คัดลอก URL แล้ว
ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือยังสูง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่

ฝุ่น PM 2.5 ในภาคเหนือยังสูง และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นหลายพื้นที่

KEY :

แนวโน้มของฝุ่น PM 2.5 ในพื้นที่ภาคเหนือยังคงอยู่ในระดับที่สูงเกินค่ามาตรฐาน และมีทิศทางที่เพิ่มสูงขึ้นจากเมื่อวานที่ผ่านมาในหลายจุดด้วยกัน ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงเผชิญสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น และเมื่อร่วมกับการระบายดอากาศที่อยู่ในระดับไม่ดี/อ่อน ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นสะสมได้มากขึ้น

คุณอาจจะสนใจเรื่องนี้
พื้นที่ปลอดภัยจาก PM 2.5 ไม่ถึง 1% และผู้ที่หายใจในอากาศที่ปลอดภัยมีเพียง 0.001% เท่านั้น

ซึ่งในพื้นที่ภาคเหนือ ยังคงเผชิญสภาวะอากาศปิดใกล้ผิวพื้น และเมื่อร่วมกับการระบายดอากาศที่อยู่ในระดับไม่ดี/อ่อน ส่งผลให้ฝุ่นควันที่เกิดขึ้นสะสมได้มากขึ้น ในขณะที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เริ่มได้รับอิทธิพลของสภาพอากาศที่กำลังจะเกิดพายุฤดูร้อน ทำให้การระบายอากาศดีขึ้น หลายพื้นที่ฝุ่นควันสะสมได้น้อยลง

กทม. – ปริมณฑล สถานการณ์เริ่มดีขึ้น

สำหรับในพื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑล แนวโน้มของค่าฝุ่น PM 2.5 มีจำนวนเริ่มลดลง หลังจากที่กระแสลมใต้เริ่มเข้ามา และพัดพาฝุ่นควันกระจายออกจากพื้นที่ได้มากขึ้น แต่ก็ยังคงมีบางพื้นที่ที่มีค่าฝุ่น PM 2.5 สูงเกินค่ามาตรฐาน

ซึ่งในช่วงตั้งแต่วันที่ 12 – 19 มี.ค. สภาพอากาศในกรุงเทพฯ ปริมณฑลเป็นช่วงอากาศเปิด ทำให้การสะสมของฝุ่นควันจะลดลง

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1เขตบางขุนเทียน (สถานี คพ.)65
2เขตสาทร56
3เขตหนองจอก54
4เขตบางซื่อ52
5เขตบึงกุ่ม52
6เขตบางนา51
7เขตจตุจักร51
8เขตประเวศ50
9เขตหลักสี่50
10เขตดินแดง (สถานี คพ.)49

10 จุดค่าฝุ่นสูงสุดในไทย

สำหรับ 10 จุดที่มีรายงานค่าฝุ่นละออง PM 2.5 สูงที่สุดในประเทศเมื่อเวลา 08.00 น.จากรายงานของ ศูนย์ข้อมูลการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้แก่

จุดตรวจวัดค่าฝุ่น PM 2.5*
1รพ.สต.บ้านอรุโณทัย
จ.เชียงใหม่
750
2สถานบริการสาธารณสุขชุมชนบ้านเมืองนะ
จ.เชียงใหม่
445
3รพ.สต.บ้านแกน้อย
จ.เชียงใหม่
400
4ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กบ้านสบป่อง
อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
396
5รพ.ปางมะผ้า
ต.สบป่อง อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
380
6รพ.สต.บ้านเมืองงาย
ต.เมืองงาย อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่
359
7รร.บ้านห้วยทรายขาว
ต.ห้วยโก๋น อ.เฉลิมพระเกียรติ จ.น่าน
354
8รพ.สต.บ้านถ้ำลอด
ต.ถ้ำลอด อ.ปางมะผ้า จ.แม่ฮ่องสอน
349
9ต.เวียงเหนือ
อ.ปาย จ.แม่ฮ่องสอน
347
10รพ.แม่อาย
ต.แม่อาย อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่
341

* ค่าฝุ่นละอองเป็นไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร

จุดความร้อนในภูมิภาคยังสูง

รายงานจุดความร้อนจาก GISTDA พบว่า ในภูมิภาคมีจำนวนจุดความร้อนลดลง โดยพบในเมียนมาร์ 4,363 จุด, ลาว 2,868 จุด, กัมพุชา 1,182 จุด และในประเทศไทยพบจุดความร้อน 1,061 จุด

สำหรับรายงานจุดความร้อนในประเทศไทย 10 อันดับแรกได้แก่

จังหวัดจำนวนจุดความร้อน
1กาญจนบุรี289
2แม่ฮ่องสอน117
3อุทัยธานี100
4เชียงใหม่89
5ตาก83
6ชัยภูมิ68
7เพชรบูรณ์62
8นครสวรรค์58
9กำแพงเพชร48
10เลย47

ข่าวที่เกี่ยวข้อง