ความสุขไม่ใช่แค่สภาวะทางจิตใจหรือทัศนคติที่ดี แต่เกี่ยวข้องกับกระบวนทางเคมีบางอย่างในร่างกาย โดยเฉพาะฮอร์โมนที่สามารถช่วยให้เรามีความสุขได้ ดังนั้นการขาดฮอร์โมนบางอย่างอาจจะทำให้นำไปสู่ภาวะซึมเศร้า ทำให้ไม่มีความสุขเกิดขึ้นได้ และอาการต่อไปนี้คือสัญญาณจากร่างกายที่บ่งบอกว่าคุณกำลัง ไม่มีความสุขในชีวิต
ไม่อยากสนใจใคร
ได้มีการศึกษาพบว่ามีความเชื่อมระหว่างการเอาใจใส่ผู้อื่นกับฮอร์โมนออกซิโทซิน โดยมีชื่อเรียกว่า “ฮอร์โมนแห่งความรัก” ฮอร์โมนชนิดนี้มีผลต่ออารมณ์ของเรา และถ้าคุณรู้สึกว่าเป็นเรื่องยากที่จะเอาใจใส่ผู้อื่นหรือคุณมีปัญหาในการแสดงออกทางสีหน้า นั่นอาจแสดงว่าคุณมีภาวะขาดฮอร์โมนออกซิโทซินแล้วล่ะ
ร่างกายสั่น
อาการสั่นสามารถเกิดขึ้นได้เนื่องจากการขาดฮอร์โมนโดปามีน ซึ่งเป็นสารที่ช่วยสร้างความรู้สึกที่ดี เมื่อฮอร์โมนโดปามีลดต่ำลงจะทำให้รู้สึกอ้างว้าง เศร้า และอาจทำให้เป็นโรคพาร์กินสัน อาการนี้อาจเกิดจากการเกร็งของกล้ามเนื้อซึ่งส่วนใหญ่มักเกิดขึ้นที่มือ นอกจากนี้ยังเกี่ยวกับโรคทางระบบประสาท
ชอบกินของหวานและมันฝรั่งทอด
หากร่างกายของคุณต้องการน้ำตาลและแป้ง อาจเป็นเพราะคุณมีระดับสารเซโรโทนินต่ำ สารนี้จะช่วยให้อารมณ์ดี รู้สึกผ่อนคลาย เมื่อคุณทานอาหารเหล่านี้ก็จะไปช่วยเพิ่มฮอร์โมนและทำให้อารมณ์ของคุณดีขึ้น แต่ความรู้สึกนี้จะเกิดขึ้นเพียงช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น หลังจากนั้นระดับของฮอร์โมนนี้จะลดลง แล้วคุณจะรู้สึกว่าคุณต้องการทานของหวานอีกเรื่อยๆ
น้ำหนักขึ้น
เมื่อร่างกายขาดฮอร์โมนโดปามีนซึ่งเป็น สารแห่งความสุข จึงส่งผลให้น้ำหนักเพิ่มขึ้น นอกจากความจริงที่ว่าคุณชอบทานของหวานและอาหารที่ไม่ดีต่อสุขภาพ สิ่งนี้เกิดขึ้นเป็นเพราะคุณกำลังทานอาหารเพื่อพยายามชดเชยฮอร์โมนนี้ด้วยการกิน ดังนั้นผลคือจะทำให้คุณทานอาหารมากขึ้นเรื่อยๆ จนอ้วนขึ้นนั่นเอง
เจ็บเต้านม
เกิดจากการขาดฮอร์โมนอื่นๆ ที่มีอิทธิพลต่ออารมณ์และยังส่งผลต่อสุขภาพของเราอีกด้วย เมื่อผู้หญิงมีระดับฮอร์โมนเอสโตรเจนต่ำลงจะส่งผลให้เกิดอาการเจ็บหน้าอก ซึ่งมันสามารถเกิดขึ้นได้ในช่วงเวลาที่มีประจำเดือน
อาการปวดหัว
อาจเกิดขึ้นได้จากการขาดฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน อาการปวดนี้ส่งผลให้เกิดอาการปวดไมเกรน ซึ่งฮอร์โมนนี้มีความสำคัญมากๆในระหว่างตั้งครรภ์ ดังนั้นเมื่อฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนต่ำในหญิงตั้งครรภ์อาจส่งผลกับคุณแม่ได้
นอนไม่หลับ
อาการนอนไม่หลับเป็นหนึ่งในสัญญาณของร่างกายว่าสารเซโรโทนินอยู่ระดับต่ำ ซึ่งสารชนิดนี้มีหน้าที่ควบคุมการนอนหลับ เมื่อสารเซโรโทนินลดลงจึงส่งผลให้เรามีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ เกิดความเครียด ซึมเศร้า
ที่มา : brightside