คัดลอก URL แล้ว
โรคใหลตาย เกิดจากอะไร และวิธีช่วยชีวิตเบื้องต้น เมื่อพบผู้อยู่ในภาวะใหลตาย

โรคใหลตาย เกิดจากอะไร และวิธีช่วยชีวิตเบื้องต้น เมื่อพบผู้อยู่ในภาวะใหลตาย

โรคใหลตาย หรือ ภาวะ บรูกาดาซินโดรมนั้น (Brugada Syndrome) เป็นโรคที่พบว่ามีสถิติผู้เสียชีวิตในไทยมากอยู่ที่ราวๆใน 1 แสนคน มีผู้ป่วยที่เสียชีวิตด้วยโรคนี้ 40คน และนอกจากนั้นแล้ว ผู้ที่มีภาวะเข้าข่ายเป็นโรคนี้มักไม่พบอาการผิดปกติใดๆมาก่อน ทำให้อัตราการเสียชีวิตค่อนข้างสูง นั่นเพราะไม่สามารถรู้ได้ล่วงหน้าและรักษาได้ทันการณ์ นอกจากนั้นแล้วในปัจจุบัน ก็ยังพบมากในกลุ่มผู้ชายอีกด้วย

โรคใหลตาย มีสาเหตุที่สำคัญคือ ภาวะร่างกายขาดแร่ธาตุโพแทสเซียม ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดไปหล่อเลี้ยง ส่งผลให้หัวใจเต้นแรงขึ้นและเสียชีวิตในที่สุด

ปัจจัยต่อมาคือการขาดสารอาหารที่เป็นวิตามินบี 1 อย่างรุนแรงเฉียบพลัน ทำให้คนที่แข็งแรงอยู่ดีๆ รู้สึกอ่อนเพลียและอยากนอน เมื่อหลับแล้วก็หัวใจวายตายเกือบจะทันที โดยโรคนี้สัมพันธ์ใกล้ชิดกับภาวะทุพโภชนาการ และสุขนิสัยการกินที่ผิด หรือ การบริโภคอาหารที่มีสารพิษวันละเล็กน้อย จนเกิดการสะสมและเป็นพิษต่อกล้ามเนื้อหัวใจ

กลไกการเกิดภาวะโรคใหลตาย คือ โดยปกติแล้วการเต้นของหัวใจคนเรานั้นเกิดขึ้นจากไฟฟ้า ซึ่งไฟฟ้าเกิดจากเกลือแร่ที่วิ่งเข้าออกระหว่างเซลล์ตลอดเวลา โดยเกลือแร่ที่ทำให้เกิดไฟฟ้ามีหลายชนิด เช่น โซเดียม โพแทสเซียม แคลเซียม ซึ่งต้องวิ่งเข้าออกบริเวณที่เปรียบเสมือนประตู แต่ในคนที่เกิดภาวะใหลตายนั้นพบว่าประตูที่ทำให้โซเดียมเข้าออกเซลล์นั้นมีน้อยกว่าคนปกติ เป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นแต่กำเนิด และเป็นสาเหตุในระดับเซลล์ คนกลุ่มนี้ต้องระมัดระวังเป็นพิเศษเกี่ยวกับอาหารการกิน เพื่อลดความเสี่ยงของการเกิดโรคใหลตาย

การเกิดภาวะใหลตาย เกี่ยวข้องกับ การเต้นของหัวใจ

ที่เราพบในคนไข้ใหลตายนั้น เกิดจากหัวใจห้องล่าง ซึ่งปกติเป็นปั๊มหลักคอยบีบเลือดไปเลี้ยงร่างกาย เมื่อประตูหัวใจห้องล่างเกิดไฟฟ้าลัดวงจรทำให้มีการเต้นไม่สม่ำเสมอของหัวใจห้องล่าง เกิดไฟฟ้ามากระตุ้นให้เป็นจุดเล็กๆ และแทนที่หัวใจห้องล่างจะบีบตัวโครมๆ เพื่อเอาเลือดไปเลี้ยงร่างกาย ก็บีบตัวไม่ได้และสั่นระริกๆ ทำให้เลือดไปเลี้ยงร่างกายและสมองไม่เพียงพอ

เมื่อเกิดภาวะเลือดไปเลี้ยงสมองและร่างกายไม่เพียงพอ ภายใน 30 วินาทีจะเป็นลมหมดสติ 4 นาทีต่อมา ถ้าอาการยังไม่ดีขึ้นสมองจะตาย และภายใน 6-7 นาที ถ้ายังไม่หายก็จะเสียชีวิตในที่สุด

