คัดลอก URL แล้ว
หรือ “กุน ขะแมร์” แค่ต้องการปลุกกระแสชาตินิยม หวังผลการเลือกตั้ง?

หรือ “กุน ขะแมร์” แค่ต้องการปลุกกระแสชาตินิยม หวังผลการเลือกตั้ง?

KEY :

กระแสของกุน ขะแมร์ และ โบกาตอร์ ที่เกิดขึ้นในโลกออนไลน์ในขณะนี้ ยังคงเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และลุกลามไปถึงเนื้อหาอื่น ๆ ที่มีการอ้างถึงการแก้ไข และการ “เคลม” ว่า เป็นของกัมพูชาเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และมีคนไทยหลายคนออกมาตอบโต้ในประเด็นดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง

แต่สิ่งที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ค่อนข้างถือได้ว่า เป็นประเด็นที่สร้างกระแสให้กับชาวเน็ตของกัมพูชาจำนวนมากทีเดียว ที่ต่าง “เชื่อว่า” หลายสิ่งหลายอย่างเหล่านั้น มีต้นกำเนิดในประเทศกัมพูชา และไทยก้อปปี้มา โดยไม่ทราบที่มาที่ไปอย่างแท้จริง จนอดสงสัยไม่ได้ว่า

“สิ่งที่เกิดขึ้นในนี้ คือ
การปลุกกระแสชาตินิยมในกัมพูชา
เพื่อหวังผลการเลือกตั้งหรือไม่?”

ย้อนประวัติเลือกตั้งกัมพูชา

ภายหลังจากเหตุการณ์ที่เวียดนามบุกยึดกรุงพนมเปญ และถูกนานาชาติร่วมกันกดดันให้เวียดนามถอนกำลังทหารออกจากกัมพูชา พร้อมทั้งสนับสนุนให้มีการร่วมกลุ่มก่อนของชาวกัมพูชาทั้ง 3 ฝ่ายจัดตั้งรัฐบาลผสมร่วมกัน มีการจัดตั้งองค์การบริหารชั่วคราวแห่งสหประชาติในกัมพูชา (UNTAC) เพื่อดูแลสถานการณ์ ก่อนที่จะนำไปสู่มติที่ประชุมสหประชาติให้มีการจัดการเลือกตั้งสภาแห่งชาติกัมพูชาในปี 2533

โดยมี UNTAC เข้ามาเป็นตัวกลางในการจัดการเลือกตั้งในระหว่าง 23-28 พฤษภาคม พ.ศ. 2536 มีพรรคการเมืองเข้ามาร่วมลงสนามการเลือกตั้งทั้งหมด 20 พรรค โดยมีพรรคการเมืองใหญ่ 3 พรรคด้วยกันคือ

ซึ่งในบรรดา 3 พรรคใหญ่นี้ มี 2 พรรคที่มีคะแนนนิยมสูสีกันคือ พรรคประชาชนกัมพูชาที่ได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มทหาร ข้าราชการ ประชาชน รวมถึงชาวกัมพูชาเชื้อสายเวียดนามบางส่วนในกัมพูชา กับพรรคฟุนซินซินเปคซึ่งใช้พระนามของเจ้าสีหนุ เป็นหัวใจสำคัญในการหาเสียงโดยตลอด

ในการเลือกตั้งในครั้งแรกนี้ มีความวุ่นวาย และมีเหตุการณ์รุนแรงอยู่หลายครั้งอย่างต่อเนื่อง ทั้งจากพรรคฝ่ายตรงข้าม และกลุ่มเขมรแดงที่คัดค้านการเลือกตั้ง โดยมีเป้าหมายทั้งนักการเมือง หัวคะแนน รวมถึงเจ้าหน้าที่ของ UNTAC

แต่การเลือกตั้งก็สามารถประคับประคองให้ผ่านไปได้ และผลการเลือกตั้งในครั้งแรกนั้น พรรคฟุนซินเปคชนะการเลือกตั้ง ได้ไป 58 ที่นั่ง, พรรคประชาชนกัมพูชาได้ไป 51 ที่นั่ง, พรรคพุทธเสรีนิยมประชาธิปไตยได้ไป 10 ที่นั่ง และพรรคโมลีนาคา ได้ 1 ที่นั่ง

