วิกฤตวัยกลางคน หรือ Midlife Crisis เป็นภาวะทางด้านสุขภาพจิต อยู่ในช่วงคนวัย 40 – 60 ปี เสี่ยงกัหลายคนเข้าใจผิดว่าเป็นโรคซึมเศร้า จริงๆ แล้วไม่ใช่และไม่ใช่อาการป่วย เพราะวิกฤตวัยกลางคนอาจจะหายไปได้เองเมื่อเวลาผ่านไป และมักเกิดขึ้นในระยะเวลาที่สั้นกว่าโรคซึมเศร้า ลองมาเช็คกันหน่อยว่าคุณอยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคนบ้างหรือเปล่า?
1.น้ำหนักขึ้นหรือลงอย่างผิดปกติ หนึ่งในปัจจัยก่อกวนหลายอย่างที่อาจบ่งชี้ว่าคนๆ หนึ่งกำลังมีภาวะวิกฤตทางอารมณ์
2.ไม่แยแส เบื่อหน่ายต่อสิ่งต่าง ๆ รู้สึกหมดไฟหมดความสนใจหรือกระตือรือร้นต่อสิ่งต่างๆ ในชีวิตที่เคยเพลิดเพลินอย่างกะทันหันความมั่นใจในตัวเองหายไป
3.ประสบกับความเจ็บปวดทางร่างกาย คุณจะเริ่มปวดเมื่อยหรือเจ็บปวดในบางส่วนของร่างกาย อาจจะมีอาการปวดศีรษะและปัญหาระบบทางเดินอาหารที่ดูเหมือนจะไม่มีสาเหตุทางกายภาพ และบ่อยครั้งไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางการแพทย์ตามปกติ
4.คุณตั้งคำถามกับตัวเองด้วยคำถามเชิงลึก ในช่วงวัยกลางคนหลายคนมักจะตั้งคำถามกับตัวเอง ถึงเป้าหมาย ปลายทาง ความสำเร็จ และคุณค่าของชีวิต ทั้งนี้ Dr. Robi Ludwig, Psy กล่าวว่า “สิ่งหนึ่งที่สามารถเกิดขึ้นได้และบ่งชี้ถึงการเริ่มต้นของวิกฤตวัยกลางคนคือความรู้สึกไม่เหมาะกับชีวิตที่คุณดำเนินอยู่” คุณจะตั้งคำว่ากับตัวเองว่ามาถูกทางหรือไม่ กล่าวอีกนัยคือ คุณรู้สึกว่าจำเป็นต้องประเมินตนเองอย่างหนักแน่นว่าคุณต้องการอยู่ที่ไหนในชีวิตเมื่อเทียบกับที่ที่คุณอยู่จริงๆ บางทีคุณอาจรู้ตัวว่าคุณกำลังทำตามความฝันที่พ่อแม่กำหนดไว้ให้คุณ หรือคุณปฏิบัติตาม “กฎ” ของสังคม
5.คุณตัดสินใจอย่างหุนหันพลันแล่น ในการตัดสินใจบางเรื่อง คุณจะทำแบบไม่คิดหน้าคิดหลัง หรือลังเลไปทุกเรื่อง
6.คุณกังวลมากเกินไปเกี่ยวกับรูปร่างหน้าตาของคุณ ห่วงภาพลักษณ์ รู้สึกอยากดูดีที่สุดแต่การจ้องกระจกหลายชั่วโมงเพื่อชี้ให้เห็นริ้วและรอยเหี่ยวย่นที่เกิดขึ้นอาจบ่งบอกถึงวิกฤตวัยกลางคนได้ หรืออาจจะตรงข้ามเลยคือ ไม่สนใจดูแลตัวเอง ทั้งนี้คนโสดมีแนวโน้มที่จะหมกมุ่นกับใบหน้าที่เปลี่ยนไปมากกว่าคนที่มีความสัมพันธ์ที่จริงจัง
7.คุณคิดว่าตัวเองเป็น “คนแก่” : คุณจะถามตัวเองด้วยคำถามง่าย ๆ ว่า “ฉันรู้สึกอายุเท่าไหร่” หากคุณคิดว่าตัวเองแก่กว่าวัย คุณอาจกำลังอยู่ในช่วงวิกฤตวัยกลางคน
8.คิดว่าช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิตได้ผ่านพ้นไปแล้ว เริ่มหมดหวังกับอนาคต เปรียบเทียบความสำเร็จของตนเองกับคนอื่น ๆ
9.เริ่มเบื่อหน่ายความสัมพันธ์กับคู่รักของตนเอง คิดถึงชีวิตในอดีตของตัวเองมากขึ้น โดยเฉพาะตอนที่รุ่งเรือง
ที่มา : womansday