KEY :
- ประเทศไทยมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ทั้งในภาคเหนือ ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งเป็นผลมาจากการระบายอากาศลดลง มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น
- บริเวณภาคเหนือ ปริมาณฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นในหลายพื้นที่ จากทั้งสภาพอากาศและจุดความร้อนที่เพิ่มสูงขึ้น พื้นที่ที่มีปริมาณฝุ่นสูงที่สุดในภาค ยังคงเป็นที่ จ.เชียงใหม่ โดยเฉพาะใน อ.เชียงดาว, อ.พร้าว
- ภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนวโน้มฝุ่นสูงขึ้นเช่นกัน โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค
- ภาคกลางแนวโน้มฝุ่นเพิ่มสูงขึ้น จากการระบายอากาศที่ลดลง โดยเฉพาะในวันที่ 9 เม.ย. ที่คาดว่า การระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ “ไม่ดี” ทำให้ฝุ่นจะสะสมตัวได้มากขึ้น
- กรุงเทพฯ ปริมณฑล แนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน โดยในกทม. พบว่า พื้นที่เขตบางขุนเทียนมีฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐานและอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพ
…
สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในหลายพื้นที่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะในพื้นที่ภาคกลาง ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ รวมถึงบริเวณภาคเหนือยังคงอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพต่อเนื่อง
โดยในภาคเหนือ ปริมาณฝุ่น PM 2.5 ยังคงสูงขึ้นในหลายพื้นที่ โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ซึ่งพื้นที่ที่พบว่า มีปริมาณสูงที่สุดยังคงเป็นบริเวณอ.เชียงดาว, อ.พร้าว เป็นส่วนใหญ่
เช่นเดียวกับในจังหวัดภาคเหนือ พื้นที่อื่น ๆ ที่ยังคงพบว่า มีค่าฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นเช่นกัน ซึ่งเป็นผลมาจาก การระยายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ดี” มีภาวะอากาศปิดใกล้ผิวขึ้น และกระแสลมอ่อน ทำให้ฝุ่นสะสมตัวได้มาก ซึ่งคาดว่า สถานการณ์จะดีขึ้นในช่วงหลังวันที่ 9 เม.ย. ที่จะมีสภาพอากาศเปิดมากขึ้น อากาศยกตัวดีขึ้น ร่วมกับมีฝนบางพื้นที่ แต่ก็จะเป็นการลดลงในระยะสั้น ๆ
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ แม้ว่าจะสภาวะการระบายอากาศจะอยู่ในเกณฑ์ที่ดี แต่เกิดภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นควันสามารถสะสมตัวได้มากขึ้น โดยจะเฉพาะบริเวณทางตอนบนของภาค ไปจนถึงช่วงวันที่ 7 เม.ย. และหลังจากนั้น อากาศจะยกตัวได้ดีขึ้น มีฝนฟ้าพื้นที่ ส่งผลให้ฝุ่นควันลดลง
ส่วนในพื้นที่ภาคกลาง โดยเฉพาะทางตอนบนของภาค ตลอดจนบริเวณภาคตะวันตกของไทย อยู่ในช่วงที่การระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ “อ่อน/ดี” มีสภาพอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ส่งผลให้ฝุ่นสะสมตัวได้ดีขึ้น โดยหลังจากวันที่ 7 เม.ย. เป็นต้นไปสถานการณ์น่าจะดีขึ้น
ยกเว้นในช่วงวันที่ 9 เม.ย. ที่แนวโน้มการระบายจะทำได้ไม่ดี และคาดว่า ฝุ่นน่าจะสะสมตัวได้มากกว่าในวันอื่น ๆ ในระยะนี้
คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
– พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น
…
กรุงเทพฯ – ปริมณฑลสภาพอากาศ เฝ้าระวังฝุ่นต่อเนื่อง
สถานการณ์ในพื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลมีแนวโน้มฝุ่น PM 2.5 เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นผลมาจากสภาพการระบายอากาศที่ลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ มีสภาพอากาศปิด อากาศไม่ยกตัวสุงขึ้น ในช่วง 5-6 เม.ย. นี้ ส่งผลให้ฝุ่น PM 2.5 จะสูงขึ้น