อย่างไรก็ตาม แม้พรรคฟุนซินเปคจะชนะการเลือกตั้ง แต่ก็ไม่สามารถที่จะจัดตั้งรัฐบาลได้ จำเป็นต้องจับมือกันตั้งรัฐบาลผสมร่วมกับพรรคประชาชนกัมพูชา โดยมีเจ้านโรดม รณฤทธิ์ นั่งเป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 1 และ สมเด็จฮุน เซน เป็นนายกรัฐมนตรีคนที่ 2

ภาพ – Daniel Littlewood

ต่อมาการมีนายกฯ 2 คนนั้น ดูเหมือนจะเป็นไปได้ด้วยดี แต่ขั้วของสมเด็จฮุน เซนดูจะสามารถกุมอำนาจได้มากกว่า ส่งผลให้ในปี 2540 สมเด็จฮุนเซน ได้ทำการรัฐประหาร ยึดอำนาจจาก เจ้านโรดม รณฤทธิ์ โดยอ้างว่า มีเจ้านโรดม รณฤทธิ์มีแผนจะยึดอำนาจ

ส่งผลให้มีการปะทะกันของทั้งสองฝ่าย ส่งผลให้ฝ่ายของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ ต้องล่าถอยออกมา ซึ่งส่วนใหญ่ได้หลบหนีเข้ามายังประเทศไทย ซึ่งท้ายที่สุดทางฝ่ายของสมเด็จฮุนเซน ก็เป็นฝ่ายที่ยึดอำนาจได้สำเร็จ ซึ่งในเหตุการณ์ในครั้งนั้น ทำให้มีผู้เสียชีวิตไปเป็นจำนวนมาก ส่วนเจ้านโรดม รณฤทธิ์ก็ต้องลี้ภัยออกจากกัมพูชาเช่นกัน

เลือกตั้งครั้งที่ 2 ของกัมพูชา

เหตุรัฐประหารในกัมพูชาที่เกิดขึ้นในปี 2540 นั้น เป็นช่วงเวลาราว 1 ปีก่อนครบกำหนดอายุของรัฐบาลชุดแรกภายใต้การดูแลของ UNTAC ในปี 2541 มีการจัดการเลือกตั้งอีกครั้ง โดยผลการเลือกตั้งในครั้งนี้

และในครั้งนี้ พรรคประชาชนกัมพูชา ก็จำเป็นต้องเจรจากับพรรคฟุนซินเปค เพื่อจัดตั้งรัฐบาลอีกครั้ง โดยในครั้งนี้ได้มีการเปลี่ยนแปลง โดยเจ้านโรดม รณฤทธิ์ นั่งตำแหน่งประธานรัฐสภา และ สมเด็จฮุนเซน รับตำแหน่งนายกฯ อีกครั้ง โดยมีพรรคสม รังสี เป็นฝ่ายค้านเพียงพรรคเดียว

ขบวนรถหาเสียงของพรรคสมรังสี เมื่อปี 2003
ภาพ – Bart Geesink

ในช่วงปี 2542 การเมืองภายในของกัมพูชาค่อนข้างนิ่งจึงส่งผลให้ประเทศกัมพูชาเดินหน้าได้ค่อนข้างมากเมื่อเทียบในช่วงก่อนการเลือกตั้งในช่วงปี 2540-2542 ทำให้กัมพูชาได้เข้าร่วมเป็นหนึ่งในชาติสมาชิกอาเซียนในปี 2542 นี้เอง

เหตุเผาสถานทูตไทยในกัมพูชา – เลือกตั้ง ปี 2546

รัฐบาลของกัมพูชานั้นจะดำรงตำแหน่งอยู่ในวาระ 5 ปี โดยจะมีการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2546 และสถานการณ์โดยทั่วไปถือว่า มีความก้าวหน้าพอสมควร จากภาวะทางการเมืองที่นิ่งกว่าในช่วงที่ผ่านมา มีเพียงนายสม รังสี หัวหน้าพรรคฝ่ายค้านเพียงหนึ่งเดียว ที่ยังคงเดินหน้าเปิดปมต่าง ๆ และพยายามซักฟอกรัฐบาลของสมเด็จฮุนเซนอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ประเด็นการโกงการเลือกตั้งในปี 2541, ปัญหาการคอรัปชั่น ฯลฯ

