ช่วงฤดูร้อน มีความเสี่ยงต่อการเกิดหลายโรคที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพ และ 6 โรคต่อไปนี้เป็นตัวอย่างของโรคที่พบบ่อยในช่วงฤดูร้อน รู้ทันอาการกันไว้ก่อน จะได้ปลอดภัยและรักษาได้ทันเวลา
1.โรคลมแดด (Heatstroke) เกิดจากการได้รับความร้อนมากเกินไปและไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม โรคนี้อาจเป็นอันตรายต่อชีวิตได้ โดยอาการสำคัญที่เกิดขึ้นคือ อุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป รูขุมขนจะปิดจนไม่สามารถระบายเหงื่อได้ ตัวร้อนมาก ผิวแดงจัด วัดอุณหภูมิได้มากกว่า 40 องศาเซลเซียส อาจเป็นไข้สูงคลื่นไส้ หัวใจเต้นเร็วและอาจเกิดอาการช็อกได้ อ่านเพิ่มเติม : ฮีทสโตรก โรคในหน้าร้อนที่ต้องระวัง! เป็นนานกว่า 2 ชม. เสี่ยงเสียชีวิต
2.โรคตะคริวแดด (Heat cramp) อาการที่อาจเกิด ได้แก่ ตะคริวหรือปวดที่กล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่หน้าท้องและขา อุณหภูมิร่างกายเปลี่ยนไป เหงื่อออกมาก กระหายน้ำหรือหัวใจเต้นเร็ว โดยมักจะเกิดอาการนี้กับผู้ป่วยที่ทำงานกลางแจ้ง ออกกำลังกายหนัก หรือแม้แต่ในผู้ที่ไม่ได้ออกกำลังกายหนักก็เป็นได้ ซึ่งเกิดจากการเสียน้้าและเกลือแร่ทางเหงื่อที่มากเกินไป
3. โรคเพลียความร้อน (Heat exhaustion) เป็นโรคที่เกิดขึ้นในขณะที่ร่างกายต้องอยู่ในสภาพแวดล้อม ที่มีอุณหภูมิสูงหรือจากการออกก้าลังกายหนักจนทำให้อุณหภูมิ ในร่างกายสูงมากกว่า 37 องศาเซลเซียส (แต่ไม่เกิน 40 องศาเซลเซียส) ร่างกายจะขาดน้้าและเกลือแร่ ท้าให้เกิดอาการแสดงของโรคแบบ heat stroke แต่ความรุนแรงน้อยกว่า อาการที่อาจแสดง ได้แก่ เมื่อยล้า อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ อาเจียน วิตกกังวล สับสน ปวดศีรษะ ความดันต่้า หน้ามืด ไวต่อสิ่งเร้าง่าย นอกจากนี้ยังอาจมีผลต่อระบบไหลเวียนและท้าให้อุณหภูมิในร่างกายสูงมากได้
4.โรคคลื่นไส้และอาเจียน (Heat Exhaustion) เกิดจากการได้รับความร้อนมากเกินไปและไม่สามารถระบายความร้อนออกจากร่างกายได้อย่างเหมาะสม อาการสำคัญที่พบได้แก่ อ่อนเพลีย, ซึมเศร้า, อาการเหงื่อออกมาก, ปวดศีรษะ, คลื่นไส้และอาเจียน
5.ผดร้อน (Heat rash)
โรคผื่นแดง ผื่นแดด (Heat rash) กลุ่มโรคผิวหนัง เกิดจากการถูกกระตุ้นด้วยแสงยูวี ทำให้เลือดอุณหภูมิร่างกายสูงเกินไป และมีการกลั่นน้ำเหงื่อภายในผิวหนัง พบในกลุ่มเสี่ยงส่วนมาก อาทิ เด็กเล็ก ผู้สูงอายุ คนเจ้าเนื้อ และคนที่ชอบใส่เสื้อผ้ารัดๆ อาการที่พบได้แก่ ผื่นแดงหรือผื่นขนาดเล็กบริเวณผิวหนัง อาจจะมีอาการคัน มีตุ่มแดงขึ้นตามร่างกาย
ข้อควรระวัง หลีกเลี่ยงการอยู่ท่ามกลางแสงแดดนานๆ, ใช้ครีมกันแดดทาตัว หน้า ลำคอ บริเวณที่ผิวต้องโดนแดด, ใส่เสื้อแขนยาว หมวก หรือกางร่ม ใส่แว่นตากันแดด, ใส่เสื้อผ้าที่มีเนื้อผ้าโปร่งระบายอากาศได้ดี, ทำความสะอาดผิวหนังเช้าและเย็น หรือหลังจากออกกำลังกาย
6.โรคอุจจาระร่วง เกิดขึ้นจากเชื้อแบคทีเรีย ไวรัส และพยาธิ สาเหตุมาจากการทานอาหารและเครื่องดื่มที่ไม่สะอาด อาการจะมีไข้ต่ำๆ เป็นหวัด มีคลื่นไส้ ถ่ายอุจจาระเหลวอย่างน้อย 3 ครั้งหรือถ่ายเป็นน้ำ หรือเป็นมูกเลือดอย่างน้อย 1 ครั้งในรอบ 24 ชั่วโมง ปกติจะหายได้เองภายใน 7 วัน ควรทานยาตามอาการ เช่น ยาแก้อาเจียน แก้ปวดท้อง ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากอาการไม่ดีขึ้นควรรีบมาพบแพทย์
ที่มา : สำนักโรคจากการประกอบอาชีพและสิ่งแวดล้อม กรมควบคุมโรค, รพ. พญาไท