คัดลอก URL แล้ว
AI สุ่มตรวจภาษีเชิงลึก ป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี

AI สุ่มตรวจภาษีเชิงลึก ป้องกันการหลบเลี่ยงภาษี

KEY :

‘ภาษี’ เป็นอีกหนึ่งโครงสร้างรายได้ของรัฐบาล โดยแยกออกเป็น 2 ส่วน คือ 1.การจัดเก็บรายได้ตามประเภทแหล่งที่มาของรายได้ ได้แก่ กรมสรรพากร กรมสรรพาสามิต กรมศุลกากร รัฐวิสาหกิจ กรมธนารักษ์ และส่วนราชการอื่น ๆ / 2.เป็นรายการหัก ได้แก่ การคืนภาษีของกรมกรรพากร เงินกันชดเชยการส่งออก และการจัดสรรภาษีมูลค่าเพิ่มให้ อปท.

โดยประเด็นการจัดเก็บภาษีของ ‘กรมสรรพากร’ ที่เตรียมนำระบบ AI เข้ามาใช้ในการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก ซึ่งมุ่งเน้นไปที่ผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ โดยปัจจุบันอยู่ระหว่างการทดลองใช้ใน Sandbox

ซึ่งทางกรมสรรพากรวางเป้าหมายที่จะดึงผู้ประกอบการทั้งขนาดเล็กและขนาดกลางทางช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ เพื่อเข้าสู่ระบบภาษีให้ถูกต้องและเป็นการป้องกันการหลบเลี่ยงภาษีอีกด้วยเช่นกัน

ที่มาผ่านเราปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการทำการค้าผ่านแพลตฟอร์มออนไลน์ในช่วงกว่า 10 ปีที่ผ่าน มีการเติบโตทางธุรกิจเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นรายเล็ก กลาง หรือรายใหญ่ ล้วนได้ประโยชน์มาจากการพัฒนาทางเทคโนโลยีที่เกิดขึ้น

จนเกิดประเด็นถกเถียงในสังคมเกือบทุกปีสำหรับผผู้ประกอบการร้านค้าออนไลน์ในเรื่องการเสียภาษี บ้างต้องเข้าสู่ระบบเสียภาษีอย่างถูกต้อง เพราะกลัวโดนเรียกเก็บย้อนหลัง บ้างก็หาช่องทางมุดช่องโหว่เพื่อหลีกเลี่ยงการเสียภาษี หน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องอย่างกรมสรรพากร จึงจำเป็นต้องปิดช่องโหว่นี้เพื่อจัดระเบียบให้ถูกต้อง

ความสามารถของ AI ในการตรวจสอบภาษี (ช่วงทดลอง)

แม้ว่า AI ตรวจภาษี ของกรมสรรพากร ยังอยู่ในช่วงของการทดลองใช้ก็ตาม แต่ประสิทธิภาพที่จะได้รับสามารถทราบถึงข้อมูลของผู้เสียภาษีแต่ละราย หรือ รายนั้น ๆ ที่ AI ได้ทำการตรวจสอบ มีการดำเนินการทางธุรกิจอย่างไรบ้าง ทั้งการโพสต์เพื่อค้าขายอะไรบ้าง ซึ่งเชื่อมโยงไปถึงรายรับของผู้ค้าได้เช่นกัน

ซึ่งนอกจากตัว AI ตรวจภาษีแล้ว ปัจจุบันกรมสรรพากรยังมีการสุ่มตรวจตามหน้าเว็บไซต์ต่าง ๆ อาทิ เฟซบุ๊กการไลฟ์สดขายของ รวมถึงการโพสต์โชว์เงินต่าง ๆ โดยจะตรวจสอบรายได้บุคคลเหล่านั้นว่ามีการเสียภาษีถุกต้องหรือไม่ นอกจากนี้ยังมีการใช้เทคโนโลยี Web Scraping ในการดึงข้อมูลจากหน้าเว็บไซต์ เพื่อทำข้อมูลไปวิเคราะห์ อาทิ การดึงข้อมูลราคาและประเภทของสินค้าผ่านเว็บไซต์ e-commerce

นอกจากนี้ยังมีชุดข้อมูลจากสถาบันการเงินต่าง ๆ ซึ่งตามกฎหมายแล้วทางสถาบันการเงินต้องส่งข้อมูลบัญชีเงินฝากให้กรมสรรพากรตรวจสอบ โดยเฉพาะบัญชีที่มีการทำธุรกรรมทางการเงินมากกว่า 3,000 ครั้งต่อปี หรือ บัญชีที่มีการทำธุรกรรมตั้งแต่ 400 ครั้งต่อปี แต่มีการโอนเข้ารวมกันกว่า 2 บ้าน โดยทางกรมสรรพากรจะนำข้อมูลในส่วนนี้ไปประกอบร่วมกับข้อมูลอื่น ๆ ของบุคคลนั้น ๆ ว่าถึงเกรฑ์ที่ต้องยื่นภาษีและเสียภาษีหรือไม่

รายได้รัฐ (ตุลาคม 64 – สิงหาคม 65) จัดเก็บได้ 2.26 ล้านล้านบาท

รัฐบาลสามารถจัดเก็บรายได้สุทธิ ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 (ตุลาคม 2564 – สิงหาคม 2565) จำนวน 2,256,250 ล้านบาท โดยเป็นจำนวนที่สูงกว่าประมาณการตามเอกสารงบประมาณ 117,898 ล้านบาท หรือร้อยละ 5.5 และสูงกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนร้อยละ 6.8

กรมสรรพากรสามารถจัดเก็บรายได้รวม 1,867,250 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันปีงบประมาณก่อน 248,422 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.3 และสูงกว่าประมาณการร้อยละ 14.6 หรือ 238,187 ล้านบาท เนื่องจากมีการขยายตัวของเศรษฐกิจ การบริโภค และมูลค่าการนำเข้า ที่ส่งผลให้ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีนิติบุคคลสูงกว่าประมาณการ

ในขณะที่ กรมสรรพสามิต จัดเก็บรายได้ในช่วง 11 เดือนแรกของปีงบประมาณ 2565 อยู่ที่ 465,823 ล้านบาท ลดลงจากในช่วงเดียวกันของปีงบประมาณก่อน 28,730 ล้านบาท หรือลดลงร้อยละ 5.8 และต่ำกว่าประมาณการร้อยละ 15 หรือ 82,253 ล้านบาท เนื่องจากการลดอัตราภาษีสรรพสามิตสำหรับน้ำมันดีเซล เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนเป็นการชั่วคราวจากราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกปรับตัวสูงขึ้น

กรมศุลกากรจัดเก็บรายได้อยู่ที่ 100,894 ล้านบาท โดยมากกว่าช่วงเดียวกันจากปีงบประมาณก่อน 7,309 ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 และสูงกว่าประมาณการร้อยละ 9.5 หรือ 8,794 ล้านบาท

ไม่ชำระภาษีในกำหนดเวลา หรือ ชำระภาษีไม่ถูกต้อง มีโทษ

บี้ยปรับและเงินเพิ่ม ถือเป็นบทลงโทษเกี่ยวกับภาษีอากรอย่างหนึ่ง และอาจมีโทษทางอาญาด้วย แล้วแต่ความผิดว่าเป็นเรื่องร้ายแรงขั้นไหน โดยหากบุคคลใดยื่นแบบฯ ภายในกำหนดแต่ชำระภาษีไม่ครบถ้วน หรือยื่นแบบฯ ล่าช้า ละเลย หรือหลีกเลี่ยงการยื่นแบบฯ จะต้องเสียเงินเพิ่มและเบี้ยปรับตามกฎหมายกำหนด และหากฝ่าฝืนไม่ยอมชำระ ก็ต้องรับโทษทางอาญาด้วย ซึ่งมีบทลงโทษ ดังนี้


ข้อมูล : กรมสรรพากร


ข่าวที่เกี่ยวข้อง