อาการที่แสดงว่ากำลังอยู่ในภาวะเลือดและออกซิเจน ไปเลี้ยงร่างกายและสมอง ไม่เพียงพอ

–การเกร็งของแขนและขา หายใจเสียงดังจากการมีเสมหะในหลอดลม บางรายปัสสาวะและอุจจาระราด เพราะสูญเสียการควบคุมของระบบประสาทโดยอัตโนมัติ
–ใบหน้าและริมฝีปากเขียวคล้ำ จากนั้นจะเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หากไม่ได้รับการกู้ชีพที่มีประสิทธิภาพ หรือไม่มีการใช้ไฟฟ้ากระตุ้นหัวใจให้กลับมาทำงานเป็นปกติ

การปฐมพยาบาลผู้ป่วย ที่อยู่ในภาวะ ใหลตาย


1 จับผู้ป่วยนอนราบ ระหว่างรอรถพยาบาลหรือรอคนมาช่วยให้ประเมินผู้ป่วย

2 หากพบว่าไม่หายใจหรือชีพจรที่คอไม่เต้น ให้กดหน้าอกยุบลงราว 1.5 นิ้ว แล้วปล่อยให้คลายตัวเป็นชุด ในความถี่ราว 100 ครั้งต่อนาทีโดยไม่หยุดจนกว่าจะถึงมือแพทย์หรือจนกว่าผู้ป่วยจะรู้ตัว

3 ไม่ควรงัดปากผู้ป่วยด้วยของแข็ง เพราะอาจเป็นอันตราย และให้ระลึกเสมอว่าคนที่เป็นโรคใหลตายอาจจะมีโรคอื่นของสมอง เช่น ลมชัก โรคหัวใจ ที่อาจเป็นเหตุให้หมดสติได้เช่นกัน

นอกจากนั้นยังมีคำแนะนำทางการแพทย์ ว่าโรคใหลตาย หรือ ภาวะโรค SIOS สามารถพบได้บ่อยในกลุ่มเด็กเล็กอีกด้วย

โรค SIDS (Sudden Infant Death Syndrome) หรือโรคใหลตาย ยังนับเป็นภาวะที่ทารกในช่วงอายุ 1 ปีแรกเสียชีวิตขณะนอนหลับ เกิดขึ้นได้แม้ในทารกที่มีสุขภาพแข็งแรงดี พบบ่อยที่อายุ 2-4 เดือน ซึ่งสาเหตุของภาวะนี้เกี่ยวข้องกับสิ่งที่มากีดขวางการหายใจของทารกขณะนอนหลับ เช่น การจัดท่าให้ทารกนอนคว่ำ หรือนอนตะแคง การที่มีผ้าห่มหรือวัตถุนิ่มๆปิดหน้าทารกขณะนอนหลับ การถูกผู้ใหญ่นอนทับ เป็นต้น เนื่องจากทารกยังไม่สามารถเคลื่อนไหวศีรษะได้ดี ปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงของภาวะนี้ คือ ทารกเกิดก่อนกำหนด ควันบุหรี่ และอุณหภูมิห้องนอนที่ร้อน

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุของการเกิดโรค SIDS อย่างแน่ชัด การป้องกันโรคจึงเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด โดยมีแนวทางการป้องกันดังต่อไปนี้ คือ ควรจัดท่าให้ทารกนอนหงายเท่านั้น แยกที่นอนทารกออกจากที่นอนของพ่อแม่ ไม่นำตุ๊กตาหรือของเล่นวางไว้บนที่นอนของทารก ที่นอนไม่ควรอ่อนนิ่มจนเกินไป ควรใช้ที่นอนบางแต่แข็งพอสมควร และเลือกใช้เตียงสำหรับเด็กที่ได้มาตรฐาน ใช้หมอนบางใบเล็ก ใส่ชุดนอนให้อบอุ่นพอประมาณ ที่สำคัญอย่าจัดให้เด็กนอนใกล้สิ่งของซึ่งอาจพลิกคว่ำทับเด็กได้ นอกจากนี้อุณหภูมิห้องนอนของทารกไม่ควรอุ่นหรือเย็นเกินไป ที่เหมาะสมสำหรับทารกคือ 25-26 องศาเซลเซียส รวมทั้ง การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรค SIDS

อ้างอิงข้อมูลจาก


เนื้อหาที่เกี่ยวข้อง