มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย เบิร์กลีย์ ( University of California, Berkeley) ได้ทำการวิจัยความเกี่ยวข้องกันระหว่างการอดนอนและความวิตกกังวล ซึ่งนักวิจัยพบว่า การอดนอนส่งผลให้สมองบางส่วนได้รับผลกระทบ
การศึกษาวิจัยนี้ชื่อว่า ‘Overanxious and Underslept’ ซึ่งถูกตีพิมพ์ลงในวารสาร ‘Nature Human Behavior’ จากการวิจัยพบว่าการนอนหลับเป็นวิธีการแก้ปัญหาที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในการรักษาโรคต่างๆ รวมทั้ง โรควิตกกังวล
นอนไม่หลับ-นอนหลับสนิท มีผลต่อโรควิตกกังวล
เป็นโรคที่เกี่ยวกับสุขภาพจิต ซึ่งมีคนเป็นโรคนี้เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ การนอนหลับไม่เพียงพอจะยิ่งเพิ่มระดับความวิตกกังวล ในขณะที่การนอนหลับสนิทจะช่วยลดความวิตกกังวลลงไปได้ ดังนั้นคุณอาจจะเริ่มฝึกการนั่งสมาธิเพื่อลดความเครียดและความวิตกกังวล
ความผิดปกติของการนอนหลับยังส่งผลต่อกลุ่มโรคความวิตกกังวล เช่น โรคเครียดหลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง (PTSD), โรคคิดมาก, โรคแพนิค และโรคกลัวการเข้าสังคม การนอนหลับลึกจะช่วยฟื้นฟูการทำงานของสมองซึ่งเป็นส่วนที่ควบคุมเกี่ยวกับอารมณ์และทางจิตใจ จึงช่วยลดความเครียดและยังช่วยป้องกันความวิตกกังวลมากเกินไป
ร่างกายมนุษย์ต้องการการนอนหลับแบบ NREM
นักวิทยาศาสตร์ได้บอกว่าร่างกายมนุษย์ต้องการการนอนหลับแบบ NREM เป็นวงจรการหลับที่จะลึกลงไปเรื่อยๆ ซึ่งจะช่วยควบคุมจิตใจไม่ให้วิตกกังวลมากจนเกินไป ดังนั้นเราจึงควรนอนหลับสนิท 6-7 ชั่วโมงทุกวันเพื่อรักษาสุขภาพกายและสุขภาพจิตให้ดี
ที่มา : onlymyhealth