คัดลอก URL แล้ว
“นอนกรน” โรคป่วนของคนนอนหลับ เสี่ยง “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ”

“นอนกรน” โรคป่วนของคนนอนหลับ เสี่ยง “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ”

เชื่อว่าหลายคนน่าจะเคยมีประสบการณ์ที่ต้องนอนข้างๆ กับผู้ที่มีภาวะนอนกรน และคงรู้ว่ามันกระทบความสงบสุขในเวลานอนอย่างไรบ้าง ไม่ใช่แต่คนที่นอนข้างเคียงเท่านั้นที่ต้องทนทุกข์กับเสียงกรน แต่เจ้าตัวเองก็อาจต้องทุกข์ทรมานในวันข้างหน้า เพราะอาจนำไปสู่ “ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ”

ทำไมถึง “นอนกรน”

การนอนกรน พบได้เมื่อเรานอนหงายและหลับลึก เนื้อเยื่อในช่องคอ เช่น เพดานอ่อน ลิ้น จะหย่อนไปทางด้านหลัง ทำให้ช่องคอแคบลงและสั่นสะเทือนมากขึ้น ทำให้เกิดเสียงกรนดังขึ้น และอาจเกิดจากการตีบแคบของช่องคอ ซึ่งบางครั้งนอกจากเสียงดังกวนใจคนข้างๆ แล้ว ยังพบการหยุดหายใจร่วมด้วย ส่งผลเสียต่อสุขภาพของผู้นอนกรนในหลายๆ ด้าน โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับหัวใจและหลอดเลือด เช่น เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ ความดันโลหิตสูง กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ต้อหิน และอาจลดทอนประสิทธิภาพในการทำงานของเรา เพิ่มความเสี่ยงในการหลับในขณะขับรถได้อีกด้วย

“การรักษาด้วย Coblator”

Cloblator เป็นเทคโนโลยีการประยุกต์ใช้คลื่นพลาสม่า ไปสลายเนื้อเยื่อ โดยจะเปลี่ยนเป็นพลังงานความร้อน ทำให้ช่องคอที่ตีบแคบกว้างขึ้น และส่งผลให้เนื้อเยื่อบริเวณที่ต้องการรักษาลดลง นอกจากนี้การผ่าตัดคลื่นพลาสม่ายังช่วยห้ามเลือดในเวลาเดียวกัน ทำการรักษาโดยแพทย์หูจมูกและลำคอ (ENT) ซึ่งเป็นแพทย์ที่เชี่ยวชาญในการดูแลและรักษาผู้ป่วยที่มีความผิดปกติที่มีผลต่อหูจมูกคอและโครงสร้างอื่น ๆ ในบริเวณลำคอและศีรษะ แพทย์หูคอจมูกได้รับการฝึกฝนและได้รับใบอนุญาตศัลยแพทย์ที่มีคุณสมบัติในการรักษาภูมิแพ้

ข้อดีของการผ่าตัด

• นอนโรงพยาบาล 1 คืน
• ไม่มีบาดแผลภายนอก
• เห็นผลดีในการรักษา
• เสียเลือดน้อย

การผ่าตัดนี้มีความปลอดภัยและรวดเร็วกว่าการผ่าตัดแบบดั้งเดิม ซึ่งการใช้เครื่องมือนี้ต้องอาศัยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเรื่องการผ่าตัดโดยเฉพาะ หลังจากการผ่าตัดแพทย์จะมีแนวทางการดูแล ขึ้นอยู่กับประเภทของการผ่าตัด การดมยาสลบ และสุขภาพของผู้ป่วยแต่ละบุคคล เพื่อผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพ และคืนคุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยและคนข้างๆ

บทความโดย : นายแพทย์ปวีณ เพชรรักษ์ แพทย์ผู้ชำนาญการด้าน โสต ศอ นาสิกวิทยา โรงพยาบาลเวิลด์เมดิคอล (WMC)


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง