คัดลอก URL แล้ว
โรคซึมเศร้า ทำความเข้าใจที่ถูกต้อง วิธีรับมือเมื่อคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า

โรคซึมเศร้า ทำความเข้าใจที่ถูกต้อง วิธีรับมือเมื่อคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า

ข้อมูลจากกรมสุขภาพจิตพบว่า คนไทยป่วยเป็นโรคซึมเศร้ามากถึง 1.5 ล้านคนเลย ยังมีคนส่วนใหญ่มักเข้าใจผิดคิดว่า โรคซึมเศร้า เป็นเพียงอาการหรือสภาพจิตใจที่เปลี่ยนไปเพียงชั่วครู่ หลังจากได้รับการกระทบกระเทือนทางจิตใจสามารถรักษาได้ด้วยการให้กำลังใจ แต่ความเป็นจริงมีความรุนแรงกว่าที่คิด หากปล่อยไว้ไม่ได้รับการรักษาอย่างถูกต้อง ไปทำความเข้าใจกันให้มากขึ้น เพื่อเป็นประโยชน์ในการหาแนวทางการรักษาที่ถูกต้องได้ทันท่วงที และป้องกันการฆ่าตัวตายที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต

ทำความรู้จักกับ โรคซึมเศร้า ให้มากขึ้น

โรคซึมเศร้า” เกิดจากสารเคมีในสมองผิดปกติ เป็นโรคทางจิตเวชชนิดหนึ่ง อันเกิดจากความผิดปกติของสารสื่อประสาทในสมอง 3 ชนิด ได้แก่ ซีโรโตนิน (Serotonin) นอร์เอปิเนฟริน (Norepinephrine) และโดปามีน (Dopamine) ซึ่งส่งผลกระทบต่อความคิด อารมณ์ ความรู้สึก พฤติกรรม รวมไปถึงสุขภาพกาย มีสาเหตุมาจากพันธุกรรม สารเคมีในสมอง สภาพแวดล้อม เช่น การเลี้ยงดูของพ่อแม่ อิทธิพลจากคนใกล้ชิด การเผชิญกับความสูญเสียครั้งใหญ่ ลักษณะนิสัย โดยเฉพาะคนที่อ่อนไหวง่าย คิดมาก มองโลกในแง่ลบ

อาการของโรคซึมเศร้า-ถ้ามีติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 14 วัน เสี่ยงสูง

หากมีอาการดังกล่าวข้างต้นอยู่เกือบตลอดเวลา เป็นเวลาติดต่อกันไม่ต่ำกว่า 14 วัน ถือว่ามีความเสี่ยงสูงที่จะเป็นโรคซึมเศร้า ควรรีบพบแพทย์โดยด่วน

ทำตัวอย่างไรให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า

ฝึกคิดบวกให้ห่างไกลจากโรคซึมเศร้า รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยหากขาดสารอาหารบางอย่างไป เช่น โอเมก้า 3 วิตามินอี วิตามินซี วิตามินดี ทองแดง และธาตุเหล็ก อาจทำให้มีความเสี่ยงเป็นโรคซึมเศร้ามากขึ้น หมั่นออกกำลังกาย โดยควรออกกำลังกายอย่างน้อย 4 วันต่อสัปดาห์ ต่อเนื่องกัน 30 – 40 นาที และพักผ่อนให้เพียงพอ หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หลีกเลี่ยงการใช้สารเสพติด

หลีกเลี่ยงการนำตนเองไปอยู่ในสถานการณ์ที่ทำให้จิตใจหดหู่ ฝึกคิดบวก ควรหาเวลาออกไปทำกิจกรรมที่ทำให้เกิดความรู้สึกที่ดี ๆ สนุกสนาน ทำให้ตนเองรู้สึกมั่นใจและมีคุณค่า และได้ใช้เวลาร่วมกับคนอื่น ๆ มากกว่าที่จะอยู่คนเดียว

วิธีรับมือเมื่อคนใกล้ตัวเป็นโรคซึมเศร้า

แนวทางการรักษา

มีหลายวิธี ได้แก่ รักษาด้วยการใช้ยา โดยในปัจจุบันยารักษาโรคซึมเศร้าถือเป็นยาที่ปลอดภัย ไม่ค่อยมีผลข้างเคียง ไม่ทำให้เกิดการติดยา และไม่ทำให้เกิดอาการมึนงงอย่างที่เข้าใจผิดกัน นอกจากนี้ควรกินยาตามที่แพทย์สั่ง และไม่ควรหยุดยาเองโดยเด็ดขาด รักษาด้วยจิตบำบัดและการพูดคุยให้คำปรึกษา โดยแพทย์จะช่วยเหลือชี้แนะการมองปัญหาต่าง ๆ ในมุมมองใหม่ และแนวทางในการปรับตัว หรือแม้แต่การหาสิ่งที่ช่วยทำให้จิตใจผ่อนคลายความทุกข์ใจลง และรักษาด้วยไฟฟ้า ในรายที่มีอาการรุนแรง

ยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่ อาการก็จะยิ่งดีขึ้นเร็วเท่านั้น

โรคซึมเศร้านั้นเป็นโรคทางจิตเวชที่เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง ไม่ใช่ความอ่อนแอทางด้านจิตใจของผู้ป่วยแต่อย่างใด และไม่ใช่โรคประหลาด โรคนี้เป็นได้ก็สามารถรักษาให้หายได้เช่นกัน ดังนั้น ผู้ป่วยไม่ต้องกลัวที่จะเข้ารับการรักษา เพราะยิ่งรักษาเร็วเท่าไหร่อาการก็จะยิ่งดีขึ้นเร็วเท่านั้น

ข้อมูลจาก : นายแพทย์อดิศร มนูสาร อายุรแพทย์


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง