คัดลอก URL แล้ว
ชีวิตนี้ขาดเตียงไม่ได้! เช็ค 5 สัญญาณ อาการเตียงดูด  เสี่ยงโรคทางจิต

ชีวิตนี้ขาดเตียงไม่ได้! เช็ค 5 สัญญาณ อาการเตียงดูด เสี่ยงโรคทางจิต

อยากนอนอยู่บนที่นอนทั้งวัน ไม่อยากลุกออกไปไหน หลายคนเข้าใจว่าคืออาการขี้เกียจ แต่จริงๆ คุณอาจกำลังมี “อาการเตียงดูด” (Dysania หรือ Clinomania) ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนว่าคุณอาจจะมีปัญหาสุขภาพทั้งโรคทางกายและโรคทางจิตเวช ลองไปเช็คกันว่าเป็นอย่างไร และมีทางป้องกันหรือแก้ไขอย่างไรได้บ้าง

รู้จัก อาการเตียงดูด เช้าแล้วยังอยากอยู่บนที่นอน

อาการเตียงดูด (Dysania หรือ Clinomania) ลุกออกจากเตียงนอนได้ยากในตอนเช้า รู้สึกทุกข์ทรมาน หรือตื่นขึ้นมาแล้วก็อยากจะอยากกลับเข้าไปนอนต่อ ไม่อยากลุกออกไปทำกิจกรรมใดๆ ถึงแม้ว่าจะมีชั่วโมงการนอนที่นานๆ หรือมีจำนวนชั่วโมงการนอนที่นานเพียงพอแล้ว คุณก็ยังรู้สึกอยากจะนอนต่ออีก ส่งผลให้มีความรู้สึกหดหู่ เหนื่อยล้า เรื้อรัง จนถึงขั้นทำให้หลายๆ คนอาจจะเป็นโรคซึมเศร้าได้เลย และอาจเป็นอาการของโรคทางกาย ทางจิตใจ รวมไปถึงปัญหาการนอนต่างๆ ได้ด้วย

สาเหตุ อาการเตียงดูด

เส้นแบ่งระหว่าง นิสัยหรือพฤติกรรมอยากนอนเยอะๆ กับอาการเตียงดูด ไม่ได้มีคำจำกัดความชัดเจน แต่โดยทั่วๆ ไป สาเหตุโรคเตียงดูดอาจจะเกิดจากโรคทางกายหรือโรคทางจิตเวช หรือปัญหาการนอนหลับก็ได้

ยกตัวอย่างเช่น ผู้ที่มีปัญหาโรคหยุดหายใจขณะหลับ (obstructive sleep apnea) นอนๆ อยู่เกิดการอุดกลั้นทางเดินหายใจ ทำให้ร่างกายรับออกซิเจนไม่เต็มที่ เลยรู้สึกเพลียๆ อยากนอนต่อทั้งๆ ที่ชั่วโมงการนอนนั้นนอนเพียงพอแล้ว ยังเสี่ยงเป็นโรคอื่นๆ อีก อาทิ

5 สัญญาณเตือนที่ต้องระวัง “อาการเตียงดูด” (Dysania หรือ Clinomania)

1.ทุกครั้งที่ทำงานหนักหรือเรียนเรียนเหนื่อยๆ คิดถึงแต่เรื่องเตียง คิดถึงเตียงนอนเป็นอันดับแรก เครียดทะเลาะกับใครก็คิดถึงเตียง

2.เห็นเตียงเมื่อไรง่วงทันที ถึงแม้ช่วงนั้นจะไม่ใช่ช่วงเวลานอนปกติ
3.รู้สึกมีความสุขสุดๆ เมื่อได้นอนบนเตียง (ข้อนี้อาจจะบอกยากว่าใช่ไม่ใช่ เพราะทุกคนที่ไม่ได้อยู่ในสภาวะอาการเตียงดูดก็อาจจะมีอาการนี้)
4.ไม่ว่าจะทำอะไร ที่ไหน กับใคร ก็จะคิดถึงเตียงตลอดเวลา อยากจะให้มีเตียงทุกๆ ที่ที่ไป
5.กิจกรรมหลายๆ อย่างที่ไม่ควรทำบนเตียวก็อยากจะทำบนเตียง เช่น กินข้าว

วิธีรักษา อาการเตียงดูด

อาการเตียงดูด ยังไม่มีวิธีรักษา แนะนำค่อยๆ ปรับพฤติกรรม อย่าคิดถึงเรื่องเตียงเยอะ ออกไปทำกิจกรรมบ้าง อื่นๆ จะได้คิดถึงเรื่องเตียงน้อยลง เช่น ออกไปเข้าสังคม เล่นกีฬาออกกำลังกาย เล่นโยคะ นอนพอดีๆ 6-8 ชั่วโมง หรือ ปรึกษากับคุณหมอเพื่อหาทางแก้ไขก็อาจจะเป็นวิธีที่ดีที่สุด

ที่มา : rama.mahidol, กรมสุขภาพจิต


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง