คัดลอก URL แล้ว
‘ยกเว้นภาษีคริปโต’ กับการเปิดทางเลือกในการระดมทุน

‘ยกเว้นภาษีคริปโต’ กับการเปิดทางเลือกในการระดมทุน

KEY :

สำหรับ ‘ภาษีคริปโต’ เป็นที่ทราบกันดีว่ามีการยกเว้นการจัดเก็บ อันเนื่องมาจากเป็นมาตรการในการบรรเทาภาระภาษี อีกทั้งเป็นการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันและการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบการชำระเงินในอนาคต โดยมีการประกาศไปเมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา ซึ่งมีประกาศออกมาจำนวน 2 ฉบับ คือ

ซึ่งล่าสุดที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติหลักการร่างพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ….. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยเป็นการยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลสำหรับเงินได้และมูลค่าของฐานภาษี (รายได้จากการขายลบต้นทุน)

อันเนื่องมาจากการขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่เสนอขายต่อประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบสินทรัพย์ดิจิทัล และยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ได้กระทำตั้งแต่วันที่ 14 พฤษภาคม 2561 เป็นต้นไป (ย้อนหลังไปถึงวันที่พระราชกำหนดการประกอบสินทรัพย์ดิจิทัล พ.ศ.2561 มีผลใช้บังคับ)

สาระสำคัญร่าง พ.ร.ฎ. ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและ VAT

พ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าว เพื่อให้มาตรการภาษีของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนเท่าเทียมกับมาตรการภาษีของหลักทรัพย์ และส่งเสริมการลงทุนเพื่อสร้างแรงขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจโดยการใช้เทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการระดมทุน ทั้งนี้ โทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (Investment Token) คือ โทเคนดิจิทัลที่กำหนดสิทธิของบุคคลในการเข้าร่วมลงทุนในโครงการหรือกิจการใด ๆ โดยผู้ถือโทเคนเพื่อการลงทุน จะได้ผลตอบแทนในรูปแบบของส่วนแบ่งของกำไรและส่วนแบ่งรายได้

ร่างพระราชกฤษฎีกามีสาระสำคัญ ดังนี้

(1)ยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สำหรับเงินได้และมูลค่าของฐานภาษีอันเนื่องมาจากการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนที่ออกเสนอขายต่อประชาชนตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบธุรกิจสินทรัพย์ดิจิทัล (ตลาดแรก) ทั้งนี้ กรณีโทเคนดิจิทัลที่ออกเสนอขายต่อประชาชนมีลักษณะของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนและโทเคนดิจิทัลที่มีวัตถุประสงค์อื่น ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับยกเว้นภาษีข้างต้นเฉพาะกรณีที่สามารถแยกส่วนของโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน และโทเคนดิจิทัลที่มีวัตถุประสงค์อื่นออกจากกันได้เท่านั้น
(2)ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับการโอนโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน (ตลาดรอง)

ประโยชน์ของ พ.ร.ฎ. ฉบับดังกล่าว

กฎหมายฉบับนี้ เป็นการเพิ่มทางเลือกในการระดมทุนของผู้ประกอบธุรกิจในประเทศไทยด้วยโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุน เพิ่มเติมจากการระดมทุนด้วยเครื่องมือแบบดั้งเดิม เช่น กองทุนรวม อสังหาริมทรัพย์ พันธบัตร และหุ้นกู้ อันจะส่งผลดีต่อการระดมทุน การลงทุน และการจ้างงานในประเทศ รวมทั้งการขยายตัวของเศรษฐกิจของประเทศ

อีกทั้ง ยังส่งผลให้รัฐสามารถจัดเก็บภาษีที่เกี่ยวกับโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนได้มากขึ้นในระยะยาว โดยมาจากการเติบโตของผู้ประกอบธุรกิจและธุรกิจเกี่ยวเนื่องที่ใช้โทเคนเพื่อการลงทุนเป็นเครื่องมือในการระดมทุนในประเทศไทย

โดยสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) คาดการณ์ว่าในช่วงปี 2566 ถึงปี 2567 จะมีการออกและเสนอขายโทเคนดิจิทัลเพื่อการลงทุนมูลค่ารวมประมาณ 128,000 ล้านบาท ซึ่งคิดเป็นภาษีเงินได้นิติบุคคลประมาณ 25,600 ล้านบาท และภาษีมูลค่าเพิ่มประมาณ 8,960 ล้านบาท

ดังนั้น ประมาณการการสูญเสียรายได้ของภาครัฐ ในช่วง 2 ปี ที่ สำนักงาน ก.ล.ต. คาดการณ์รวมภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มอยู่ที่ประมาณ 35,279 ล้านบาท

ทำไมถึงต้องเก็บ ‘ภาษีคริปโต’

เดิมเงินได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซี ถือเป็นเงินได้พึงประเมิน ตามมาตรา 40 (8) แห่งประมวลรัษฎากรอยู่แล้ว ดังนั้น ผู้มีกำไรจากการขายคริปโทเคอร์เรนซี จึงมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้ตามประมวลรัษฎากร

อย่างไรก็ดี พ.ร.ก. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 19) พ.ศ. 2561 ที่เริ่มมีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปลายปี 2561 เป็นเพียงการจัดประเภทเงินได้ใหม่ จากเดิมเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (8) ไปเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40 (4) เพื่อให้สะท้อนลักษณะของเงินได้

เนื่องจากเงินได้จากการขายคริปโตเคอร์เรนซี มีลักษณะเป็นเงินที่ได้รับจากการลงทุน ภายหลังจากออกพ.ร.ก.ฉบับดังกล่าว กรมสรรพากร ก็ได้ประชาสัมพันธ์ประเด็นนี้มากขึ้น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้เสียภาษีไม่ได้รับโทษในภายหลังอันเนื่องจากการไม่ปฏิบัติตามหน้าที่ทางภาษีอย่างถูกต้อง


ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง