คัดลอก URL แล้ว
‘RDIF’ ของรัสเซียเผยประสิทธิภาพวัคซีน Sputnik Light ประสิทธิภาพกันเดลต้าถึง 70%

‘RDIF’ ของรัสเซียเผยประสิทธิภาพวัคซีน Sputnik Light ประสิทธิภาพกันเดลต้าถึง 70%

กองทุนความมั่งคั่งแห่งชาติรัสเซีย Russian Direct Investment Fund (RDIF) ร่วมกับ สถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลยา (Gamaleya National Research Center of Epidemiology and Microbiology) แถลงประสิทธิภาพของวัคซีน Sputnik Light ที่มีประสิทธิภาพถึง 70% ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัส Covid-19 สายพันธ์ุ Delta

วันที่ 13 ตุลาคม 2564 เวลา 15.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย หรือเวลา 19.00 น. ตามเวลาท้องถิ่นของกรุงเทพ ประเทศไทย กองทุนความมังคั่งแห่งชาติรัสเซีย Russian Direct Investment Fund (RDIF) ร่วมกับสถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลยา (Gamaleya National Research Center of Epidemiology and Microbiology) จัดงานแถลงข่าวและนําเสนอข้อมูลจากกรุงมอสโก ประเทศรัสเซีย ผ่าน ทางแอปพลิเคชัน Zoom โดยมีตัวแทนจากนานาชาติ ทั้งรัฐมนตรี หน่วยงานด้านสาธารณสุข ผู้เชี่ยวชาญ และสื่อมวลชนจากทัวโลก รวมถึงตัวแทนจากประเทศไทย คือ นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดี กรมควบคุมโรค และนพ.นคร เปรมศรี ผู้อํานวยการสถาบันวัคซีนแห่งชาติ เข้าร่วมงานในครั้งนี้

ภายในงานมีการนําเสนอข้อมูลประสิทธิภาพของวัคซีน Sputnik Light ที่มีประสิทธิภาพถึง 70% ในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธ์ุเดลต้า โดยวัคซีน Sputnik Light หรือ วัคซีน Sputnik V เข็มแรก เป็นวัคซีนที่ใช้ไวรัสพาหะที่ถูกทําให้ฤทธิ์อ่อนลงจนปลอดภัย ไม่สามารถก่อให้เกิดโรคได้มาตัดต่อเพื่อช่วยนําส่งสารพันธุกรรมที่ต้องการกระตุ้นภูมิคุ้มกนเข้าไปในร่างกายมนุษย์โดยชนิดที่นํามาใช้ในวัคซีน Sputnik Light คืออะดิโนไวรัส ซีโรไทป์ 26 จากมนุษย์(Human Adenovirus Serotype 26) ตัดต่อสารพันธุกรรมของส่วนโปรตีนหนาม (spike protein) ของเชื้อไวรัสโควิด-19 เข้าไปเพื่อกระตุ้นให้ร่างกายของผู้ที่ได้รับวัคซีน สร้างภูมิคุ้มกนสําหรับต้านเชื้อไวรัสโควิด-19

เนื่องจากสถานการณ์ปัจจุบัน การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้านั้น เกิดการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว และการกลายพันธุ์ดังกล่าว ยังส่งผลให้เชื้อไวรัสหลบหลีกภูมิคุ้มกนของร่างกายได้ดียิ่งขึ้น จึงทําให้ประสิทธิภาพในการกระตุ้นภูมิคุ้มกันเพื่อต่อต้านเชื้อไวรัสโควิด-19 ลดลง แต่ด้วยวัคซีน Sputnik Light สามารถช่วยแก้ปัญหาในประเด็นนี้ได้โดยนําวัคซีน Sputnik Light มาใช้เป็ นวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster) ให้กับผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆจนครบโดสแล้วได้ทุกชนิด ด้วยแนวทางนี้จะทําให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธ์ุเดลต้ามากกว่า 83% และช่วยป้องกันการเจ็บป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลได้มากกว่า 94% ซึ่งขณะนี้มีการใช้วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้นสําหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน Sputnik V ครบโดสแล้วในประเทศรัสเซียวัคซีน Sputnik Light ยังสามารถนํามาฉีดให้กับผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อนด้วย

การฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวได้(one-shot Sputnik Light) ซึ่งมีประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธ์ุเดลต้าได้สูงถึง 70% ในช่วง 3 เดือนแรกหลังได้รับวัคซีน และมีประสิทธิภาพสูงถึง 75% เมื่อฉีดในอาสาสมัครที่มีอายุตํ่ากว่า 60 ปีจากผลการศึกษาทางคลินิกในกลุ่มตัวอย่าง 28,000 คน โดยผลการศึกษาประสิทธิภาพนี้

ทางสถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลยาได้วิเคราะห์และส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงในนิตยสาร medRxiv ในสัปดาห์นี้ ปัจจุบันวัคซีน Sputnik Light ได้รับอนุญาตให้ใช้ในมากกว่า 15 ประเทศ และอยู่ระหว่างขั้นตอนการขอขึ้นทะเบียนในอีก 30 ประเทศ โดยหน่วยงานพันธมิตรของกองทุนความมังคั่งแห่งชาติรัสเซีย(RDIF) จากประเทศต่างๆ มากกว่า 10 ประเทศ เช่น อินเดีย จีนเกาหลีใต้เวียดนาม เม็กซิโก อาร์เจนตินา เซอร์เบีย ตุรกี ฯลฯ จะเป็นผู้ผลิตวัคซีน Sputnik Light รวมถึงสถาบันเซรุ่มแห่งอินเดีย (The Serum Institute of India) ซึ่งเป๋นผู้ผลิตวัคซีนรายใหญ่ที่สุดของโลก ขณะที่วัคซีน Sputnik V ได้รับอนุญาตให้ใช้ใน 70 ประเทศ ซึ่งคิดเป็นจํานวนประชากรที่ได้รับวัคซีนนีมากกว่า 4,000,000,000 คน (สี่พันล้านคน)

สรุปข้อมูลประสิทธิภาพ

ประสิทธิภาพของ Sputnik Light ในฐานะของวัคซีนเดี่ยว (one-shot Sputnik Light) วัคซีน Sputnik Light สามารถนํามาฉีดให้กบผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีนมาก่อน ด้วยการ ฉีดวัคซีนเพียงเข็มเดียวได้(one-shot Sputnik Light)โดยมีประสิทธิภาพในการป้องกนั
การติดเชื้อไวรัสไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้าได้สูงถึง 70% ในช่วง 3 เดือนแรกหลังได้รับวัคซีน และมีประสิทธิภาพสูงถึง 75% เมื่อฉีดในอาสาสมัครที่มีอายุตํ่ากว่า 60 ปี จากผลการศึกษาทางคลินิกในกลุ่มตัวอยาง่ 28,000 คน ในกรุงมอสโกเมื่อเดือนกรกฎาคม 2564 โดยผลการศึกษาประสิทธิภาพนี้ทางสถาบันวิจัยระบาดวิทยาและจุลชีววิทยากามาเลยา
ได้วิเคราะห์และส่งบทความเพื่อตีพิมพ์ลงใน medRxiv ในสัปดาห์นี้ประสิทธิภาพของ Sputnik Light ในฐานะวัคซีนกระต้นุ (Booster) วัคซีน Sputnik Light สามารถนํามาใช้เป็นวัคซีนเข็มกระตุ้น (Booster) ให้กับ ผู้ที่ได้รับวัคซีนชนิดอื่นๆจนครบโดสแล้วได้ทุกชนิด ด้วยแนวทางนี้จะทําให้ประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สายพันธ์เดลต้ามากกว่า 83% และช่วยป้องกันการเจ็บป่วยจนต้องเข้าโรงพยาบาลได้มากกว่า 94% ซึ่งขณะนี้มีการใช้วัคซีนชนิดนี้เป็นวัคซีนเข็ม
กระตุ้นสําหรับผู้ที่ได้รับวัคซีน Sputnik V ครบโดสแล้วในประเทศรัสเซีย

#โควิด #วัคซีนโควิด #วัคซีนสปุตนิกวี #SputnikV #SputnikLight #รัสเซีย #ข่าวโควิด #ข่าวโมโน29 #Mono29News #Mono29


ข่าวที่เกี่ยวข้อง