อย่างไรก็ตาม ในช่วงตั้งแต่วันที่ 7 เม.ย. สภาพอากาศจะกลับมายกตัวมากขึ้น ร่วมกับการมีฝนฟ้าคะนองบางแห่ง ช่วยลดการสะสมของฝุ่นควันลงได้ และจะทำให้ฝุ่น PM 2.5 ค่อย ๆ ลดลง
โดยเมื่อเวลา 08.00 น. ที่ผ่านมา พบว่า บริเวณเขตบางขุนเทียน, กรุงเทพฯ มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงอยู่ในระดับที่เริ่มส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้ว โดยมีปริมาณฝุ่นที่ตรวจวัดได้ 103 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตร และยังมีอีก 15 พื้นที่ ที่พบว่า มีค่าฝุ่นสูงเกินค่ามาตรฐาน
ซึ่งทั้ง 16 พื้นที่ของกรุงเทพฯ ที่มีค่าฝุ่นสูงเกินกว่า 50 ไมโครกรัม/ลูกบาศก์เมตรได้แก่
- เขตบางขุนเทียน
- เขตคลองสาน
- เขตบางกอกใหญ่
- เขตหนองแขม
- เขตปทุมวัน
- เขตดินแดง
- เขตวังทองหลาง
- เขตทวีวัฒนา
- เขตบางพลัด
- เขตบางนา
- เขตประเวศ
- เขตธนบุรี
- เขตบางกอกน้อย
- เขตตลิ่งชัน
- เขตคลองเตย
- สวนทวีวนารมย์
…
10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย
สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่
จุดตรวจวัด | ปริมาณฝุ่น PM 2.5* | |
---|---|---|
1 | รพ.สต.บ้านปางมะเยา ต.ปิงโค้ง อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 795 |
2 | หน่วยพิทักษ์ป่าสบห้วยผาตั้ง-นาเลา ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 713 |
3 | สำนักงานเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 608 |
4 | บ้านหนองไฮป่าหวาย ต.บ้านโป่ง อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 562 |
5 | รพ.สต.บ้านเมืองงาย ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 532 |
6 | บ้านหลวง ต.โหล่งขอด อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 524 |
7 | บ้านท่ามะเกี๋ยง ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 521 |
8 | บ้านหนองครก ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 519 |
9 | บ้านหนองผา ต.สันทราย อ.พร้าว จ.เชียงใหม่ | 519 |
10 | บ้านหัวทุ่ง ต.เชียงดาว อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ | 517 |
* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร
…
จุดความร้อนยังคงเพิ่มสูงขึ้น
สถานการณ์จุความร้อนกลับมาพุ่งสูงขึ้นอีกครั้ง โดยพบจุดความร้อนในภูมิภาคทั้งหมด 17,933 จุด โดยแบ่งเป็น พบในประเทศต่าง ๆ ดังนี้
- ลาว 8,640 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 5,131 จุด)
- เมียนมาร์ 5,292 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 2,489 จุด)
- ไทย 2,978 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 1,786 จุด)
- เวียดนาม 615 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 352 จุด)
- กัมพูชา 399 จุด (เพิ่มขึ้นจาก 372 จุด)
- มาเลเซีย 9 จุด (ลดลงจาก 8 จุด)
ในประเทศไทยจำนวนจุดความร้อนกลับมาเพิ่มสูงขึ้นอีกครั้ง ซึ่งเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า 1,000 จุด และพื้นที่ที่พบจุดความร้อนจากการเผานั้นเกิดขึ้นส่วนใหญ่ในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ – ป่าสงวนแห่งชาติ ร่วมกันมากกว่า 2,500 จุด
ซึ่งจุดความร้อนที่พบส่วนใหญ่ยังคงอยู่ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ จำนวน 2,275 จุด โดย 10 จังหวัดที่มีรายงานการพบจุดความร้อนสูงที่สุดเมื่อวานที่ผ่านมา ได้แก่
จังหวัด | จุดความร้อน | |
---|---|---|
1 | น่าน | 359 |
2 | เชียงใหม่ | 350 |
3 | แม่ฮ่องสอน | 263 |
4 | เชียงราย | 202 |
5 | เลย | 168 |
6 | แพร่ | 165 |
7 | เพชรบูรณ์ | 163 |
8 | ลำปาง | 157 |
9 | ตาก | 113 |
10 | กาญจนบุรี | 113 |