คัดลอก URL แล้ว
ย้อนประวัติศาตร์ไทย กับการเลือกตั้งที่ผ่านมา

ย้อนประวัติศาตร์ไทย กับการเลือกตั้งที่ผ่านมา

KEY :

ย้อนกลับไปเมื่อเกือบ 100 ปี ประวัติศาตร์ทางการเมืองไทย มีการเปลี่ยนเปลี่ยนการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ไปเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ และเปลี่ยนรูปแบบการปกครองไปเป็นระบอบประชาธิปไตยแบบรัฐสภา โดย “คณะราษฎร” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2475

นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางสังคมและการเมืองของประเทศ และยังก่อเกิดรัฐธรรมฉบับแรกแห่งสยาม (ฉบับชั่วคราว) ต่อมารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญฉบับถาวร ได้มีผลใช้บังคับแทนเมื่อวันที่ 10 ธันวาคม 2475

นั้นจึงเป็นจุดเริ่มต้นของการ ‘เลือกตั้ง ส.ส.’ ในประเทศไทยครั้งแรก เมื่อวันที่ 15 พฤศจิกายน 2476 เพื่อเลือก ส.ส. จำนวน 78 ที่นั่ง จาก 156 ที่นั่งของสภาผู้แทนราษฎร ส่วนอีก 78 ที่นั่ง ได้รับการแต่งตั้งจากพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว

การเลือกตั้ง 26 ครั้ง หลังการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475

การเลือกตั้งผู้มีใช้สิทธิเลือกตั้งผู้มาใช้สิทธิคิดเป็นร้อยละ
ครั้งที่ 1 (พ.ศ.2476)4,278,2311,773,53241.45
ครั้งที่ 2 (พ.ศ.2480)6,123,2392,462,53540.22
ครั้งที่ 3 (พ.ศ.2481)6,310,1722,210,33235.05
ครั้งที่ 4 (มกราคม พ.ศ.2489)6,431,8272,091,82732.52
เพิ่มเติม (สิงหาคม พ.ศ.2489)5,819,6622,026,82334.92
ครั้งที่ 5 (พ.ศ.2491)7,176,8912,177,46429.50
เพิ่มเติม (พ.ศ. 2492)3,518,276870,20824.27
ครั้งที่ 6 (พ.ศ.2495)7,602,5912,961,19138.95
ครั้งที่ 7 (กุมภาพันธ์ พ.ศ.2500)9,859,0395,668,66657.50
ครั้งที่ 8 (ธันวาคม พ.ศ.2500)9,917,4174,370,78944.07
ครั้งที่ 9 (พ.ศ. 2512)14,820,4007,289,83749.16
ครั้งที่ 10 (พ.ศ.2518)20,243,7919,549,92447.17
ครั้งที่ 11 (พ.ศ.2519)20,623,4309,072,62943.69
ครั้งที่ 12 (พ.ศ.2522)21,283,7909,344,04543.90
ครั้งที่ 13 (พ.ศ.2526)24,224,47012,295,33950.76
ครั้งที่ 14 (พ.ศ.2529)26,224,47016,670,95761.43
ครั้งที่ 15 (พ.ศ.2531)26,658,63816,944,93163.56
ครั้งที่ 16 (มีนาคม พ.ศ.2535)31,660,15619,622,32261.59
ครั้งที่ 17 (กันยายน พ.ศ.2535)31,660,15619,622,32261.59
ครั้งที่ 18 (พ.ศ.2538)37,817,98323,462,74862.04
ครั้งที่ 19 (พ.ศ.2539)38,564,83624,040,83662.42
ครั้งที่ 20 (พ.ศ.2544)42,759,00129,909,27169.95
ครั้งที่ 21 (พ.ศ.2548)44,572,10132,341,33072.56
ครั้งที่ 22 (พ.ศ.2549)44,778,62829,088,20964.77
ครั้งที่ 22 (พ.ศ.2549)44,778,62829,088,20964.77
ครั้งที่ 23 (พ.ศ.2550)44,002,59332,792,24685.38
ครั้งที่ 24 (พ.ศ.2554)46,939,54935,220,20875.03
ครั้งที่ 25 (พ.ศ.2557)43,024,04220,531,07347.72
ครั้งที่ 26 (พ.ศ. 2562)51,239,63838,268,37574.69

รูปแบบการเลือกตั้ง

ประเทศไทยมีการใช้รูปแบบการเลือกตั้งมาแล้วทั้ง 5 รูปแบบ โดยในแต่ละแบบมีรายละเอียด ดังนี้

การเลือกตั้งทางอ้อม

การเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรครั้งแรก พ.ศ.2476 เป็นการใช้รูปแบบการเลือกตั้งดังกล่าวเป็นครั้งแรกและครั้งเดียว เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475 ซึ่งกำหนดให้รัฐสภาไทยเป็นระบบสภาเดียว

