คัดลอก URL แล้ว
พยาธิในปลาดิบ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นถึง 283 เท่าใน 40 ปี ความจริงที่นักกินซูชิต้องรู้

พยาธิในปลาดิบ ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นถึง 283 เท่าใน 40 ปี ความจริงที่นักกินซูชิต้องรู้

ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา พยาธิในปลาดิบเพิ่มขึ้นถึง 283 เท่า จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยวอชิงตัน ข้อมูลนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของการระวังภัยจากการบริโภคปลาดิบซึ่งเป็นที่นิยมอย่างมากในวัฒนธรรมอาหารญี่ปุ่นและทั่วโลก

วงจรชีวิตของ Anisakis

พยาธิชนิดนี้แพร่พันธุ์ในลำไส้ของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเล และปล่อยออกสู่มหาสมุทรผ่านทางอุจจาระของสัตว์เหล่านี้ หลังจากไข่ฟักในน้ำ พยาธิจะติดเชื้อในกุ้งขนาดเล็ก เช่น กุ้งเคย (krill) เมื่อปลาขนาดเล็กกินกุ้งที่ติดเชื้อ พยาธิจะย้ายเข้าสู่ร่างกายของปลา และกระบวนการนี้จะดำเนินต่อไปเมื่อปลาขนาดใหญ่กินปลาขนาดเล็กที่ติดเชื้อ มนุษย์และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในทะเลสามารถติดเชื้อเมื่อกินปลาที่มีพยาธิชนิดนี้ อ้างอิง: Wood et al. Global Change Biology, 2020.

วงจรชีวิตของ Anisakis เครดิตภาพ : washington

อาการเมื่อทานปลาดิบที่มีพยาธิ

พยาธิ Anisakis เป็นสาเหตุหนึ่งของภาวะอาหารเป็นพิษที่มักพบในปลาดิบ คนที่รับประทานปลาดิบที่มีพยาธิชนิดนี้จะมีอาการคลื่นไส้อาเจียน ปวดท้อง และถ่ายเหลว แต่โชคดีที่อาการมักไม่รุนแรงเพราะตัวพยาธินี้จะตายเองภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตาม การป้องกันยังคงเป็นสิ่งที่สำคัญ

วิธีป้องกันการติดพยาธิ

การตรวจสอบโดยเชฟ: เชฟที่มีความเชี่ยวชาญควรตรวจหาพยาธิ Anisakis ในปลาก่อนเสิร์ฟ หากพบควรทำการคีบทิ้งทันที

การตรวจสอบโดยผู้บริโภค: ผู้บริโภคควรพยายามตรวจสอบปลาดิบที่รับประทานให้ละเอียดก่อนการบริโภค พยาธิ Anisakis ยาวประมาณ 2 ซม. ซึ่งมองเห็นได้ไม่ยากสามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า

ภาพพยาธิ Anisakis ที่มองเห็นด้วยตาเปล่า พบในเนื้อปลาแซลมอน พยาธิชนิดนี้ยาวได้ถึง 2 เซนติเมตร และพบในเนื้อปลาดิบหรือปลาที่ปรุงไม่สุก (เครดิตรูปภาพ: Togabi/Wikimedia Commons)

เหตุผลที่พยาธิเพิ่มขึ้น

เหตุผลที่พยาธินี้เพิ่มขึ้นยังไม่ชัดเจน อาจเป็นเพราะผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) หรือการที่คนรู้จักและระบุพยาธิชนิดนี้ได้มากขึ้น จึงมีการรายงานมากขึ้น

ขอบคุณที่มาจาก :


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง