เคยสงสัยไหมว่า ต้นตอของฝุ่น PM 2.5 มาจากไหน ทำไมจึงกลับมาทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง และเราจะป้องกันตัวเองเบื้องต้นอย่างไร
ฝุ่น PM 2.5 กลับมาทวีความรุนแรงขึ้นอีกครั้ง ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา ซึ่งฝุ่น PM 2.5 คือฝุ่นขนาดเล็กไม่เกิน 2.5 ไมครอน ที่สามารถผ่านจมูกของเราไปได้อย่างง่ายดาย ซึ่งจากข้อมูลของสำนักสิ่งแวดล้อม กรุงเทพมหานคร ซึ่งมาจากการศึกษาสัดส่วนการระบายมลพิษทางอากาศในกรุงเทพมหานคร พบว่าฝุ่นละออง PM2.5 มีสาเหตุหลักจากการเผาไหม้เชื้อเพลิง โดยภาคการขนส่งทางถนน ระบายฝุ่น PM2.5 มากที่สุด 72.5% รองลงมาได้แก่ โรงงานอุตสาหกรรม 17% การเผาในที่โล่ง 5% และอื่นๆ 5.5%
อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ภาครัฐจะเร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 ก็นับว่ายังคงเป็นปัญหาที่ต้องใช้ระยะเวลาในการแก้ไข ประชาชนไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญได้ในเร็ววัน ทางแพทยสภา ก็ได้มีการเผยแพร่ประกาศ เรื่อง “การปฏิบัติตัวของประชาชนในช่วงวิกฤตฝุ่น PM2.5”
โดยสรุปวิธีการป้องกันเบื้องต้นได้ดังนี้
1. หมั่นตรวจสอบคุณภาพอากาศจากแหล่งข้อมูลของรัฐและเอกชนอย่างสม่ําเสมอ
2. กลุ่มเสี่ยงควรงดทํากิจกรรมกลางแจ้ง บุคคลทั่วไปควรลดและปรับเวลาทํากิจกรรมกลางแจ้ง โดยใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา
3. ขณะที่ปริมาณฝุ่นภายนอกขึ้นสูง ภายในตัวอาคารควรจัดให้มีระบบระบายและฟอกอากาศที่มีประสิทธิภาพเพียงพอ 4. ขณะที่ปริมาณฝุ่นขึ้นสูงควรหลีกเลี่ยงหรือลดเวลาการออกกําลังกายกลางแจ้ง
5. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอ จะช่วยเร่งการขับฝุ่น PM2.5 ที่เล็ดลอดเข้ากระแสเลือด ออกไปทางไตในรูปของปัสสาวะได้มากขึ้น
6. การอยู่ในบริเวณที่มีต้นไม้ใบเขียว จะช่วยการดูดซับฝุ่นในอากาศได้เพิ่มมากขึ้น