ประกอบด้วยสมาชิก 2 ประเภท คือ ประเภทที่หนึ่งมาจากการเลือกตั้ง มีจำนวน 78 คน และสมาชิกประเภทที่สองมาจากการแต่งตั้งโดยพระมหากษัตรีย์ จำนวน 78 คน สมาชิกทั้งสองประเภทอยู่ในตำแหน่งคราวละ 4 ปีเท่ากัน การเลือกตั้งจึงเลือกเฉพาะสมาชิกประเภทที่หนึ่งเท่านั้น

ระบบแบ่งเขตคะแนนสูงสุด

เป็นรูปแบบการเลือกตั้งที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2480 – 2489 หรือ ในระหว่างการเลือกตั้งครั้งที่ 2 – 4 และ (เพิ่มเติม สิงหาคม พ.ศ.2489) เป็นระบบการเลือกตั้งซึ่งผู้ออกเสียงลงคะแนนระบุผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ตนเลือกในบัตรเลือกตั้ง และผู้สมัครรับเลือกตั้งที่ได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดชนะ

ระบบแบ่งเขตหลายเบอร์

เป็นรูปแบบการเลือกตั้งที่เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2491 – 2539 หรือ ในระหว่างการเลือกตั้งครั้งที่ 5 – 19 เป็นระบบการเลือกตั้ง โดยการลงคะแนนแบบไม่เป็นสัดส่วนที่ใช้สำหรับการเลือกตั้งผู้แทนมากกว่าหนึ่งคนต่อหนึ่งเขตเลือกตั้ง โดยผู้ชนะการเลือกตั้งจะได้รับการเลือกพร้อมกันหลายคน โดยเป็นการลงคะแนนที่เอื้อต่อพรรคการเมืองที่มีคะแนนนิยมในเขตพื้นที่

การลงคะแนนระบบคู่ขนาน

รูปแบบการเลือกตั้งดังกล่าว คือ เป็นระบบการลงคะแนนแบบผสม ซึ่งผู้ลงคะแนนทำการลงคะแนนเลือกตั้งสมาชิกสภาเดียวโดยใช้การลงคะแนนสองระบบ โดยผลของการเลือกตั้งในระบบหนึ่งแทบจะไม่มีผลกระทบใด ๆ ต่อผลลัพธ์ของอีกระบบเลย สำหรับในประเทศไทยเริ่มใช้ระบบดังกล่าวในปี 2544 – 2557 หรือ ในระหว่างการเลือกตั้งครั้งที่ 20 – 25

ระบบเลือกตั้งแบบจัดสรรปันส่วนผสม

เป็นระบบเลือกตั้งที่เอาข้อดีของการคำนวณที่นั่ง ส.ส. ของระบบเลือกตั้งแบบสัดส่วนผสม หรือ ระบบ MMP มาใช้ โดยใช้บัตรเลือกตั้งหนึ่งใบลงคะแนนให้ผู้สมัคร ส.ส. แบบแบ่งเขตเพียงอย่างเดียว ผู้สมัครคนใดได้รับคะแนนเสียงมากที่สุดในเขตจะเป็น ส.ส. แต่ทุกคะแนนที่ออกเสียงให้กับผู้สมัคร ส.ส. ของแต่ละพรรคการเมืองจะถูกนำมาคำนวณที่นั่งทั้งหมดที่แต่ละพรรคพึงมี

ซึ่งจะต้องนำจำนวน ส.ส.พึงมีของพรรคไปลบกับจำนวน ส.ส. แบบเขต ก็จะได้จำนวน ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรคนั้น ในประเทศไทยมีการใช้ระบบนี้ในการเลือกตั้งครั้งล่าสุดเมืองปี 2562 หรือ การเลือกตั้งครั้งที่ 26

การเลือกตั้ง 2566

สำหรับการเลือกตั้งครั้งที่ 27 ที่จะถึงนี้ จัดมาการเลือกตั้งในวันที่ 14 พฤษภาคม 2566 และเลือกตั้งล่วงหน้าในเขตและนอกเขตเลือกตั้ง 7 พฤษภาคม 66 โดยบัตรการใช้บัตรลงคะแนน 2 ใบ แบบเลือก ส.ส. เขต และ บัตรเลือกพรรคการเมืองที่ชอบ โดยในการเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,322,824 คน

โดยการเลือกตั้งครั้งนี้จะแบ่งเป็น ส.ส. เขต 400 คน และ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อของพรรค 100 คน หรือเรียกอีกอย่างคือ ‘สูตรหาร 100’ ซึ่งจะนำตัวเลข ส.ส.บัญชีรายชื่อ 100 คน มาหารด้วยคะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด และนำผลลัพธ์ดังกล่าว ไปหารกับคะแนนเสียงของแต่ละพรรค จะได้จำนวน ส.ส.บัญชีรายชื่อ ตามผลลัพธ์ที่คำนวณ

ตัวอย่างเช่น คะแนนเสียงเลือกตั้งทั้งหมด 40 ล้านเสียง หารด้วย 100 เท่ากับ 400,000 คะแนน นั้นเท่ากับว่า ส.ส.บัญชีรายชื่อ 1 คน ต้องใช้คะแนนเสียง 400,000 คะแนน


ข่าวที่เกี่ยวข้อง