นอกจากนี้มีความเคลื่อนไหวภายในจากกลุ่ม Cambodian Freedom Fighters (CFF) มีหัวหน้าเป็นชาวกัมพูชาสัญชาติอเมริกา อดีตสมาชิกพรรคสม รังสี ออกมาเคลื่อนไหวและจัดตั้งกองกำลังติดตาอาวุธ มีการก่อเหตุต่าง ๆ ในช่วงปี 2543

ซึ่งสิ่งที่เกิดขึ้นถือว่า ส่งผลกระทบต่อคะแนนเสียงของรัฐบาลกัมพูชาในขณะนั้นอยู่ไม่น้อย

ในเดือนมกราคม 2546 ก็มีเหตุการณ์เกิดขึ้นอีกครั้ง หลังจากที่สื่อฯ ของกัมพูชาเสนอข่าวระบุว่า ดารานักแสดงชื่อดังของไทย ให้สัมภาษณ์ในลักษณะที่ไม่เหมาะสมต่อชาวกัมพูชา มีการตีข่าวเพิ่มเติม ปล่อยข่าวลือและใบปลิว รวมถึงท่าทีของรัฐบาลกัมพูชาที่ออกมากล่าวถึงประเด็นดังกล่าว รวมถึงการแบนรายการทีวีของไทยด้วย

ส่งผลให้เกิดกระแสความไม่พอใจต่อกระแสข่าวลือดังกล่าว ซึ่งทางด้านของดาราสาวชาวไทยยืนยันว่า ไม่ได้พูดถึงในประเด็นดังกล่าว และไม่เคยมีสื่อฯ ของกัมพูชาสำนักใดเลยมาสัมภาษณ์แต่อย่างใด แต่เหตุการณ์ดังกล่าว บานปลาย นำไปสู่การบุกเผาสถานทูตไทยในกรุงพนมเปญ รวมถึงร้านค้า ธุรกิจของชาวไทยด้วย

แม้เหตุการณ์ในครั้งนั้น จะจบลงโดยทางกัมพูชา ยอมชดใช้ค่าเสียหาย และดำเนินคดีกับผู้ก่อเหตุก็ตาม แต่มีความคลุมเครือไม่ชัดเจนในด้านของคดีในหลายเรื่อง ผู้ก่อเหตุ-ตัวการบางส่วนก็ได้รับการประกันตัวไป โดยไม่ได้มีการดำเนินคดี

ทำให้หลายคน โดยเฉพาะฝ่ายค้านของกัมพูชา มองว่า นี่เป็นการสร้างกระแสชาตินิยม เพื่อกลบเกลื่อนปัญหาการละเมิดสิทธิมนุษยชน การคอรัปชั่นต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในประเทศ เพื่อหวังผลการเลือกตั้งในช่วงกลางปี

โดยในเดือน กรกฎาคม พ.ศ. 2546 ผลการเลือกตั้งในครั้งนี้

แต่ก็ยังคงไม่สามารถจัดตั้งรัฐบาลพรรคเดียวได้ ทำให้พรรคประชาชนกัมพูชาของสมเด็จฮุนเซน ต้องทำข้อตกลงร่วมรัฐบาลกับพรรคฟุนซินเปกอีกครั้ง ภายหลังเกิดสูญญากาศทางการเมืองในระหว่างการเจรจรกันเป็นเวลานานราว 1 ปี

ซึ่งจะเห็นได้ว่า พรรคประชาชนกัมพูชา และพรรคสมรังสี ได้รับที่นั่งเพิ่มขึ้น ในขณะที่พรรคร่วมรัฐบาลอย่างพรรคฟุนซินเปกมีที่นั่งลดลง หลายฝ่ายประเมินว่า การที่พรรคฟุนซินเปคได้รับที่นั่งลดลงเนื่องจากบทบาทของพรรคไม่มีผลงานที่ชัดเจน เมื่อเทียบกับสมเด็จฮุนเซน หรือนายสม รังสี ผู้นำพรรคฝ่ายค้าน

