คัดลอก URL แล้ว
เหนือวิกฤติหนัก PM 2.5 ทะลุ 900 มคก./ลบ.ม. – จุดความร้อนทะลุ 2.6 หมื่นจุด

เหนือวิกฤติหนัก PM 2.5 ทะลุ 900 มคก./ลบ.ม. – จุดความร้อนทะลุ 2.6 หมื่นจุด

KEY :

สถานการณ์ฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือและภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนยังคงมีปริมาณฝุ่นเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก ซึ่งในขณะนี้จากรายงานของศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ มช. พบว่า 10 พื้นที่ฝุ่น PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศไทยมีปริมาณฝุ่นสูงเกิน 500 ไมโครกรัม / ลบ.ม. ไปแล้ว

โดยเฉพาะจุดตรวจวัดที่โรงเรียนบ้านแม่ออน จ. เชียงใหม่ เมื่อเวลา 08.00 น.ที่ผ่านมา สูงถึง 990 ไมโครกรัม/ลบ.ม. หรือมากกว่า ระดับอันตรายต่อสุขภาพถึง 10 เท่าตัว

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ซึ่งในภาคเหนือในระยะนี้ มีการระบายอากาศที่ไม่ดีนัก ตั้งแต่ช่วง 24 มี.ค. – 2 เม.ย. มีสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น กระแสลมอ่อน ร่วมกับการที่มีจุดความร้อนจากการเผาในพื้นที่ต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น เมื่อรวมกับฝุ่นควันที่พัดข้ามประเทศเข้ามาบางส่วน ส่งผลให้ปริมาณฝุ่นในพื้นที่ พุ่งสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง

ในขณะที่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณตอนบนของภาค สถานการณ์ฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับใกล้เคียงกับบริเวณภาคเหนือ โดยมีปริมาณฝุ่น PM 2.5 อยู่ในระดับสูงเกินเกณฑ์ที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพไปแล้วหลายพื้นที่

โดยในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือจะมีสภาพอากาศที่ระบายอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีกว่า ภาคเหนือ แต่จากกระแสลมอ่อน ร่วมกับสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น ทำให้ฝุ่นควันยังคงสะสมตัวในพื้นที่ได้ดี

ส่วนบริเวณภาคกลางนั้น ส่วนใหญ่ยังคงมีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM 2.5 ไม่สูงมากนัก เนื่องจากการระบายอากาศที่ยังคงอยู่ในเกณฑ์ดี กระแสลมใต้ยังคงมีกำลังค่อนข้างแรง ส่งผลให้ฝุ่นควันไม่สะสมตัวมากนัก

ส่วนทางด้านตะวันตกของประเทศไทยนั้น ยังคงมีปริมาณฝุ่นอยู่ในเกณฑ์ที่สูง และอยู่ในระดับที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพในบางพื้นที่ เนื่องจากปริมาณฝุ่นควันที่เกิดจากการเผาทั้งในและนอกประเทศ เข้ามาสะสมตัวได้มากขึ้น

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

ภาพ – ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศ ของมหาวิทยาลัยเชียงใหม่

กรุงเทพฯ – ปริมณฑลอากาศดีขึ้นต่อเนื่อง

พื้นที่กรุงเทพฯ และปริมณฑลในขณะนี้ ยังคงได้รับอิทธิพลจากกระแสลมใต้ ที่มีกำลังค่อนข้างแรง ช่วยพัดฝุ่นควันในพื้นที่ไม่ให้สะสมตัว ร่วมกับสภาพอากาศเปิดและอากาศยกตัวสูง ทำให้สภาพอากาศอยู่ในเกณฑ์ดีต่อเนื่อง

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1รร.บ้านออน
จ.เชียงใหม่
990
2รพ.สต.บ้านเมืองงาย
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
600
3รพ.สต.บ้านปางมะเยา
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
583
4รพ.สต. รัตนวาปี
จ. หนองคาย
576
5สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดบึงกาฬ556
6โรงพยาบาลแม่ฟ้าหลวง
จ. เชียงราย
551
7รพ.สต.บ้านอรุโณทัย
จ.เชียงใหม่
549
8ศาลากลางจ.แม่ฮ่องสอน
ต.จองคำ อ.เมืองแม่ฮ่องสอน จ.แม่ฮ่องสอน
540
9รพ.ปางมะผ้า
ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
517
10รพ.ปาย
ต.เวียงใต้ อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
515

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนยังพุ่งไม่หยุด

รายงานจุดความร้อนในภูมิภาคของเมื่อวานที่ผ่นมาจาก GISTDA พบว่า จุดความร้อนยังคงพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก พบทั้งหมด 26,987 จุด เพิ่มสูงจากก่อนหน้านี้ถึง 6 พันจุด โดยเฉพาะในเมียนมาร์ ที่พุ่งแซงหน้าสปป.ลาว ทะลุ 1.2 หมื่นจุด ส่วนของประเทศไทยก็ยังคงเพิ่มสูงขึ้น

โดยจำนวนจุดความร้อนในประเทศต่าง ๆ ที่พบมีดังนี้

ซึ่งในประเทศไทยนั้น จุดความร้อนเพิ่มขึ้นจากเมื่อวานนี้มากกว่า 1 พันจุด โดยเฉพาะที่มีการพบจุดความร้อนเกาะกลุ่มหนาแน่นในพื้นที่ภาคเหนือต่อเนื่องลงมาถึงบริเวณภาคตะวันตก และบางส่วนของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ พบจุดความร้อนทั้งหมด 3,176 จุด และยังมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นอย่างมาก

สำหรับ 10 จังหวัดที่มีรายงานพบจุดความร้อนสูงสุดได้แก่

จังหวัดจำนวนจุดความร้อน
1แม่ฮ่องสอน609
2น่าน439
3กาญจนบุรี322
4แพร่260
5เชียงใหม่251
6อุตรดิตถ์246
7เลย240
8ลำปาง204
9ตาก203
10เชียงราย196

ข่าวที่เกี่ยวข้อง