะที่บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง อัตราการระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน-ดี” ในช่วงวันที่ 8 -14 เม.ย. นี้ และยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นยังคงสะสมตัวได้ ซึ่งในบางพื้นที่ที่มีฝน และลมแรง ก็จะช่วยลดฝุ่นควันลงได้บ้าง
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ เฝ้าระวังฝุ่นต่อเนื่อง
สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล ยังคงอยู่เกณฑ์ปานกลางถึงดี ซึ่งในระยะนี้สภาพอากาศมีแนวโน้มจะค่อย ๆ ดีขึ้น มีสภาพอากาศเปิดมากขึ้น อากาศเริ่มจะยกตัวสูงมากขึ้น ประกอบกับมีลมใต้ช่วยพัดพาฝุ่นควันไม่ให้สะสมในพื้นที่ แต่ยังคงมีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้นส่งผลให้ยังคงมีฝุ่นควันสะสมตัวได้บ้าง
อย่างไรก็ตาม ในช่วงวันที่ 14 เม.ย. คาดการณ์ว่า จะมีสภาพอากาศปิดในบางพื้นที่ จึงควรเฝ้าระวังติดตามสถานการณ์อีกครั้ง
ซึ่งในช่วงหลังจากวันที่ 7 เม.ย.เป็นต้นไป สถานการณ์น่าจะเริ่มดีขึ้น จากการที่อากาศเริ่มกลับมายกตัวมากขึ้น ร่วมกับการมีฝนตกในบางพื้นที่
ในพื้นที่กรุงเทพฯ เมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า 30 พื้นที่ ที่พบค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน โดย 10 พื้นที่ที่พบค่าฝุ่นสูงที่สุดในกรุงเทพฯ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | เขตบางขุนเทียน | 88 |
2 | เขตตลิ่งชัน | 56 |
3 | เขตสาทร | 55 |
4 | เขตทวีวัฒนา | 55 |
5 | เขตหนองแขม | 55 |
6 | เขตบางพลัด | 55 |
7 | สวนทวีวนารมย์ | 54 |
8 | เขตปทุมวัน | 53 |
9 | เขตคลองสาน | 53 |
10 | เขตบางกอกใหญ่ | 53 |
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | บ้านท่ามะเกี๋ยง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 977 |
2 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 942 |
3 | บ้านสันปอธง ต.ป่าไหน่ อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 882 |
4 | รพ.สต.บ้านใหม่ ต.เมืองคอง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 869 |
5 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 862 |
6 | บ้านหนองครก ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 861 |
7 | บ้านห้วยส้าน ต.สันทราย อ.พร้้าว จ.เชียงใหม่ | 843 |
8 | บ้านปางมะเยา หย่อมบ้านห้วยตะเคียน ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 825 |
9 | บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 822 |
10 | บ้านหนองไฮป่าหวาย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 811 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
จุดความร้อนยังคงเพิ่มสูงขึ้น
สำหรับรายงานจุดความร้อนในภูมิภาคเมื่อวานทั้งวันที่ผ่านมา พบทั้งหมด 22,394 จุด ซึ่งแม้ว่าจะลดลง แต่ก็ยังอยู่ในระดับที่สูงกว่า 2 หมื่นจุด โดยแบ่งเป็น
- ลาว 9,653 จุด (ลดลงจาก 9,661 จุด)
- เมียนมาร์ 7,161 จุด (ลดลงจาก 8,143 จุด)
- ไทย 3,280 จุด (ลดลงจาก 4,215 จุด)
- เวียดนาม 1,516 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 1,078 จุด)
- กัมพูชา 767 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 599 จุด)
- มาเลเซีย 17 จุด (ลดลงจาก 30 จุด)
สำหรับในประเทศไทย จำนวนจุดความร้อนยังคงอยู่ในระดับที่สูงกว่า 3,000 จุด โดยพบในพื้นที่17 จังหวัดภาคเหนือนั้น ทั้งหมด 2,377 จุด เกาะกลุ่มกันอยู่ในหลายพื้นที่ รวมถึงบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ซึ่ง 10 จังหวัดที่มีรายงานการพบจุดความร้อนสูงที่สุดเมื่อวานที่ผ่านมา ได้แก่
จังหวัด | จุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | เชียงใหม่ | 302 |
2 | เชียงราย | 289 |
3 | แม่ฮ่องสอน | 281 |
4 | เลย | 232 |
5 | น่าน | 230 |
6 | เพชรบูรณ์ | 213 |
7 | พิษณุโลก | 201 |
8 | ลำปาง | 153 |
9 | ตาก | 151 |
10 | ชัยภูมิ | 138 |