หญิงชาวกัมพูชา โชว์นิ้วที่เปื้อนหมึก หลังจากที่เข้าใช้สิทธิเลือกตั้งในกัมพูชา เมื่อปี 2003
ภาพ – Daniel Littlewood

ข้อพิพาทเขาพระวิหาร – เลือกตั้งปี 2551

ภายใต้รัฐบาลของสมเด็จฮุน เซน เป็นนายกฯ หลังการเลือกตั้งในปี 2546 นั้น นายสม รังสี ยังคงทำหน้าที่ผู้นำฝ่ายค้านอย่างต่อเนื่อง ก่อนที่จะถูกดำเนินคดีด้วข้อหา หมิ่นประมาทสมเด็จฮุน เซน และถูกตัดสินจับคุกเป็นเวลา 18 เดือนในช่วงปลายปี 2548 และได้รับการอภัยโทษในปี 2549

นอกจากนี้ในปี 2548 รัฐบาลกัมพูชาได้ยื่นเอกสารขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร พร้อมทั้งแผนที่ ซึ่งในครั้งนั้นทางการไทยยื่นคัดค้าน โดยระบุว่า แผนที่ดังกล่าวไม่ถูกต้อง และทางยูเนสโกได้แนะนำให้กัมพูชาจับมือกับทางการไทย เพื่อหาทางออก

ทางด้านของเจ้านโรดม รณฤทธิ์ถูกแจ้งข้อหาขายสำนักงานใหญ่ของพรรคฟุนซินเปก ยักยอกเงินของพรรคจำนวน 3.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และต้นปี 2550 ก็ถูกตัดสินจำคุกเป็นเวลา 18 เดือน ก่อนได้รับการอภัยโทษในปี 2551 นั่นเอง

หลายฝ่ายมองว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็นเรื่องของเกมทางการเมืองภายในประเทศที่มุ่งเป้ากำจัดฝ่ายตรงข้าม ปลุกกระแสความนิยม เพื่อปูทางการเลือกตั้งอีกครั้งในปี 2551

ประเด็นเขาพระวิหาร กลับมาเป็นกระแสอีกครั้งในช่วงปลายปี 2550 ไทยและกัมพูชาจะมีข้อพิพาทเรื่องเขาพระวิหารอีกครั้ง เนื่องจากกัมพูชาได้ยื่นเรื่องขอขึ้นทะเบียนเขาพระวิหาร ซึ่งมีประเด็นเชื่อมโยงกับสถานการณ์การเมืองไทยในขณะนั้นด้วย ส่งผลให้ ยูเนสโกประกาศขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก “เฉพาะตัวปราสาทพระวิหาร” ในวันที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

คูหาเลือกตั้งครั้งที่ 4 ของกัมพูชา เมื่อปี 2008
ภาพ – Bart Geesink

ก่อนการเลือกตั้งของกัมพูชาที่เกิดขึ้นในวันที่ 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2551 เพียงไม่กี่วันเท่านั้น และแน่นอนว่า ผลการเลือกตั้งที่เกิดขึ้น พรรคประชาชนกัมพูชาได้ชนะการเลือกตั้งสามารถกวาดที่นั่งในสภาไปถึง 90 ที่นั่งจากทั้งหมด 123 ที่นั่ง ซึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ของที่นั่งในสภา ทำให้สามารถจัดตั้ง รัฐบาลพรรคเดียวได้ในที่สุด และสมเด็จฮุน เซน ก็นั่งตำแหน่งนายกฯ อีกครั้ง ท่ามกลางข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นจากผู้ตรวจสอบของสหภาพยุโรป ในขณะที่พรรคสมรังสี ได้ 26 ที่นั่ง

เหตุปะทะที่ ภูมะเขือ ปี 54 – การเลือกตั้งปี 2556

ภายหลังการเลือกตั้งปี 2551 การเมืองภายในของกัมพูชา ยังคงคุกรุ่น และก็เป็นนายสม รังสี อีกครั้งที่ถูกตั้งข้อกล่าวหา ในปี 2552 จากการวิพากวิจารณ์รัฐบาลของสมเด็จฮุนเซน กรณีการเพิกเฉยต่อการรุกล้ำดินแดนของเวียดนาม ที่จังหวัดสวายเรียง ทำให้ต้องลี้ภัยออกจากกัมพูชา

ในขณะที่ปมข้อพิพาทไทย-กัมพาชา ในเรื่องของเขาพระวิหาร ยังคงมีความขัดแย้งสะสมอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอดที่บริเวณเขาพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม มีการปะทะกันอยู่เป็นระยะ ๆ ในช่วงปี 2551 – 2552 -2553 และเกิดการปะทะครั้งสำคัญ ในวันที่ 4 – 5 ก.พ. 2554 ส่งผลให้ทั้งสองฝ่ายเกิดความสูญเสียของทั้งสองฝ่าย

การปะทะกันที่เกิดขึ้นได้เริ่มยกระดับมากขึ้น โดยฝั่งไทยได้ใช้ปืนใหญ่ 155 มม. ยิงไปยังฐานที่มั่นของทหารกัมพูชาและเกิดความสูญเสียจำนวนมาก ทางการกัมพูชาพยายามเรียกร้องให้คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติ (UNSC) จัดประชุมฉุกเฉิน จากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น แต่สุดท้ายไม่ได้รับการตอบสนอง ซึ่งทางการไทยระบุว่า เป็นปัญหาระหว่าง 2 ชาติ จึงควรเป็นการเจรจาทวิภาคี ก็เพียงพอ

ซึ่งภายหลังจากการเจรจาต่อรอง ก็ดูเหมือนจะผ่านไปได้ด้วยดี แต่แล้วในปลายเดือนเมษายน 2554 เกิดการปะทะกันอีกครั้งที่บริเวณปราสาทตาควาย – ปราสาทตาเมือนธม โดยในครั้งนี้ มีประเด็นที่เป็นกระแสดังลงข่าวใหญ่ นั่นคือ การที่นายพลของกัมพูชาร่ำไห้ ขณะแถลงข่าวการสูญเสียจากการปะทะที่เกิดขึ้น และในภายหลังจากการเจรจากันทำให้ทั้งไทย-กัมพูชา ได้ผ่อนคลายท่าทีลอง มีการตกลงค่อย ๆ ลดกำลังทหารของทั้งสองฝ่าย

ปัญหาระหว่างสองประเทศจางลง และมีการถอนทหารขอทั้งสองฝ่าย ในขณะที่กัมพูชาเดินหน้าแก้ปัญหาภายในประเทศ โดยในทางการเมือง นายสม รังสีได้เดินทางกลับประเทศกัมพูชาอีกครั้ง หลังได้รับการอภัยโทษ แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้ลงเล่นการเมือง แต่มีความเคลื่อนไหวโดยการที่พรรคสมรังสี ได้รวมพรรคกับพรรคสิทธิมนุษยชน กลายเป็น พรรคกู้ชาติกัมพูชา (CNRP)

และผลการเลือกตั้ง พรรคประชาชนกัมพูชาของสมเด็จฮุนเซนได้ 68 ที่นั่ง ลดลงจากครั้งก่อนหน้า โดยเสียที่นั่งให้กับพรรคกู้ชาติกัมพูชาที่ได้ 55 ที่นั่ง ท่ามกลางประเด็นของการจัดการเลือกตั้งที่ถูกมองว่า มีความผิดปรกติหลายประการทั้งจากสหภาพยุโรป และสหรัฐฯ โดยนายสม รังสี ประกาศไม่ยอมรับผลการเลือกตั้ง และส่งผลให้มีการประท้วงครั้งใหญ่ในประเทศ

การเลือกตั้งกัมพูชาปี 2561

ความวุ่นวายจากการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในปี 2556 นั้น เกิดประเด็นข้อสงสัยมากมายอย่างต่อเนื่อง เป็นเวลาเกือบหนึ่งปี ในปี 2557 พรรคกู้ชาติกัมพูชา จึงได้ยุติการคว่ำบาตรการเลือกตั้งในปี 2556 เพื่อเดินหน้าประเทศอีกครั้ง

โดยในระหว่างปี 2558 ถึง 2560 ยังคงมีประเด็นกระแสข่าวลือถึงการกำจัดฝ่ายค้านและนักเคลื่อนไหวอยู่เป็นระยะ ๆ ตั้งแต่กรณีของ นายเขม เลย์ นักวิเคราะห์การเมืองกัมพูชาถูกมือปืนยิงเสียชีวิต, นายสม รังสี ถูกตัดสินจำคุกในข้อหาปลอมแปลงเอกสารทางราชการและเผยแพร่บนโซเซียลมีเดีย ในประเด็นของปัญหาชายแดนกัมพูชา-เวียดนาม ในเดือน ก.พ. 2560

ซึ่งนายสม รังสี ได้ลาออกจากตำแหน่งหัวหน้าพรรคกู้ชาติกัมพูชา ทางด้านของพรรคกู้ชาติกัมพูชาได้ตั้งนายกึม โสกา มานั่งตำแหน่งหัวหน้าพรรคแทนนายสม รังสี และรัฐบาลกัมพูชาจะแก้ไขกฎหมายที่ระบุ ไม่ให้ผู้ที่ถูกตัดสินจำคุกลงเลือกตั้งได้

และในเดือน ก.ย. 2560 ปีเดียวกันนั้นเอง นายกึม โสกา ถูกตั้งข้อหากบฏ ตามด้วยการสั่งยุบพรรคกู้ชาติกัมพูชาในเดือน พ.ย. 2560 และนั่นทำให้ การเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในปี 2561 พรรคประชาชนกัมพูชาชนะการเลือกตั้งไปสบาย ๆ ครองที่นั่งในรัฐสภาทั้งหมด “โดยไม่มีพรรคฝ่ายค้าน”

2566 กับการเลือกตั้งครั้งใหม่ในกัมพูชา

ในวันที่ 23 กรกฎาคม 2566 นี้ ก็จะถึงกำหนดการเลือกตั้งอีกครั้ง เป็นครั้งที่ 7 ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา กัมพูชาก็เผชิญปัญหาต่าง ๆ หลายด้าน โดยเฉพาะผลกระทบจากการระบาดของโควิด-19 และนั่นทำให้เป็นที่น่าสังเกตว่า เรื่องของมวยไทย – กุน ขแมร์ – โบกาตอร์ ที่เกิดขึ้นในขณะนี้ มีส่วนเกี่ยวข้องกับการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้นในกัมพูชาหรือไม่?

เนื่องจากมีความพยายามในการเสนอเปลี่ยนชื่อ “มวยไทย” เป็น “กุน ขแมร์” และมีการเพิ่มชนิดกีฬาอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็นหมากรุกเขมร, กีฬาการต่อสู้ที่หลายประเทศไม่คุ้นเคย ส่งผลให้จำนวนเหรียญทองที่มีการชิงชัยกันในซีเกมส์ 2023 ที่กัมพูชาในช่วงเดือน พฤษภาคมนี้ มีมากถึง 632 เหรียญทอง สูงที่สุดนับตั้งแต่มีการจัดซีเกมส์

จำนวนเหรียญทองและกีฬาแปลก ๆ เหล่านี้ จึงทำให้หลายคนอดสังเกตไม่ได้ว่า สิ่งที่เกิดขึ้นเป็น “การปลุกกระแสชาตินิยม และเรียกคะแนนเสียงในการเลือกตั้ง” ในครั้งนี้

ท่ามกลางข่าวการจับกุมนายทัค เสธธา รองประธานพรรคแสงเทียน ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้านในกัมพูชา ด้วยข้อหา “เช็คเด้ง” ส่งผลให้หลายฝ่าย กำลังจับตามองการเลือกตั้งที่เกิดขึ้นในกัมพูชาอย่างใกล้ชิด

นอกจากนี้ ฮุนเซน ยังได้มีการกล่าวถึงฝ่ายค้าน โดยเตือนว่า หากยังไม่เลิกพูดถึงประเด็นการโกงการเลือกตั้งเมื่อปี 2561 ก็จะมีการดำเนินคดีทางกฎหมายกับผู้ที่ออกมากล่าวถึงประเด็นนี้ด้วย


ข้อมูล :


ข่าวที่เกี่ยวข้อง